KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | รู้จัก “3 พันธมิตร” ต้นตอของการคอร์รัปชันในโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่

รู้จัก “3 พันธมิตร” ต้นตอของการคอร์รัปชันในโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ 

 

“โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐ” หมายถึงโครงการก่อสร้างที่มีงบประมาณตั้งแต่ 1 พันล้านบาทขึ้นไป ที่ส่วนใหญ่เกี่ยวกับการสร้างโครงสร้างพื้นฐานหรือสาธารณูปโภคให้ประชาชน เช่น สร้างถนน ทางด่วน เขื่อนผลิตไฟฟ้า ระบบป้องกันน้ำท่วม หรือที่เรามักได้ยินว่าเมกะโปรเจกต์” (Mega Project) และด้วยการที่เป็นโครงการที่มีงบประมาณจำนวนมาก การทุจริตในโครงการประเภทนี้จึงสร้างความเสียหายอย่างมากให้กับงบประมาณประเทศ 

งานวิจัยโดย สุพรรณี ไชยอำพร และศิรินทร์ทิพย์ อรุณเรื่อ (2545) ได้ศึกษาโดยใช้หลักตรรกะเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลที่รับจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับในโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ พบว่า การทุจริตอาจจะทำให้งบประมาณหายไปสูงสุด 30 % ซึ่งถ้าหากลองเอาตัวเลขนี้ไปคำนวณกับโครงการลงทุนขนาดใหญ่ด้านโครงสร้างพื้นฐานของสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม (2543-2549) ที่มีงบประมาณ 1,356,862 ล้านบาท ประชาชนอาจจะเสียเงิน 407,058.6 ล้านบาทไปฟรี ๆ จากการถูกคอร์รัปชัน 

เหตุผลสำคัญ ที่ทำให้เกิดการคอร์รัปชันในเมกะโปรเจกต์ มาจากการเมืองที่ทำให้คนที่ตั้งใจเข้ามาทุจริตมีอำนาจจนพัฒนาการเป็นเครือข่ายอุปถัมภ์ เกิดเป็นกระบวนการคอร์รัปชัน ซึ่งงานวิจัยได้พูดถึงบทบาทของ “3 พันธมิตร” ที่ร่วมมือกันคอร์รัปชันอย่างเป็นระบบ 

  1. เอกชนเจ้าของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับโครงการ มีหน้าที่กำหนดโครงการ บริษัทที่จะเข้ามารับงาน และเจ้าหน้าที่ที่จะมารับผิดชอบงานนี้ เพราะเอกชนกลุ่มนี้มีอำนาจจากการเป็นคนให้ทุนสนับสนุนทางการเมือง 
  2. นักการเมือง มีหน้าที่รับบทผู้ประสานงาน วิ่งเต้น พูดคุยกับระดับรัฐมนตรี เพื่อให้โครงการได้รับการอนุมัติ
  3. ข้าราชการ ส่วนใหญ่จะเป็นข้าราชการที่ทำงานในกระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม หรือกระทรวงอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ ข้าราชการเหล่านี้ปฏิบัติตามหน้าที่ในการอนุมัติโครงการ เช่น การใช้อำนาจตามกฎหมายริเริ่ม-ประมูลโครงการ ใช้อำนาจบริหารสั่งการ เป็นต้น

สุดท้ายแล้วเงินที่ได้จากการทุจริต ก็จะถูกเอาไปแบ่งเค้กระหว่าง 3 พันธมิตรในรูปแบบเงิน หุ้น หรือสิ่งของ โดยซึ่งมากจะใช้วิธีการจ่ายเป็นเงินสด ถ้าจ่ายในประเทศจะใส่กระเป๋าเดินทาง กล่องกระดาษ หรือเข่ง แล้วขับรถเอาไปให้ที่บ้านเพราะเป็นที่ที่ปลอดภัยและแนบเนียนที่สุด แต่ถ้าเป็นเงินที่เกิน 100 ล้านบาท ก็มักจะใช้วิธีการเดินทางไปจ่ายเงินกันที่ต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม วิธีการนี้มาจากข้อมูลที่งานวิจัยได้รวบรวมมาในสมัยนั้น ปัจจุบัน บางวิธีการอาจจะไม่ได้ใช้กันแล้ว  

การจะแก้ปัญหาการคอร์รัปชันในโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของภาครัฐ งานวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า ภาคประชาชนต้องตื่นตัวทางการเมือง ไม่สนับสนุนการซื้อเสียง ช่วยตรวจสอบนักการเมืองที่มีคุณธรรมเข้าสภา ภาครัฐต้องไม่ให้กฎหมายมีช่องว่างให้เกิดการคอร์รัปชันหรือการฟอกเงิน ส่งเสริมด้านการศึกษาให้เด็กรู้จักการต้านโกง และภาคสื่อมวลชนต้องช่วยตีแผ่ความจริงของการทุจริตให้สังคมได้รับรู้ 

นอกจากเรื่องคอร์รัปชันที่เราเล่าไป ยังมีข้อมูลที่น่าสนใจซึ่งสามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากงานวิจัย เรื่อง  “การศึกษารูปแบบและกระบวนการคอร์รัปชัน ในการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ” (2545)  โดย สุพรรณี ไชยอำพร และศิรินทร์ทิพย์ อรุณเรื่อ 

#งบประมาณ #โครงการรัฐ #รัฐบาล #การเมือง #นักการเมือง #พรรคการเมือง #การเมืองไทย #ทุจริต #โกง #KRACCorruption 

——————

คอลัมน์ “KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย” เป็นบทความเล่างานวิจัยไทยด้านการต่อต้านคอร์รัปชัน ที่หยิบยกหนึ่งในประเด็นของงานวิจัยในมุมมองของผู้ปฏิบัติการ เพื่อปูพื้นฐานความรู้และความเข้าใจเรื่องการคอร์รัปชัน และการต่อต้านคอร์รัปชันในมิติต่าง ๆ ภายใต้บริบทของประเทศไทย

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2567
ผู้แต่ง
  • ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค
หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
โลโก้คณะเศรษฐศาสตร์ (ภาษาไทย)

หัวข้อ
Related Content

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | หลังฉากความสำเร็จการพัฒนาโครงการ งบประมาณถึงมือชาวบ้านหรือมือใคร ?

ทราบหรือไม่ว่ายังมีอีกหลายโครงการที่ใช้งบประมาณจำนวนมหาศาลในการพัฒนาชุมชน แต่กลับสูญเปล่า หรือไม่คุ้มค่ากับที่ตั้งใจไว้ ทำให้ชาวบ้านที่ฝันไกลว่าอยากให้ชุมชนพัฒนาแค่ไหน แต่งบประมาณกลับไปไม่ถึง

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | รู้จัก “3 พันธมิตร” ต้นตอของการคอร์รัปชันในโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่

โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐ หมายถึงโครงการก่อสร้างที่มีงบประมาณตั้งแต่ 1 พันล้านบาทขึ้นไป หรือที่เรามักได้ยินว่า “เมกะโปรเจกต์” (Mega Project) และด้วยการที่เป็นโครงการที่มีงบประมาณจำนวนมาก การทุจริตในโครงการประเภทนี้จึงสร้างความเสียหายอย่างมากให้กับงบประมาณประเทศ

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ชวนดู 5 อันดับการคอร์รัปชันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

สถิติร้องเรียนเรื่องทุจริตของเจ้าหน้าที่ปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีต่อ ป.ป.ช ช่วงปี 2553-2557 พบว่าตลอด 5 ปี มีการร้องเรียนมากถึง 6,260 เรื่อง หรือตกปีละ 1,252 เรื่อง ซึ่งถือว่าแต่ละปีมีไม่น้อยเลย

You might also like...

บทความวิจัย : มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการ

แนวทางการดำเนินคดีสำหรับผู้ทุจริตการสอบคัดเลือกเข้ารับราชการ และเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาด้านการพัฒนากฎหมายการทุจริตการสอบคัดเลือกเข้ารับราชการ

บทความวิจัย : ทางออกการป้องกันและการปราบปรามทุจริตในสังคมไทย

แนวทางแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในสังคมไทยต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของสังคม รวมทั้งภาคประชาชนในการติดตามและตรวจสอบการทุจริตในภาครัฐ

บทความวิจัย : แนวทางพัฒนาจริยธรรมนักการเมืองไทย

การประเมินจริยธรรมของนักการเมืองโดยภาพรวมอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้น จึงควรมีมาตรการพัฒนาจริยธรรม มาตรการกำหนดคุณสมบัติด้านจริยธรรม และมาตรการกำหนดบทลงโทษในกรณีทำความผิด เพื่อยกระดับจริยธรรมในนักการเมืองให้สูงขึ้น