KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | รู้จัก 3 แนวทาง Support ผู้แจ้งเบาะแสทุจริต

แจ้งเบาะแสทุจริต ได้เปิดโปงคนผิดแล้วได้อะไรอีกบ้าง ?

 

“การแจ้งเบาะแส” มีความสำคัญอย่างมากในการต่อต้านคอร์รัปชัน เพราะยิ่งมีคนแจ้งเบาะแสมากเท่าไร ก็จะยิ่งมีการตรวจสอบและช่วยนำคนผิดมาลงโทษมากเท่านั้น แต่อุปสรรคสำคัญที่ทำให้หลายคนที่มีข้อมูลไม่อยากแจ้งเบาะแส เพราะกลัวว่า ถ้าแจ้งไปแล้วก็อาจจะโดนกลั่นแกล้ง หรือโดนคนที่มีตำแหน่งใช้อำนาจคุกคามทั้งกับตัวเองและครอบครัวได้ 

แต่เรื่องที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้คือ ทั้งประเทศไทยและในระดับสากลมีการสนับสนุน “ผู้แจ้งเบาะแส (Whistle Blower)” ซึ่งในงานวิจัย เรื่อง “มาตรการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสคอร์รัปชัน” โดย พิศอําไพ สมความคิด และรัชนี แมนเมธี (2557) ได้ทำการศึกษาเอาไว้ โดย KRAC Corruption ได้ทำการสรุปข้อมูลออกมาเป็น 3 Support ที่จะช่วยสนับสนุนผู้แจ้งเบาะแสดังนี้

Support สิทธิ :

เมื่อการแจ้งเบาะแสเป็นกลไกสำคัญในการลดปัญหาคอร์รัปชัน ผู้แจ้งเบาะแสจึงสมควรที่จะได้รับ “สิทธิในการถูกคุ้มครอง” และไม่ใช่แค่เพียงจากคำพูด แต่เป็นสิทธิที่ถูกบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์ ซึ่งปัจจุบันมีกฎหมายและอนุสัญญาระหว่างประเทศมากมายที่ให้ความสนับสนุน เช่น “อนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติที่จัดตั้งในลักษณะองค์กร” ค.ศ. 2000 (United Nation Convention Against Transnational Organize Crime 2000) อนุสัญญานี้จัดตั้งโดยความร่วมมือจาก 140 ประเทศ (รวมประเทศไทย) เพื่อสร้างข้อตกลงร่วมกันในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ 

อนุสัญญาจะมีทั้งหมด 3 ฉบับ และได้กำหนดเรื่องการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสไว้ในข้อที่ 24 ที่กำหนดให้ประเทศที่เข้าร่วมต้องมีกฎหมายเพื่อปกป้องผู้ที่เป็นผู้แจ้งเบาะแสและครอบครัว ทำการปกปิดตัวตน รวมถึงการย้ายที่อยู่ของผู้แจ้งเบาะเพื่อความปลอดภัย นอกจากนี้ ยังมีองค์กรระดับสากลอื่น ๆ ที่ช่วยสนับสนุนสิทธิของผู้แจ้งเบาะแส เช่น อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านทุจริต” (Un Convention Against Corruption : UNCAC) กระบวนการพิเศษ ที่สนับสนุนการพัฒนากระบวนการด้านสิทธิมนุษยชน เช่น กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR)

Support การคุ้มครองครอบครัว :

แน่นอนว่าครอบครัวหรือคนใกล้ตัวผู้แจ้งเบาะแสเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญ ที่จะทำให้ผู้แจ้งเบาะแสตัดสินใจแจ้งเบาะแสหรือไม่ จึงต้องมีกฎหมายที่คุ้มครองอย่างครอบคลุม โดยพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญาตามรัฐธรรมนูญไทยได้กำหนดให้มีการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแส บุพการี สามีหรือภรรยา ผู้สืบสันดาน หรือคนที่สัมพันธ์ใกล้ชิด ให้ปลอดภัยทั้งร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง และทรัพย์สิน โดยการช่วยเหลืออาจมีตั้งแต่ การปกปิดชื่อและภาพ ช่วยเปลี่ยนชื่อและนามสกุล ไปจนถึงการหาที่อยู่ชั่วคราวที่ปลอดภัยให้ นอกจากนี้ผู้แจ้งเบาะแสยังมีโอกาสได้รับค่าตอบแทน ค่าใช้จ่าย เช่น ค่าที่พัก ค่าอาหารค่าน้ำที่ใช้ในชีวิตประจำวันตามความเหมาะสม โดยหน่วยงายที่รับผิดชอบทั้งการรับเรื่องร้องเรียนและประสานงาน คือ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)

Support รางวัล :

คนทำดีควรมีรางวัล ผู้แจ้งเบาะแสจึงสมควรได้รับการสนับสนุนจากรัฐมากกว่าแค่คุ้มครอง โดยประเทศไทยได้ระบุเรื่องของการจ่ายเงินรางวัลไว้ในแผนปฏิบัติการด้านการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566 – 2570) ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ในกลยุทธ์สร้างจุดแข็งข้อที่ 8 ที่พูดถึงการให้รางวัลตอบแทน นอกจากนี้ยังมีระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ก็ได้มีการระบุการให้รางวัลผู้แจ้งเบาะแสทุจริตไว้อย่างชัดเจน ในระดับสากล “อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริตปี 2003 (Un Convention Against Corruption : UNCAC)” ซึ่งไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้ร่วมลงนาม ได้มีการระบุให้การให้รางวัลผู้แจ้งเบาะแสเป็นเรื่องสำคัญมากที่สุดมาตราหนึ่ง ในข้อ 33, ข้อ 8 (4) และข้อ 13 (2) 

เชื่อว่าทั้ง 3 Support ที่เล่าไปหลายคนอาจยังไม่รู้ ทำให้ไม่กล้าที่จะแจ้งเบาะแสเมื่อเจอคนผิด อย่างไรก็ตามหลังจากนี้หากเจอการทุจริตอยากให้ทุกคนได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการแจ้งเบาะแส เพราะหากเราสามารถนำตัวคนผิดมาลงโทษได้ จะถือเป็นตัวอย่างให้กับคนที่กำลังกระทำผิดอยู่ และทำให้คนที่ทุจริตไม่กล้าที่จะโกงอีก ซึ่งอาจทำให้คอร์รัปชันในสังคมไทยลดลงได้

งานวิจัยเรื่องนี้ ยังมีเนื้อหาที่ให้ความรู้เรื่องมาตรการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสอีกมากมาย เช่น การคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสในสหรัฐฯ หรือในเกาหลีใต้ หากสนใจสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่งานวิจัย “มาตรการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสคอร์รัปชัน”  โดย พิศอําไพ สมความคิด และรัชนี แมนเมธี (2557)

#กฎหมาย #Whistleblower #Whistleblowing #แจ้งเบาะแส #ตำรวจ #ทุจริต #โกง #KRAC #KRACCorruption

——————

คอลัมน์ “KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย” เป็นบทความเล่างานวิจัยไทยด้านการต่อต้านคอร์รัปชัน ที่หยิบยกหนึ่งในประเด็นของงานวิจัยในมุมมองของผู้ปฏิบัติการ เพื่อปูพื้นฐานความรู้และความเข้าใจเรื่องการคอร์รัปชัน และการต่อต้านคอร์รัปชันในมิติต่าง ๆ ภายใต้บริบทของประเทศไทย

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2567
ผู้แต่ง
  • ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค
หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
โลโก้คณะเศรษฐศาสตร์ (ภาษาไทย)

หัวข้อ
Related Content

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย I มันจบแล้วครับ…(ถ้า) นาย (โกง) : รู้จักกฎหมายคุ้มครองผู้แจ้งเบาะทุจริต

การแจ้งเบาะแส เป็นหนึ่งในกลไกสำคัญที่สามารถลดการคอร์รัปชันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะคงไม่มีใครให้มีข้อมูลเชิงลึกได้เท่า “คนใน” องค์กรเอง แต่อุปสรรคสำคัญที่ทำให้คนในองค์กรไม่กล้าให้แจ้งเบาะแสทุจริต คือ “ความกลัว”

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | รู้จัก 3 แนวทาง Support ผู้แจ้งเบาะแสทุจริต

ยิ่งมีคนแจ้งเบาะแสมากเท่าไร ก็จะยิ่งมีการตรวจสอบและช่วยนำคนผิดมาลงโทษมากเท่านั้น แต่อุปสรรคสำคัญที่ทำให้หลายคนที่มีข้อมูลไม่อยากแจ้งเบาะแส เพราะกลัวว่าถ้าแจ้งไปแล้วก็อาจจะโดนกลั่นแกล้ง

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | รางวัลแด่คนช่าง “แจ้ง”

กุญแจสำคัญที่จะช่วยจัดการคอร์รัปชันได้ คือ “การมีส่วนร่วมในการแจ้งเบาะแส” เพราะถ้าทั้งเจ้าหน้าที่รัฐและประชาชนมีส่วนร่วมในการช่วยตรวจสอบคอร์รัปชันภายในหน่วยงานรัฐ ช่วยกันแจ้งเบาะแส จะทำให้เจ้าหน้าที่รัฐรู้สึกกดดัน กลัวจะถูกจับได้และไม่กล้าคอร์รัปชัน ภาครัฐจึงมีความพยายามอย่างมากให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมกับการแก้ปัญหาคอร์รัปชัน

You might also like...

บทความวิจัย : ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสริมสร้างความร่วมมือและการควบคุมคอร์รัปชันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี

เมื่อการกระจายอำนาจกลับกลายเป็นการกระจายการทุจริตสู่ท้องถิ่น เพื่อยับยั้งปัญหาคอร์รัปชันในท้องถิ่น จึงต้องส่งเสริมการปกครองตามหลักธรรมาภิบาล (กรณีศึกษา จังหวัดเพชรบุรี)

KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I UNODC จับมือไนจีเรียจัดทำรายงานการทุจริตในไนจีเรีย ชี้ “การติดสินบนได้รับการยอมรับน้อยลง”

รายงานฉบับนี้มีชื่อว่า “การทุจริตในไนจีเรีย: รูปแบบและทิศทาง (Corruption in Nigeria: Patterns and Trends)” เป็นการสำรวจเกี่ยวกับการรับรู้การทุจริตของประชาชนในประเทศไนจีเรียจากประสบการณ์ของประชาชน นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์แนวโน้มการทุจริต ประสิทธิภาพของกลยุทธ์ และแนวทางการต่อต้านการทุจริตอีกด้วย

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : โกง (เรื่อง) กิน ฉ่ำๆ หม่ำๆ แบดกาย แบดกายหม่ำๆ

เมื่อวันแม่ที่ผ่านมาหลายๆ ท่านคงพาคุณแม่ไปทานข้าว หรืออาจกลับบ้านไปทานข้าวกับคุณแม่และครอบครัว เพราะสำหรับคนไทยแล้ว “อาหารเป็นเรื่องสำคัญ” ดังนั้นในวันสำคัญการนัดรวมตัวกันกินข้าวจึงเป็นเรื่องจำเป็น