KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | หลังฉากความสำเร็จการพัฒนาโครงการ งบประมาณถึงมือชาวบ้านหรือมือใคร ?

หลังฉากความสำเร็จการพัฒนาโครงการ งบประมาณถึงมือชาวบ้านหรือมือใคร ? 

 

ปทุมธานีโมเดล สีคิ้วโมเดล โคกหนองนาอินทรีย์วิถีพุทธ ชื่อโครงการที่คุ้นหูจากสื่อในมุมของการเป็นพื้นที่พัฒนาตัวอย่าง จากการใช้งบประมาณขององค์กรปกครองท้องถิ่นมาพัฒนาจนประสบความสำเร็จ แต่ทราบหรือไม่ว่ายังมีอีกหลายโครงการที่ใช้งบประมาณจำนวนมหาศาล แต่กลับสูญเปล่า หรือไม่คุ้มค่ากับที่ตั้งใจไว้ ทำให้ชาวบ้านที่ฝันไกลว่าอยากให้ชุมชนพัฒนาแค่ไหน แต่งบประมาณกลับไปไม่ถึง  

งานวิจัยโดยศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดน่าน เรื่อง กลไกการเสริมสร้างธรรมาภิบาลท้องถิ่นและกลไกการเฝ้าระวัง ติดตามการคอร์รัปชันโดยชุมชนมีส่วนร่วม กรณีศึกษา : พื้นที่อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน” โดย อภิสิทธิ์ ลัมยศ และคณะ (2563) ได้ทำการศึกษาพื้นที่ท้องถิ่นในอำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน เกี่ยวกับหลักธรรมาภิบาลและการต่อต้านคอร์รัปชันของชุมชน โดยได้พูดคุยกับชาวบ้านเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เสนอความเห็นเกี่ยวกับความรุนแรงของปัญหาคอร์รัปชันในพื้นที่ ผลปรากฏว่า ปัญหาสำคัญที่ชาวบ้านมองว่าส่งผลกระทบมากสุด คือเรื่องของโครงการไม่ทำให้เกิดประโยชน์กับประชาชนอย่างแท้จริง ตัวอย่างที่เกิดขึ้น เช่น

“โครงการขุดลอกลำน้ำมาง ใช้งบประมาณล้านกว่าบาท แต่กลับใช้งานจริงได้แค่บางจุด เกิดประโยชน์ไม่ทั่วถึง 

“โครงการขุดลอกหน้าฝาย” ของบประมาณหน้าร้อนแต่ได้งบประมาณหน้าฝนซึ่งล่าช้าไปแล้ว แต่หากไม่ทำก็จะต้องคืนงบให้รัฐ ชาวบ้านจึงต้องยอมทำในหน้าฝน แต่สุดท้ายน้ำป่าก็จะไหลหลากทับตกตะกอน ทำให้ไม่ได้ใช้ประโยชน์จริง  

“โครงการปลูกป่า ชาวบ้านมองว่าป่าในพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์อยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องปลูกเพิ่ม โครงการนี้ทำให้เสียงบประมาณโดยไม่จำเป็น 

“โครงการทาสีถนนคอนกรีต ในความเป็นจริงถนนในพื้นที่เป็นถนนแคบ อีกทั้งทำไปไม่กี่ปีสีก็หาย ชาวบ้านมองว่าเป็นโครงการที่ไม่เกิดประโยชน์จริง  

“โครงการทำแนวกันไฟป่า 30 กม.” ในความเป็นจริงชาวบ้านได้งบประมาณแค่ 50,000 บาท ทั้งที่ต้องจ่ายกิโลเมตรละ 5,000 บาท งบประมาณจึงไม่เพียงพอ ทำได้จริงเพียง 10 กิโลเมตร เมื่อชาวบ้านทวงถามเงิน จึงได้คำตอบว่าชาวบ้านต้องใช้เงินตัวเองให้ครบ 30 กม. จึงจะเบิกเงินได้ 

จากการพูดคุยระหว่างชาวบ้านและทีมวิจัย นำมาสู่การเสนอทางแก้ปัญหา คือการสร้างมีส่วนร่วม โดยชาวบ้านจะต้องมีส่วนร่วมกับโครงการท้องถิ่นตั้งแต่เริ่มต้นจนจบโครงการและสามารถตรวจสอบการบริหารจัดการของคณะกรรมการหมู่บ้าน มีการทำข้อตกลงหรือ MOU ระหว่างชาวบ้าน หน่วยงานรัฐและเอกชนจัดเวทีสร้างความรู้ร่วมกัน และชาวบ้านเองต้องมีความกล้าที่จะโต้แย้ง ต้องแจ้งเบาะแสเมื่อมีโครงการที่ไม่เกิดประโยชน์จริงในพื้นที่ 

การศึกษาชวนให้เราทบทวนว่า หลายอย่างที่เห็นอาจไม่เป็นอย่างที่คิด แม้จะมีโครงการที่ถูกนำเสนอว่าประสบความสำเร็จบนสื่อ แต่ก็ยังมีโครงการในพื้นที่จริงที่ยังมีการวางแผนโครงการแบบไม่รอบคอบ การทำงานที่ล่าช้าจนเกินไป และโครงการที่ไม่ได้คำนึงถึงบริบทของพื้นที่ ซึ่งทำให้ไม่เกิดประโยชน์ขึ้นจริง และบางครั้งโครงการยังขาดความชัดเจนจนสุ่มเสี่ยงให้เกิดการคอร์รัปชันอีกด้วย

จากเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นนั้น มาจากมุมมองของชาวบ้าน อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน ที่ทำให้เราเห็นว่า กลไกสำคัญที่จะป้องกันการบริหารที่ไม่มีประสิทธิภาพ และการคอร์รัปชันอาจต้องมีการบริหารจัดที่ดีหรือธรรมาภิบาล และสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างชาวบ้าน ซึ่งแนวทางนี้จะเป็นตัวอย่างนำไปสู่การถอดบทเรียนและการพัฒนาให้กับพื้นที่อื่น ในประเทศไทยต่อไป 

การศึกษา .บ่อเกลือ จ.น่าน ยังมีแนวคิดเรื่องธรรมาภิบาลและการต่อต้านคอร์รัปชันที่น่าสนใจอีกหลายประเด็น สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากงานวิจัย เรื่อง กลไกการเสริมสร้างธรรมาภิบาลท้องถิ่นและกลไกการเฝ้าระวัง ติดตามการคอร์รัปชันโดยชุมชนมีส่วนร่วม กรณีศึกษา : พื้นที่อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน” (2563) โดย อภิสิทธิ์ ลัมยศ และคณะ 

#ชุมชน #ชาติพันธุ์ #น่าน #บ่อเกลือ #คอร์รัปชัน #ทุจริต #โกง #KRAC #KRACCorruption 

——————

คอลัมน์ “KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย” เป็นบทความเล่างานวิจัยไทยด้านการต่อต้านคอร์รัปชัน ที่หยิบยกหนึ่งในประเด็นของงานวิจัยในมุมมองของผู้ปฏิบัติการ เพื่อปูพื้นฐานความรู้และความเข้าใจเรื่องการคอร์รัปชัน และการต่อต้านคอร์รัปชันในมิติต่าง ๆ ภายใต้บริบทของประเทศไทย

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2567
ผู้แต่ง
  • ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค
หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
โลโก้คณะเศรษฐศาสตร์ (ภาษาไทย)

หัวข้อ
Related Content

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย I ในสังคมที่มีความร่วมมือหรือความไว้เนื้อเชื่อใจกันสูง รัฐจะสร้างประโยชน์จากข้อค้นพบนี้อย่างไร ?

มุมมองของประชาชนต่อหน่วยงานรัฐ หนึ่งกลุ่มจ่ายภาษี อีกกลุ่มเข้ามาทำหน้าที่พัฒนาบริการสาธารณะให้เกิดประโยชน์ แต่มีหลายครั้งที่โครงการไม่ตอบสนองความต้องการของประชาชน เช่น ศาลาสร้างทิ้งไว้ไม่มีคนใช้ จนบางครั้งประชาชนต้องลงแรงทำกันเอง

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | หลังฉากความสำเร็จการพัฒนาโครงการ งบประมาณถึงมือชาวบ้านหรือมือใคร ?

ทราบหรือไม่ว่ายังมีอีกหลายโครงการที่ใช้งบประมาณจำนวนมหาศาลในการพัฒนาชุมชน แต่กลับสูญเปล่า หรือไม่คุ้มค่ากับที่ตั้งใจไว้ ทำให้ชาวบ้านที่ฝันไกลว่าอยากให้ชุมชนพัฒนาแค่ไหน แต่งบประมาณกลับไปไม่ถึง

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | รู้จัก “3 พันธมิตร” ต้นตอของการคอร์รัปชันในโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่

โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐ หมายถึงโครงการก่อสร้างที่มีงบประมาณตั้งแต่ 1 พันล้านบาทขึ้นไป หรือที่เรามักได้ยินว่า “เมกะโปรเจกต์” (Mega Project) และด้วยการที่เป็นโครงการที่มีงบประมาณจำนวนมาก การทุจริตในโครงการประเภทนี้จึงสร้างความเสียหายอย่างมากให้กับงบประมาณประเทศ

You might also like...

บทความวิจัย : ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสริมสร้างความร่วมมือและการควบคุมคอร์รัปชันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี

เมื่อการกระจายอำนาจกลับกลายเป็นการกระจายการทุจริตสู่ท้องถิ่น เพื่อยับยั้งปัญหาคอร์รัปชันในท้องถิ่น จึงต้องส่งเสริมการปกครองตามหลักธรรมาภิบาล (กรณีศึกษา จังหวัดเพชรบุรี)

KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I UNODC จับมือไนจีเรียจัดทำรายงานการทุจริตในไนจีเรีย ชี้ “การติดสินบนได้รับการยอมรับน้อยลง”

รายงานฉบับนี้มีชื่อว่า “การทุจริตในไนจีเรีย: รูปแบบและทิศทาง (Corruption in Nigeria: Patterns and Trends)” เป็นการสำรวจเกี่ยวกับการรับรู้การทุจริตของประชาชนในประเทศไนจีเรียจากประสบการณ์ของประชาชน นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์แนวโน้มการทุจริต ประสิทธิภาพของกลยุทธ์ และแนวทางการต่อต้านการทุจริตอีกด้วย

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : โกง (เรื่อง) กิน ฉ่ำๆ หม่ำๆ แบดกาย แบดกายหม่ำๆ

เมื่อวันแม่ที่ผ่านมาหลายๆ ท่านคงพาคุณแม่ไปทานข้าว หรืออาจกลับบ้านไปทานข้าวกับคุณแม่และครอบครัว เพราะสำหรับคนไทยแล้ว “อาหารเป็นเรื่องสำคัญ” ดังนั้นในวันสำคัญการนัดรวมตัวกันกินข้าวจึงเป็นเรื่องจำเป็น