KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ลดการโกง ผ่านการสร้างวัฒนธรรมชุมชนที่ดี

ทำอย่างไรไม่ให้วัฒนธรรมชุมชนเอื้อทุจริต ?  

 

หากกล่าวถึง สาเหตุของคอร์รัปชัน สิ่งแรก ๆ ที่หลายคนนึกถึงอาจเป็น นักการเมืองที่จ้องจะโกงหรือตัวกฎหมายที่มีช่องว่างให้คนโกง แต่นั่นอาจเป็นเพียงภาพของโครงสร้างระดับบน แต่จริง ๆ แล้วเรื่องใกล้ตัวอย่าง วัฒนธรรมชุมชนก็เป็นหนึ่งในกลไกที่เอื้อให้เกิดการคอร์รัปชันได้เช่นกัน โดยงานวิจัยเรื่อง การเสริมสร้างธรรมาภิบาลบนฐานวัฒนธรรมชุมชน สู่สังคมปลอดคอร์รัปชัน อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน จัดทำโดยอรุณี เวียงแสง (2563) ได้ศึกษาประเด็นการคอร์รัปชันในมุมมองของคนในพื้นที่ชุมชนบ้านขุนยวม ชุมชนบ้านแม่กิ๊  และชุมชนบ้านหัวแม่สุริน จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งพบว่า ในมุมมองของคนในพื้นที่ วัฒนธรรมก็เป็นสาเหตุให้เกิดคอร์รัปชันได้เช่นกัน  

ชุมชนบ้านขุนยวม ชุมชนบ้านแม่กิ๊ และชุมชนบ้านหัวแม่สุริน

ชุมชนบ้านขุนยวม ชุมชนบ้านแม่กิ๊ ตั้งอยู่ในอำเภอขุนยวม และชุมชนบ้านหัวแม่สุริน ตั้งอยู่ในอำเภอแม่อูคอ เป็นชุมชนชาติพันธุ์ ที่มีวัฒนธรรมชุมชนที่โดดเด่นและมีความเข้มแข็ง เช่น กะเหรี่ยง ม้ง ไทยใหญ่ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร วิถีชีวิตของคนในพื้นที่จึงมีความผูกพันกับป่า มีความเชื่อและพิธีกรรมเฉพาะกลุ่มที่สืบทอดกันมา ทำให้วัฒนธรรมของชุมชนทั้ง 3 แห่งนี้ มีความคล้ายคลึงกัน ซึ่งจากการที่คณะผู้วิจัยลงไปศึกษาพื้นที่ชุมชนร่วมกับคนในพื้นที่ก็พบว่า วัฒนธรรมเหล่านั้นได้กลายเป็นช่องว่างที่ทำให้เกิดการคอร์รัปชันได้ โดยคนในพื้นที่ได้ร่วมกันสะท้อนประเด็น ดังนี้ 

การอยู่แบบฉันมิตรและเครือญาติ :

ทั้งสามชุมชนมีวัฒนธรรมพึ่งพาญาติพี่น้องคล้ายกัน ซึ่งการช่วยเหลือกัน ตอบแทนกันเป็นเรื่องที่ดี แต่อาจนำมาซึ่งการช่วยกันทุจริต ร่วมกันปกปิด หรือการซื้อสิทธิ์ขายเสียง บางครั้งเป็นเพราะความเกรงใจ เช่น ญาติหรือคนที่เคยมีบุญคุณเข้ามาพูดโน้มน้าวให้เลือกพรรคการเมือง โดยอาจมีค่าตอบแทนให้เป็นเงินหรือสิ่งของ  

ความเชื่อต่อผู้นำที่เปลี่ยนแปลงไป :

แต่เดิมคนในชุมชนมีวิถีชีวิตและความเชื่อตามผู้นำทางธรรมชาติหรือผู้นำทางจิตวิญญาณซึ่งเป็นที่ยึดเหนี่ยวให้คนในชุมชนยังนับถือคำสอนที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ แต่เมื่อว่าเวลาผ่านไปคนในชุมชนกลับเชื่อในสิ่งเหล่านี้น้อยลง หันไปสนใจเรื่องบริโภคนิยมและความสำคัญกับเงินมากกว่า คนส่วนใหญ่จึงอยากการส่งลูกหลานไปเป็นราชการโดยทำทุกวิถีทางทุจริตเช่น ยัดเงินใต้โต๊ะ หรือใช้ระบบเครือญาติให้การฝากลูกหลานเข้าเรียนหรือทำงาน  

ความรักสงบ :

งานวิจัยพบว่า คนในชุมชนมีทัศนคติและนิสัยที่ไม่ชอบปะทะกับใคร สันโดษ และมีความเกรงใจสูง โดยเฉพาะคนชาติพันธุ์ ปากาเก่อญอ (กะเหรี่ยง) และลักษณะนิสัยนี้ ทำให้คนไม่กล้าตรวจสอบหรือออกความเห็นเมื่อมีการทุจริต รวมทั้งไม่กล้าปฏิเสธเมื่อมีการซื้อสิทธิ์ขายเสียง เพราะกลัวอิทธิพลและอำนาจ หากไม่ทำตามจะทำให้เดือดร้อน  

หลังจากการทำงานร่วมกับคนในพื้นที่ ทีมวิจัยจึงได้เสนอแนวทางเพื่อสร้างวัฒนธรรมชุมชนที่ป้องกันการเกิดคอร์รัปชัน และส่งเสริมให้เกิดธรรมาภิบาลในชุมชน โดยแนะนำให้มีการปลูกฝังค่านิยมความดีให้กับคนในชุมชนตั้งแต่เยาวชน ไปจนถึงผู้นำการเปลี่ยนแปลง ผู้มีอำนาจในชุมชนต้องฟื้นฟูวัฒนธรรมอันดีงามของชุมชนให้กลับมา เช่น ความเชื่อเรื่องความซื่อสัตย์ ตามสุภาษิต คำพังเพย เพลงพื้นบ้าน

รวมถึงการสร้างความรับผิดชอบเพื่อที่จะนำไปสู่การต่อต้านคอร์รัปชัน ฟื้นฟูความเชื่อต่อผู้นำทางธรรมชาติเป็นเปรียบเสมือนผู้นำทางจิตวิญญาณ ที่ทำหน้าที่รักษาพิธีกรรมหรือวัฒนธรรมอันดีงามให้คงอยู่ กฎระเบียบของชุมชน สนับสนุนให้คนในชุมชนกล้าคิด กล้าทำ กล้าแย้ง และตัวชุมชนเองก็ต้องเปิดโอกาสให้ทุกคนได้มีส่วนร่วม เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมาภิบาลและการต่อต้านคอร์รัปชัน และต้องชี้แจงรายละเอียดเพื่อเพิ่มความโปร่งใส ลดความขัดแย้งในชุมชน   

อย่างไรก็ตาม เราไม่ได้กำลังกล่าวว่าวัฒนธรรม ความรักสงบ การเชื่อฟังผู้นำ หรือการอยู่แบบฉันมิตร เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดการทุจริต ชุมชนทั้ง 3 แห่ง ที่งานวิจัยศึกษา เป็นเพียงตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าวัฒนธรรมชุมชนเองก็มี “โอกาส เกิดช่องโหว่ให้เกิดการคอร์รัปชันได้เท่านั้น ซึ่งสิ่งนี้จะเป็นบทเรียนให้เห็นว่าในประเทศไทยยังมีบางชุมชน ที่ต้องประสบปัญหาที่คล้ายกัน ในอนาคตหากมีการสนับสนุนให้ชุมชนที่มีวัฒนธรรมที่เข้มแข็ง เข้ามามีส่วนร่วมแก้ปัญหาการคอร์รัปชันผ่านกลไกทางวัฒนธรรมที่สอดรับกับวิถีชีวิตและความเชื่อของชุมชนได้ ก็อาจเป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถป้องกันคอร์รัปชันในชุมชนได้อย่างยั่งยืน ซึ่งผู้อ่านสามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากงานวิจัย เรื่อง การเสริมสร้างธรรมาภิบาลบนฐานวัฒนธรรมชุมชน สู่สังคมปลอดคอร์รัปชัน อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน” โดย อรุณี เวียงแสง และคณะ (2563)

#ชุมชน #ชาติพันธุ์ #แม่ฮ่องสอน #คอร์รัปชัน #ทุจริต #โกง #KRAC #KRACCorruption 

——————

คอลัมน์ “KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย” เป็นบทความเล่างานวิจัยไทยด้านการต่อต้านคอร์รัปชัน ที่หยิบยกหนึ่งในประเด็นของงานวิจัยในมุมมองของผู้ปฏิบัติการ เพื่อปูพื้นฐานความรู้และความเข้าใจเรื่องการคอร์รัปชัน และการต่อต้านคอร์รัปชันในมิติต่าง ๆ ภายใต้บริบทของประเทศไทย

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2567
ผู้แต่ง
  • ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค
หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
โลโก้คณะเศรษฐศาสตร์ (ภาษาไทย)

หัวข้อ
Related Content

เปลี่ยน Trainees เป็น Rookies ตัวท็อปของวงการ : ชวนอ่าน Anti-Corruption 101 เพื่อปูพื้นฐานการต่อต้านคอร์รัปชัน

ชวนอ่าน Anti-Corruption 101 ที่จะช่วยปูพื้นฐานความรู้ในเรื่องการคอร์รัปชัน ผ่านแนวคิดทางวิชาการ และเรียนรู้แนวทางการต่อต้านคอร์รัปชันที่มีเนื้อหาเข้าใจง่ายสำหรับทุกคน

คัดสรรงานวิจัยไทยต่อต้านคอร์รัปชัน ที่คุณอาจไม่รู้ (จัก) มาก่อน : ชวนอ่านสรุปงานวิจัยไทย 24 ชิ้น เพื่อทำความเข้าใจการต่อต้านคอร์รัปชัน

ชวนอ่านสรุปงานวิจัยไทยที่ KRAC คัดสรรมาให้คุณ เพื่อจะทำให้คุณเข้าใจปัญหา และวิธีการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันภายใต้บริบทของประเทศไทย

You might also like...

KRAC Hot News I ไฟฟ้าไทยแพง เพราะภาคพลังงานยังโปร่งใสไม่พอ

เพราะไฟฟ้าได้กลายเป็นปัจจัยที่ 5 ไปแล้ว แต่ที่น่ากังวล คือไฟฟ้ายังคงเป็นปัจจัยเดียวที่ราคาไม่ได้เป็นไปตามกลไกตลาด ที่สำคัญยังเหมือนจะแพงขึ้นเรื่อย ๆ ด้วย…ทำไมค่าไฟฟ้าของไทยยังแพง และมีบทเรียนจากต่างประเทศอะไรบ้าง

บทความวิจัย : ปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติประจำจังหวัด ในการรวบรวมพยานหลักฐานในความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ในองค์การบริหารส่วนตำบล

ความล่าช้าในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด มีปัญหาหลักมาจากการขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย และการดำเนินการ

บทความวิจัย : รูปแบบการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนตามแนววิถีพุทธในงานต่อต้านการทุจริต และการสร้างเครือข่ายต่อต้านการทุจริตอย่างยั่งยืน

การพัฒนากิจกรรมสำหรับต่อต้านการทุจริตควรมีการประยุกต์หลักพุทธธรรมและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกับการส่งเสริมการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ