KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I How to สู้โกง ฉบับคาซัคสถาน

คาซัคสถานยึดทรัพย์คนทุจริตได้ถึงหลักหมื่นล้าน !!

เมื่อปีที่ผ่านมา คาซัคสถาน ประเทศขนาดใหญ่บนเอเชียกลางที่มีประชากรประมาณ 19 ล้านคน ได้ประกาศนโยบายต่อสู้กับปัญหาคอร์รัปชันครั้งใหญ่ จากคำสั่งของประธานาธิบดี Kassym-Jomart Tokayev ซึ่งมีผลตั้งแต่ปี 2565-2569 โดยมีความตั้งใจที่จะพัฒนาวิธีการรับมือกับการคอร์รัปชันใหม่ ๆ และทำให้การทุจริตในองค์กรภาครัฐและภาคประชาสังคมหายไป

ปัจจุบันแผนดังกล่าวได้เริ่มขึ้นแล้ว โดย Olzhas Bektenov ประธานหน่วยงานต่อต้านทุจริตคาซัคสถานได้เล่าถึงกระบวนการที่ปฏิบัติตามคำสั่งการปฏิรูปของประธานาธิบดีตั้งแต่ปี 2565 ให้กับสำนักข่าว Tengrinews ฟัง ตัวอย่างเช่น การดำเนินการยึดทรัพย์คดีทุจริตเพื่อนำมาจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือด้านโครงสร้างทางการศึกษา ซึ่งเชื่อว่าสิ่งนี้จะทำให้ประชาชนเห็นว่าการต่อสู้กับปัญหาคอร์รัปชันจะสร้างประโยชน์ให้พวกเขาอย่างไร นอกจากนี้คาซัคสถานยังมีการแก้ปัญหาคอร์รัปชันในกระบวนการยุติธรรมที่หลายปีที่ผ่านมามีการทุจริตจำนวนมาก เพราะถ้าดูจากสถิติตั้งแต่ปี 2558 มีผู้พิพากษาถึง 21 คนถูกดำเนินคดี แต่ถึงอย่างนั้นก็พบว่า ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาแนวโน้มการคอร์รัปชันในกระบวนการยุติธรรมก็เริ่มลดลง

ในแง่ของกฎหมายคาซัคสถานได้ปรับปรุงให้กฎหมายมีความยุติธรรมมากขึ้น โดยการเพิ่มข้อกฎหมายเกี่ยวกับการร่ำรวยผิดปกติของข้าราชการ และคาซัคสถานยังได้เข้าร่วมกับ Group of States against Corruption (GRECO) กลุ่มความร่วมมือของประเทศในยุโรปในการต่อต้านการทุจริต ซึ่งปัจจุบันมีทั้งหมด 50 ประเทศ โดยการเข้าร่วมครั้งนี้ทำให้คาซัคสถานได้รับการตรวจสอบและคำแนะนำจากการ GRECO เพื่อลดปัญหาการทุจริตในประเทศได้ดียิ่งขึ้น

ความพยายามไม่กี่ปีที่ผ่านมาของคาซัคสถานดูเหมือนจะเป็นการเริ่มต้นที่ดี ถ้าดูจากคะแนน World Governance Indicator (WGI) ที่จัดทำขึ้นโดย World Bank เพื่อวัดธรรมาภิบาลของ 214 ประเทศ พบว่าคาซัคสถานมีคะแนนอยู่ในระดับกลาง แต่มีแนวโน้มที่ดีขึ้นตลอดในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังพบว่าไม่กี่ปีที่ผ่านมา หน่วยงานของคาซัคสถานยังสามารถยึดทรัพย์สินที่ได้มาอย่างผิดกฎหมายเป็นเงินประมาณ 1 พันดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 3 หมื่นล้านบาท รวมถึงทรัพย์สินในต่างประเทศอีก 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 6 หมื่นล้านบาท

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2566
ผู้แต่ง
  • ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค
หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
โลโก้คณะเศรษฐศาสตร์ (ภาษาไทย)

หัวข้อ
Related Content

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย I ในสังคมที่มีความร่วมมือหรือความไว้เนื้อเชื่อใจกันสูง รัฐจะสร้างประโยชน์จากข้อค้นพบนี้อย่างไร ?

มุมมองของประชาชนต่อหน่วยงานรัฐ หนึ่งกลุ่มจ่ายภาษี อีกกลุ่มเข้ามาทำหน้าที่พัฒนาบริการสาธารณะให้เกิดประโยชน์ แต่มีหลายครั้งที่โครงการไม่ตอบสนองความต้องการของประชาชน เช่น ศาลาสร้างทิ้งไว้ไม่มีคนใช้ จนบางครั้งประชาชนต้องลงแรงทำกันเอง

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | เปลี่ยนนโยบายคลัง ป้องกันคอร์รัปชันด้วยแนวทางเพิ่มความโปร่งใส

KRAC คัดสรรชวนทุกคนมาร่วมศึกษาความโปร่งใสของงบประมาณการคลังของไทย พร้อม 5 แนวทางเพิ่มความโปร่งใสจากงานวิจัย

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | เบื้องหลังการทุจริตภาษีศุลกากร: เมื่อบริษัทปลอมกลายเป็นเครื่องมือเลี่ยงภาษี

บริษัทปลอม vs ศุลกากร : หนีภาษีเขาทำกันอย่างไร ? วิธีป้องกันบริษัทปลอม แหล่งหนีภาษาศุลกากรหลักหมื่นล้าน !! กระบวนการเหล่านี้จะเป็นอย่างไร ? แต่ละตัวละครทำหน้าที่อะไร สรุปมาให้เเล้วจากงานวิจัยเรื่อง “การศึกษากลุ่มอิทธิพลซึ่งนำไปสู่การทุจริตคอร์รัปชันอย่างเป็นระบบ: กรณีศึกษาการทุจริตภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีศุลกากรในประเทศไทย” (2561)

You might also like...

ยุุทธศาสตร์การป้องกันและปราบปรามการทุจริตในโครงการพัฒนาของรัฐระดับชุมชน

จากการวิเคราะห์ TOWS Matrix 4 ของโครงการต่าง ๆ ของรัฐ สามารถพัฒนาเป็นโมเดลยุทธศาสตร์ เพื่อช่วยลดปัญหาคอร์รัปชันในโครงการพัฒนาของรัฐระดับชุมชนได้

แนวหน้าต่อต้านคอร์รัปชัน : เมื่อ ‘งบก่อสร้าง’ ไม่ได้สร้างแค่ถนน แต่สร้างรายได้พิเศษให้บางคนด้วย

จากที่ผมได้รับเกียรติให้เข้าร่วมเป็นกรรมาธิการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 ในนามนักวิชาการอิสระที่ไม่สังกัดพรรคการเมืองใด ผมถือว่าหน้าที่นี้คือโอกาสสำคัญที่จะได้ตรวจสอบการใช้งบประมาณแผ่นดินให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ และทรัพยากรของประเทศมีอยู่อย่างจำกัด

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | การต่อต้านการทุจริต อาจต้องเริ่มที่ความเข้าใจของประชาชน

ผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสิทธิการรับรู้ข่าวสารของสำนักงาน ป.ป.ช. จำนวน 1,041 คน ในปี 2562 ชี้คนไทยครึ่งประเทศไม่รู้ว่า ตัวเองมีสิทธิเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของสำนักงาน ป.ป.ช.