I Paid a Bribe (IPAB) แพลตฟอร์มให้ประชาชนรายงานเรื่องสินบนโดยไม่ต้องระบุตัวตน

ถ้าทุกขั้นตอนในชีวิตประจำวัน จะต้องแลกมาด้วยการจ่ายสินบน ไหวเหรอ ???

เมื่อประชาชนชาวอินเดียโดนเรียกจ่ายสินบนทุกอย่างจนทนไม่ไหว ลุกขึ้นมารวมตัวกันแฉราคาของคอร์รัปชัน จนกลายเป็นเครื่องมือต่อต้านคอร์รัปชันภาคประชาชนต้นแบบ

I Paid a Bribe (IPAB) เป็นแพลตฟอร์มให้ประชาชนรายงานเรื่องสินบนโดยไม่ต้องระบุตัวตน เกี่ยวกับรูปแบบ สิ่งของและจำนวนเงินที่ถูกเรียกรับ พร้อมระบุสถานที่เกิดเหตุเพื่อนำมาแสดงปริมาณ ความถี่ และรูปแบบของสินบนที่เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่ โดยมุ่งหวังว่าเมื่อประชาชนหรือเจ้าหน้าที่รับทราบว่ามีหน่วยงานใดบ้างที่มีการคอร์รัปชันจะสามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อลดจำนวนการคอร์รัปชันในการให้บริการสาธารณะและเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ รวมถึงมีการให้ความรู้กับประชาชนเกี่ยวกับการคอร์รัปชัน

I Paid a Bribe จึงเป็นพื้นที่ออนไลน์ที่สมบูรณ์แบบในการแก้ปัญหาคอร์รัปชันสำหรับประชาชน ทั้งการเป็นเครื่องมือสร้างการมีส่วนร่วมในการปฏิเสธการคอร์รัปชัน นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับสินบนที่เกิดขึ้นในหน่วยงานรัฐและเอกชน ให้ความรู้เกี่ยวกับแนวทางในการต่อต้านการคอร์รัปชัน และสร้างพื้นที่แบ่งปันประสบการณ์ที่เกิดขึ้นให้ผู้ใช้งานได้รับทราบ จนเกิดเป็นชุมชนออนไลน์ที่มีเครือข่ายครอบคลุมทั่วประเทศ

โดยปัจจุบันมีรายงานเข้ามาในเว็บไซต์มากกว่า 198,072 รายงาน และมีผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวน 15,443,366 ครั้ง อย่างไรก็ดี ความท้าทายของ I Paid a Bribe อยู่ที่การนำรายงานไปใช้ตรวจสอบหรือดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่เพราะยังไม่มีข้อบังคับให้หน่วยงานต้องแก้ไข ทำให้ประชาชนไม่มีแรงกระตุ้นให้เข้ามารายงาน ยกเว้นบางเมืองที่มีการติดตามผลและมีมาตรการแก้ไขอย่างชัดเจน เช่น รัฐ Karnataka เมือง Bangalore

I PAID A BRIBE ใช้วิธีการที่หลากหลายในการรับเรื่องรายงานและนำเสนอผลสู่สาธารณะ โดยผู้ใช้งานสามารถร้องเรียนผ่านทาง Website, App, SMS ด้วยจขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้ 

  1. ขั้นตอนแรก คือ การระบุสถานะของผู้รายงานโดยแบ่งเป็น 4 หมวดคือ (1) I Paid a Bribe สำหรับเล่าว่าโดนเรียกสินบนเรื่องอะไร ที่หน่วยงานไหน และเป็นจำนวนเท่าไร
    (2) I Am a Bribe Fighter สำหรับคนที่โดนเรียกแต่ไม่ยอมจ่าย (3) I Met an Honest Officer สำหรับคนที่เจอข้าราชการที่ไม่โกง และ (4)I Don’t Want to Pay a Bribe สำหรับแลกเปลี่ยนเทคนิคหลีกเลี่ยงการจ่ายสินบนต่าง ๆ
  2. หลังจากนั้น ตอบคำถามสั้น ๆ 3 ข้อ ได้แก่ หน่วยงานใดเรียกรับ จ่ายไปเท่าไร เกิดขึ้นในพื้นที่ไหน

โดยผู้ใช้งานสามารถเลือกได้ว่าจะแชร์เรื่องไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือไม่หรือแค่รายงานบนเว็บไซต์แบบไม่เปิดเผยตัวตน หลังจากที่ได้ข้อมูลจากผู้ใช้งานแล้ว ระบบจะส่งรายงานไปยังเว็บไซต์ Ipaidabribe.com เพื่อแสดงผลเปรียบเทียบสถิติการรายงานเรื่องสินบนรายวันจากเมืองต่าง ๆ แบบ Visualization


🚩 I Paid a Bribe (IPAB)
🇮🇳 India
ประเภทเครื่องมือ : Report corruption
ผู้จัดทำเครื่องมือ : Janaagraha Centre
ระดับการมีส่วนร่วม : ระดับประเทศ

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2564
ผู้แต่ง
  • HAND SOCIAL ENTERPRISE
หน่วยงาน

หัวข้อ
Related Content

ปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้าน ลดปัญหาการทุจริตจากภาครัฐ ด้วยการเฝ้าระวังจากประชาชนผ่านทางออนไลน์

เห็นเจ้าหน้าที่รัฐแอบคอร์รัปชัน ทำไงดี!!! เมื่อการแก้ปัญหาคอร์รัปชัน อาจจะไม่ใช่แค่การไปจับคนโกงเท่านั้น แค่เราช่วยจับตาดู รู้เบาะแส แล้วก็บอกข้อมูลแค่นี้ ก็อาจจะช่วยแก้ปัญหาการคอร์รัปชันได้

VEZA จับตาการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ตรวจสอบร้องเรียนได้อย่างปลอดภัย

ถ้าตำรวจเรียกรับสินบน คนธรรมดาที่ไหนจะกล้าร้องเรียน เมื่อผู้รักษากฎหมาย (บางคน) ใช้อำนาจในทางที่ผิด เรียกรับผลประโยชน์เข้าตนเอง ประชาชนก็ต้องร้องเรียนได้อย่างปลอดภัย

You might also like...

KRAC The Experience | EP 4 “Tales of Transparency : Lesson learns from Georgia”

เปิดเผยข้อมูลแบบโปร่งใสอย่างสุดโต่ง คืออะไร ? วันนี้เรามีเรื่องน่าสนใจเกี่ยวกับข้อมูลเปิด (Open Data) มาเล่าให้คุณฟังกับ KRAC The Experience ตอน “Tales of Transparency : Lesson learns from Georgia”

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : ‘อาหรับสปริง’ จุดเริ่มต้นจาก 1 ประชาชน สู่การปฏิวัติกว่า 15 ประเทศ

ไม่ว่าใครก็อยากเห็นประเทศของตัวเองดีขึ้น… ไม่ว่าใครก็อยากเห็นประเทศตัวเองมีความยุติธรรม… ไม่ว่าใครก็อยากเห็นประเทศตัวเองไม่มีการคอร์รัปชัน… แต่หลายคนมองว่าเราเป็นเพียงประชาชนตัวเล็กๆ คนหนึ่งไม่สามารถเปลี่ยนอะไรได้ การเปลี่ยนแปลงสังคมเป็นเรื่องไกลตัวที่ไม่มีทางที่คนหนึ่งคนจะทำได้จริง แต่เชื่อหรือไม่ว่าในประเทศตูนิเซียมีชายขายผักที่ออกมาเรียกร้องความยุติธรรมจนกลายเป็นจุดเริ่มต้นของเหตุการณ์การลุกฮือปฏิวัติในประเทศอาหรับมากกว่า 15 ประเทศ

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : หมูเด้งดัง แต่ตังค์อาจไปเข้าหมูไหน?

ปฏิเสธไม่ได้กับความดังระดับซูเปอร์สตาร์ระดับโลกของลูกฮิปโปแคระ “หมูเด้ง” แห่งสวนสัตว์เขาเขียว ที่เรียกได้ว่าเกิดมาเพื่อเป็นดาวก็ไม่ผิดด้วยอายุเพียง 3 เดือนกับปรากฏการณ์ “หมูเด้งฟีเวอร์” ด้วยรูปร่างหน้าตาน่ารัก ขัดกับนิสัยที่ดูเกรี้ยวกราดโดยภาพที่ปรากฏออกมาในการไล่งับขาของผู้ดูแลทั้งที่ฟันก็ยังไม่ขึ้นนั้นได้กลายเป็นกระแสไปทั่วโลกออนไลน์ โดยความดังนั้นไม่ได้หยุดเพียงแค่ในประเทศไทยแต่ดังไปไกลถึงระดับโลก การันตีด้วยการขึ้นเป็นพาดหัวข่าวในสื่อชื่อดังอย่าง Time Magazine และ The New York Times