KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I ชวนดูแนวทางใหม่ในการจัดการ “ปัญหาการฟอกเงิน” ของสหรัฐฯ ผ่านนโยบายที่บูรณาการร่วมกับภาคเอกชนและภาคประชาสังคม

ชวนดูแนวทางใหม่ในการจัดการ “ปัญหาการฟอกเงิน” ของสหรัฐฯ ผ่านนโยบายที่บูรณาการร่วมกับภาคเอกชนและภาคประชาสังคม

 
สหรัฐอเมริกา (United State of America; USA) ได้ประกาศนโยบายใหม่ที่ว่าด้วยการต่อต้านการทุจริตและการคอร์รัปชัน โดยมุ่งเน้นที่การป้องกันการฟอกเงินในสหรัฐฯ หลังจากที่มีการเริ่มต้นและพัฒนากฎหมายและนโยบายนี้มาตั้งแต่ปี 1970 แต่ในอดีตก็มุ่งเน้นที่การจัดการปัญหาผ่านการกำกับดูแลธนาคาร ซึ่งนโยบายใหม่นี้จะมุ่งเน้นที่แนวทางการป้องกันเพื่อไม่ให้เงินที่ผิดกฎหมายและกิจกรรมที่ไม่สามารถตรวจสอบได้ไหลเข้ามาในระบบเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องด้วยในแต่ละปีหน่วยงานรัฐของสหรัฐฯ พบการฟอกเงินมากกว่า 300 พันล้านดอลลาร์ และมีการไหลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจของสหรัฐฯ 15% – 38% ซึ่งสามารถคิดเป็นเงินประมาณ 800 พันล้านถึง 2 ล้านล้านดอลลาร์ ในขณะเดียวกันก็อาจมีเงินที่ถูกฟอกในสหรัฐฯ ไหลเวียนเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจของประเทศอื่น ๆ จึงทำให้สหรัฐฯ ถือเป็นแหล่งเก็บซ่อนเงินที่ไม่โปร่งใสและมีการกระจายผ่านการดำเนินธุรกิจต่าง ๆ
 
จากปัญหาดังกล่าวจึงมีการเร่งแก้ไขผ่านการออกแบบนโยบายต่อต้านการทุจริต ซึ่งรับผิดชอบโดยเครือข่ายปราบปรามอาชญากรรมทางการเงินของสหรัฐอเมริกา (Financial Crimes Enforcement Network; FinCEN) ที่เป็นหน่วยงานกำกับดูแลภายในกระทรวงการคลังของสหรัฐฯ ซึ่งรับผิดชอบในการปกป้องประเทศจากเงินที่ผิดกฎหมาย นโยบายใหม่นี้มีความสำคัญในการให้ข้อมูลและทรัพยากรที่จำเป็นแก่หน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย ภาคเอกชน ภาคประชาสังคมและหน่วยงานด้านความมั่นคงแห่งชาติเพื่อปิดช่องโหว่ที่กลุ่มผู้ไม่หวังดีพยายามจะเข้าถึงระบบการเงิน รวมถึงช่องโหว่ที่ทำให้เงินที่ถูกฟอกไหลเวียนเข้ามาสู่ระบบเศรษฐกิจของสหรัฐฯ
 
FinCEN มีความพยายามในการผลักดันด้านนโยบายใหม่นี้เพื่อให้ระบบเศรษฐกิจในสหรัฐฯ มีความโปร่งใสมากขึ้น โดยปัจจุบันกำลังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาจากภาคเอกชนและภาคประชาสังคม ซึ่งการพิจารณานี้จะให้ข้อมูลเชิงลึกในการเสริมสร้างนโยบายและทำให้เงินในระบบเศรษฐกิจของสหรัฐฯ สามารถตรวจสอบได้โดยมีประเด็น ดังนี้
 
  1. การจัดทำทะเบียนข้อมูลความเป็นเจ้าของบริษัท (Beneficial Ownership Registry) ที่สร้างขึ้นในสหรัฐฯ พร้อมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับเจ้าของผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้อง
  2. ข้อเสนอที่กำหนดให้ผู้เชี่ยวชาญในตลาดอสังหาริมทรัพย์เปิดเผยข้อมูลธุรกรรมอื่นที่ไม่ใช่การเงิน ซึ่งรวมถึงบริษัทนิติบุคคลและทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน (Trust for Transactions in Capital Market; TRUST) หรือนิติสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นตามสัญญาเพื่อการจัดการทรัพย์สิน
  3. ข้อเสนอที่กำหนดให้ที่ปรึกษาการลงทุนต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดการป้องกันการฟอกเงินอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
 
โดยหลังจากที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดนเข้ารับตำแหน่งได้ไม่นาน ก็ได้เข้ามาสนับสนุนกลยุทธ์การต่อต้านการทุจริต ผ่านการเป็นส่วนหนึ่งที่ร่วมดำเนินการออกแบบนโยบายใหม่ที่ว่าด้วยการต่อต้านการทุจริตและการคอร์รัปชัน โดยการเป็นตัวแทนในการจัดการประชุมที่มีการประสานงานและขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานระดับนานาชาติที่มีเป้าหมายเกี่ยวกับการป้องกันการฟอกเงินใหม่ในสหรัฐฯ และเน้นย้ำถึงการต่อสู้กับเงินที่ผิดกฎหมายในรูปแบบต่าง ๆ โดยเฉพาะเงินที่ถูกฟอกที่ไหลเข้าสู่สหรัฐฯ
 
แม้ว่าในปัจจุบันสหรัฐฯ ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาการฟอกเงินและเงินที่ผิดกฎหมายรูปแบบต่าง ๆ ได้ทั้งหมด แต่บุคคลและหน่วยงานด้านการต่อต้านคอร์รัปชันในสหรัฐฯ ก็มองว่านโยบายดังกล่าวเป็นก้าวสำคัญที่จะทำให้ระบบบบเศรษฐกิจในสหรัฐฯ มีความโปร่งใสมากยิ่งขึ้น ซึ่งประเทศไทยก็สามารถที่จะเรียนรู้จากสหรัฐฯ ได้ผ่านการออกแบบนโยบายในการต่อต้านการทุจริตโดยการเสริมสร้างความโปร่งใสผ่านการจัดทำทะเบียนข้อมูลเจ้าของธุรกิจ การควบคุมและรายงานธุรกรรมที่เสี่ยงต่อการฟอกเงิน การบูรณาการระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน เพื่อเสริมสร้างให้มีนโยบายที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงการปรับปรุงกฎหมายอย่างต่อเนื่องเพื่อปิดช่องโหว่ที่อาจถูกใช้ในการทุจริต ซึ่งจะช่วยลดการทุจริตและเพิ่มความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยได้เช่นกัน
ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2567
ผู้แต่ง
  • ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค
หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
โลโก้คณะเศรษฐศาสตร์ (ภาษาไทย)

หัวข้อ
Related Content

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | เกาหลีใต้เอาชนะการทุจริตจากผู้มีอิทธิพลภาคธุรกิจได้อย่างไร ?

การทำธุรกิจนั้นมีการแข่งขันสูง หลายธุรกิจมีแรงกดดันที่ต้องเอาชนะคู่แข่งในตลาด ต้องพยายามลดต้นทุนให้น้อยลงและสร้างรายได้ให้มากขึ้น จนหลายบริษัทเลือกที่จะใช้ “ทางลัด” หรือคอร์รัปชัน เพื่อให้เกิดข้อได้เปรียบทางต้นทุน

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ภาคธุรกิจอาจเสียเงินเปล่าจากการจ่ายสินบน

ในการทำธุรกิจ หลายครั้งผู้ที่เป็นเจ้าของกิจการต้องยอมจ่ายเงิน “สินบน” ให้กับเจ้าหน้าที่เพื่อช่วยให้การทำเรื่องเร็วขึ้น เพราะไม่อย่างนั้นอาจจะต้องรอทำเรื่องเป็นเวลานานหลายเดือน ซึ่งหลายคนก็ยอมจ่ายเล็กน้อยเพื่อให้กิจการคล่องขึ้น

KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I องค์กรวิชาชีพบัญชีระดับสากลแนะ เร่งเเก้ไขการติดสินบนใน SMEs ด้วยเทคโนโลยี

จากผลสำรวจสู่งานวิจัยและทางแก้ไขปัญหาการติดสินบนและการทุจริตใน SMEs ณ สหราชอาณาจักร

You might also like...

KRAC Hot News I ไฟฟ้าไทยแพง เพราะภาคพลังงานยังโปร่งใสไม่พอ

เพราะไฟฟ้าได้กลายเป็นปัจจัยที่ 5 ไปแล้ว แต่ที่น่ากังวล คือไฟฟ้ายังคงเป็นปัจจัยเดียวที่ราคาไม่ได้เป็นไปตามกลไกตลาด ที่สำคัญยังเหมือนจะแพงขึ้นเรื่อย ๆ ด้วย…ทำไมค่าไฟฟ้าของไทยยังแพง และมีบทเรียนจากต่างประเทศอะไรบ้าง

บทความวิจัย : ปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติประจำจังหวัด ในการรวบรวมพยานหลักฐานในความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ในองค์การบริหารส่วนตำบล

ความล่าช้าในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด มีปัญหาหลักมาจากการขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย และการดำเนินการ

บทความวิจัย : รูปแบบการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนตามแนววิถีพุทธในงานต่อต้านการทุจริต และการสร้างเครือข่ายต่อต้านการทุจริตอย่างยั่งยืน

การพัฒนากิจกรรมสำหรับต่อต้านการทุจริตควรมีการประยุกต์หลักพุทธธรรมและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกับการส่งเสริมการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ