KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ในเมือง-ชนบท ต่างพื้นที่ ต่างวิธีแก้ปัญหาการคอร์รัปชัน

ทำอย่างไรให้ชุมชนปลอดภัยจากการคอร์รัปชัน ? 

 

หากพูดถึงปัญหาคอร์รัปชัน หลายคนคงมักจะมองไปที่การต่อต้านคอร์รัปชันในระดับประเทศ เช่น การต่อต้านทุจริตภาคการเมือง ภาคเศรษฐกิจ หรือหน่วยงานเอกชน แต่การทำงานอีกหนึ่งส่วนซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยให้สามารถเข้าใจในบริบทของการคอร์รัปชันที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ และจะนำไปสู่การต่อต้านคอร์รัปชันที่มีประสิทธิภาพได้ คือการต่อต้านคอร์รัปชันระดับชุมชน”  

จากการศึกษางานวิจัย เรื่อง “โครงการประสานงานวิจัยและส่งเสริมศักยภาพเครือข่ายเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน” โดยต่อภัสสร์ ยมนาค และคณะ (2563) ที่มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมศักยภาพการทำงานของนักวิจัยภายใต้เครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชันได้อย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะทีมนักวิจัยพื้นที่ในการออกแบบกลไกเฝ้าระวังการคอร์รัปชันร่วมกับคนในพื้นที่น่าน แม่ฮ่องสอน นครราชศรีมา สงขลา และกรุงเทพฯ ซึ่งพบว่างานวิจัยมีข้อค้นพบที่น่าสนใจมากมาย ซึ่ง KRAC Corruption ได้หยิบประเด็นของชุมชนในเมืองและชุมชนชนบทที่มีรูปแบบการต่อต้านคอร์รัปชันที่แตกต่างกันมาเล่าให้ฟัง 

งานวิจัยได้แบ่งการศึกษาออกเป็น 3 บริบทจากจังหวัดที่เป็นตัวแทนของแต่ละพื้นที่ ดังนี้

กรุงเทพฯ (ตัวแทนชุมชนเมือง) :

ชุมชนเมืองมีลักษณะความเป็นอยู่ที่เร่งรีบ มีวิธีชีวิตแบบหาเช้ากินค่ำ ใช้ชีวิตแบบต่างคนต่างอยู่ และในชุมชนเองก็ไม่มีพื้นที่ให้ทุกคนได้มีปฏิสัมพันธ์กัน ทำให้คนในชุมชนไม่ได้ได้มีความสัมพันธ์ที่แน่นแฝ้น ไม่มีความร่วมมือกัน และเกิดความขัดแย้งในบางครั้ง นอกจากนี้ความสัมพันธ์ร่วมมือระหว่างชุมชนกับรัฐก็มีความห่างเหินกัน เพราะส่วนใหญ่แล้วจะมีการทำงานในลักษณะบนลงล่าง (top-down) มากกว่าการทำงานร่วมกัน ทำให้กลไกตรวจสอบไม่มีสิทธิภาพ และอาจนำไปสู่การทุจริตได้

จังหวัดน่าน (ตัวแทนชุมชนชนบท) :

ชุมชนชทบท อยู่กันแบบเครือญาติ มีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น ถ้อยทีถ้อยอาศัย ที่มาจากการกำหนดกติการ่วมกันของชุมชน โดยนำเอาค่านิยมที่ดีของชุมชน เช่น เรื่องความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ สะท้อนให้เห็นว่ามีการให้ความสำคัญของคนในชุมชนต่อเรื่องนิยมและจารีตของชุมชนที่เข้มงวด ซึ่งทำให้ชาวบ้านมีความร่วมมือกันเองเพื่อการต่อต้านคอร์รัปที่เข้มแข็ง แต่ในแง่ความร่วมมือระหว่างชุมชนกับรัฐยังมีความห่างเหิน เพราะมีระยะห่างของอำนาจหรือการที่เจ้าหน้าที่รัฐมีอำนาจ และไม่เปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วม ในขณะที่ชาวบ้านเองก็ไม่มีความรู้และยังไม่มีองค์กรใดเข้าช่วยพัฒนาทักษะในการต่อต้านคอร์รัปชัน

จังหวัดนครราชสีมา (ตัวแทนชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบท) :

ชุมชนเมืองกึ่งชนบทอยู่ภายใต้การครอบงำของการเมืองท้องถิ่น เกิดความสัมพันธ์แบบมีผู้มีอิทธิพลครอบงำคนในพื้นที่ ทำให้คนในชุมชนมีความหวาดกลัว อยู่ร่วมกันภายใต้ระบบอุปถัมภ์ประโยชน์ส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับพวกพ้องของผู้นำชุมชน ในขณะเดียวกันชุมชนยังยึดมั่นในค่านิยมและจารีตของสังคมที่เข้มงวด เพราะมีความเชื่อเรื่องของคุณธรรม ความดีที่ยึดโยงกับผู้นำ และความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับรัฐอยู่ในรูปแบบอุปถัมภ์ 

จะเห็นได้ว่าในแต่ละพื้นที่ล้วนแล้วแต่มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน และทำให้เรารู้ว่าการต่อต้านคอร์รัปชันในแต่ละพื้นที่มีความซับซ้อนและไม่สามารถใช้วิธีเดียวในการป้องกันคอร์รัปชันได้ ทางทีมวิจัยจึงได้มีการออกแบบแนวทางการต่อต้านคอร์รัปชันที่เหมาะสมกับบริบทของแต่ละพื้นที่รวมถึงสร้างเครื่องมือเพื่อส่งเสริมธรรมาภิบาลและการต่อต้านคอร์รัปชันให้มีประสิทธิภาพ ดังนี้ 

ในบริบทพื้นที่ชุมชนเมือง :

กลไกของกฎระเบียบ (นิติธรรม) และการสร้างการมีส่วร่วมเป็นสิ่งสำคัญ ทีมวิจัยจึงได้สร้างระบบ SMS ชุมชน LINE official account และกล่องรับความคิดเห็น ซึ่งจะทำให้คนในชุมชนสามารถสื่อสาร และแสดงความคิดเห็นกันได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น 

ในบริบทพื้นที่ชุมชนชนบท :

กลไกของการมีส่วนร่วม และความโปร่งใสเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อเจ้าหน้าที่รัฐและคนในชุมชนได้ ทีมวิจัยจึงได้สร้างแอปพลิเคชัน บ่อเกลือ 4.0 ที่จะช่วยให้ชาวบ้านสามารถติดตามการทำงาน และสามารถร้องเรียนปัญหากับเจ้าหน้าที่รัฐได้

ในบริบทพื้นที่ชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบท :

กลไกเรื่องการมีส่วนร่วม และความรับผิดชอบเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้คนในชุมชนได้มีส่วนร่วมกับการรายงานการทุจริต ซึ่งทีมวิจัยพบว่าปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไขในพื้นที่จังหวัดนครราชศรีมา คือการทุจริตในสถาบันการศึกษา อย่างไรก็ดี นักเรียนในพื้นที่นั้นมีศักยภาพมากพอที่จะเป็นผู้ร่วมตรวจสอบได้ ทีมวิจัยจึงได้ออกแบบเครื่องมือ We are Student เพื่อเป็นช่องทางการรายงานให้เยาวชนกลุ่มนักเรียนกล้าดี กลุ่มเยาวชนที่ทีมวิจัยได้จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการรายงานการแจ้งเบาะแสเพื่อต่อต้านการทุจริตภายในโรงเรียนได้ 

งานวิจัยชิ้นนี้ จึงเป็นภาพที่แสดงให้เห็นว่าการทำความเข้าใจชุมชนในแต่ละพื้นที่ที่มีบริบทของการคอร์รัปชันที่แตกต่างกัน จะสามารถนำไปสู่การออกแบบแนวทางการต่อต้านคอร์รัปชันที่เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะทำให้ชุมชนมีแนวทางป้องกันคอร์รัปชันที่เข้มแข็ง และกลายเป็นรากฐานสำคัญที่นำไปสู่การต่อต้านคอร์รัปชันที่สร้างผลกระทบระดับประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

งานวิจัยชิ้นนี้ ยังมีข้อมูลที่ศึกษาเกี่ยวกับการต่อต้านคอร์รัปชันในบริบทของสังคมไทยอีกมากมาย เช่น ภาพรวมของพื้นที่ในเมือง ชนบท หรือรายละเอียดความความเสี่ยงคอร์รัปชันที่อาจเกิดขึ้นที่เรายังไม่ได้กล่าวถึง ซึ่งสามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากงานวิจัย เรื่อง “โครงการประสานงานวิจัยและส่งเสริมศักยภาพเครือข่ายเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน” โดยต่อภัสสร์ ยมนาค และคณะ (2563)

#ชุมชน #ท้องถิ่น #ในเมือง #ต่างจังหวัด #ทุจริต #โกง #KRAC #KRACCorruption 

——————

คอลัมน์ “KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย” เป็นบทความเล่างานวิจัยไทยด้านการต่อต้านคอร์รัปชัน ที่หยิบยกหนึ่งในประเด็นของงานวิจัยในมุมมองของผู้ปฏิบัติการ เพื่อปูพื้นฐานความรู้และความเข้าใจเรื่องการคอร์รัปชัน และการต่อต้านคอร์รัปชันในมิติต่าง ๆ ภายใต้บริบทของประเทศไทย

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2567
ผู้แต่ง
  • ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค
หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
โลโก้คณะเศรษฐศาสตร์ (ภาษาไทย)

หัวข้อ
Related Content

เปลี่ยน Trainees เป็น Rookies ตัวท็อปของวงการ : ชวนอ่าน Anti-Corruption 101 เพื่อปูพื้นฐานการต่อต้านคอร์รัปชัน

ชวนอ่าน Anti-Corruption 101 ที่จะช่วยปูพื้นฐานความรู้ในเรื่องการคอร์รัปชัน ผ่านแนวคิดทางวิชาการ และเรียนรู้แนวทางการต่อต้านคอร์รัปชันที่มีเนื้อหาเข้าใจง่ายสำหรับทุกคน

คัดสรรงานวิจัยไทยต่อต้านคอร์รัปชัน ที่คุณอาจไม่รู้ (จัก) มาก่อน : ชวนอ่านสรุปงานวิจัยไทย 24 ชิ้น เพื่อทำความเข้าใจการต่อต้านคอร์รัปชัน

ชวนอ่านสรุปงานวิจัยไทยที่ KRAC คัดสรรมาให้คุณ เพื่อจะทำให้คุณเข้าใจปัญหา และวิธีการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันภายใต้บริบทของประเทศไทย

You might also like...

KRAC The Experience | EP 4 “Tales of Transparency : Lesson learns from Georgia”

เปิดเผยข้อมูลแบบโปร่งใสอย่างสุดโต่ง คืออะไร ? วันนี้เรามีเรื่องน่าสนใจเกี่ยวกับข้อมูลเปิด (Open Data) มาเล่าให้คุณฟังกับ KRAC The Experience ตอน “Tales of Transparency : Lesson learns from Georgia”

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : ‘อาหรับสปริง’ จุดเริ่มต้นจาก 1 ประชาชน สู่การปฏิวัติกว่า 15 ประเทศ

ไม่ว่าใครก็อยากเห็นประเทศของตัวเองดีขึ้น… ไม่ว่าใครก็อยากเห็นประเทศตัวเองมีความยุติธรรม… ไม่ว่าใครก็อยากเห็นประเทศตัวเองไม่มีการคอร์รัปชัน… แต่หลายคนมองว่าเราเป็นเพียงประชาชนตัวเล็กๆ คนหนึ่งไม่สามารถเปลี่ยนอะไรได้ การเปลี่ยนแปลงสังคมเป็นเรื่องไกลตัวที่ไม่มีทางที่คนหนึ่งคนจะทำได้จริง แต่เชื่อหรือไม่ว่าในประเทศตูนิเซียมีชายขายผักที่ออกมาเรียกร้องความยุติธรรมจนกลายเป็นจุดเริ่มต้นของเหตุการณ์การลุกฮือปฏิวัติในประเทศอาหรับมากกว่า 15 ประเทศ

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : หมูเด้งดัง แต่ตังค์อาจไปเข้าหมูไหน?

ปฏิเสธไม่ได้กับความดังระดับซูเปอร์สตาร์ระดับโลกของลูกฮิปโปแคระ “หมูเด้ง” แห่งสวนสัตว์เขาเขียว ที่เรียกได้ว่าเกิดมาเพื่อเป็นดาวก็ไม่ผิดด้วยอายุเพียง 3 เดือนกับปรากฏการณ์ “หมูเด้งฟีเวอร์” ด้วยรูปร่างหน้าตาน่ารัก ขัดกับนิสัยที่ดูเกรี้ยวกราดโดยภาพที่ปรากฏออกมาในการไล่งับขาของผู้ดูแลทั้งที่ฟันก็ยังไม่ขึ้นนั้นได้กลายเป็นกระแสไปทั่วโลกออนไลน์ โดยความดังนั้นไม่ได้หยุดเพียงแค่ในประเทศไทยแต่ดังไปไกลถึงระดับโลก การันตีด้วยการขึ้นเป็นพาดหัวข่าวในสื่อชื่อดังอย่าง Time Magazine และ The New York Times