KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I EU Network Against Corruption เห็นพ้อง ! “การยื่นบัญชีทรัพย์สินควรเป็น ‘หน้าที่’ ของเจ้าหน้าที่รัฐ”

เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2024 คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) ได้เผยแพร่บทความการประชุมหลังจากการเป็นเจ้าภาพในการจัด “การประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการยื่นบัญชีทรัพย์สิน (Workshop on Asset Declaration Systems)” ที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม

 

การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่จัดงานแบบมุ่งเฉพาะประเด็น “การยื่นบัญชีทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่รัฐ” เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการทำงานและความท้าทายของการยื่นบัญชีทรัพย์สินในประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป รวมถึงแบ่งปันแนวปฏิบัติที่ดีระหว่างภาคประชาสังคม องค์กรระหว่างประเทศ และนักวิชาการจากประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป
 
หนึ่งในประเด็นหลักที่ได้มีการพูดคุยครั้งนี้คือ “ความแตกต่างของการยื่นบัญชีทรัพย์สิน”เนื่องด้วยความแตกต่างทางบริบทของแต่ละประเทศและอำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐในภูมิภาค ทั้งนี้ ได้มีการพูดคุยและลงความเห็นร่วมกันว่า “การยื่นบัญชีทรัพย์สินควรเป็นหนึ่งใน ‘หน้าที่’ ของเจ้าหน้าที่รัฐ” เพื่อให้สามารถตรวจสอบที่มาของทรัพย์สิน และช่วยป้องกันการเกิดผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflicts of Interests)
 
ปัจจุบัน ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปเกือบทั้งหมดมีระบบในการกำหนดว่าใครบ้างที่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สิน รวมถึงแนวทางในการตรวจสอบและเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าว เนื่องจากหลายประเทศเล็งเห็นว่าการดำเนินงานในลักษณะนี้เป็น “เครื่องมือสำคัญในการป้องกันการทุจริต” นอกจากนี้ ยังมีการพูดถึง “ความท้าทายที่เกิดขึ้นจากการตรวจสอบทรัพย์สิน” โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่รัฐในประเทศสมาชิกในสหภาพยุโรปที่ถือครองในต่างประเทศ ที่ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเผชิญกับความยากลำบากในการเข้าถึงและตรวจสอบข้อมูลดังกล่าว เนื่องจากข้อมูลดังกล่าวอยู่นอกเหนือขอบเขตอำนาจโดยตรง
 
เพื่อแก้ไขปัญหาข้างต้น จึงมีการสำรวจเครือข่ายเพื่อยกระดับศักยภาพของความเชื่อมโยงกับกรอบการทำงาน และเพิ่มขีดความสามารถในการตรวจสอบความผิดปกติในการยื่นบัญชีทรัพย์สินข้ามพรมแดน เพื่อให้เกิดการทำงานต่อต้านคอร์รัปชันและการฟอกเงินในระดับนานาชาติจากความร่วมมือระหว่างประเทศ
 
จากการสำรวจเครือข่ายนำไปสู่การพูดถึง “ความร่วมมือจากภาคประชาสังคม” เนื่องจากพบว่า ข้อมูลรายงานต่าง ๆ ใน Justice Scoreboard ประจำปี 2024 เป็นข้อมูลที่ใช้ในการเปรียบเทียบประสิทธิภาพและคุณภาพของระบบยุติธรรม โดยข้อมูลนี้จะชี้ให้เห็นถึงประเด็นของความโปร่งใสและความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการยกระดับมาตรฐานการป้องกันการทุจริตและสร้างความเชื่อมั่นในระบบยุติธรรม อย่างไรก็ตาม ข้อมูลดังกล่าวมักได้รับการสนับสนุนจากภาคประชาสังคมที่ทำงานด้านการต่อต้านคอร์รัปชัน โดยเฉพาะองค์กรที่ทำงานเกี่ยวกับการยื่นบัญชีทรัพย์สินของรัฐสภายุโรป จึงเล็งเห็นว่าในการทำงานควรสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างหน่วยงานรัฐบาลกับภาคประชาสังคม องค์กรระหว่างประเทศ และนักวิชาการ
 
โดยได้มีการเสนอแนะเพิ่มเติมถึงแนวทางพัฒนาการยื่นบัญชีทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่รัฐ ด้วย “การใช้เทคโนโลยีเพื่อการต่อต้านคอร์รัปชัน” โดยเฉพาะการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) เพื่อปรับปรุงการส่งต่อและการตรวจสอบข้อมูลการยื่นบัญชีทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่รัฐ รวมถึงการวิเคราะห์แนวโน้มด้วยเครื่องมือ Machine Learning ซึ่งนักวิชาการเล็งเห็นว่าจะช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เกี่ยวกับ การเข้าถึงข้อมูลได้ยาก อีกทั้งยังเป็นการช่วยประมวลและคาดการณ์ผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว
 
หลังจากการพูดคุยแลกเปลี่ยน คณะกรรมาธิการยุโรปได้มีการแนะแนวทางในการพัฒนาการยื่นบัญชีทรัพย์สินให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยอาจเริ่มต้นจากการหาทุนจากแหล่งต่าง ๆ เช่น Internal Security Fund และการสนับสนุนด้านเครื่องมือเทคโนโลยี ซึ่งจะช่วยให้หน่วยงานต่าง ๆ สามารถพัฒนาและนำเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับระบบการยื่นบัญชีสินทรัพย์หรือประเด็นอื่น ๆ ในการต่อต้านการทุจริตไปใช้งานต่อยอดได้
 
การประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการยื่นบัญชีทรัพย์สินโดยคณะกรรมาธิการยุโรปแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการยื่นบัญชีทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่รัฐที่เข้มแข็ง ซึ่งเป็นแนวทางที่ประเทศไทยสามารถนำมาเป็นแบบอย่างในการต่อต้านคอร์รัปชันได้ ในปัจจุบันประเทศไทยก็มีการใช้เทคโนโลยีเพื่อตรวจสอบหรือแสดงข้อมูลบัญชีทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่รัฐอย่าง “ACT Ai” (https://poldata.actai.co/) หนึ่งในเครื่องมือต้านโกงจากความร่วมมือของภาคประชาสังคมในไทยอีกด้วย
 
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันประเด็นการยื่นบัญชีทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่รัฐไทย ยังคงเป็นประเด็นที่ถูกตั้งคำถามถึงความโปร่งใสและความน่าเชื่อถือ ดังนั้นการทบทวนสถานการณ์ของปัญหาดังกล่าวในไทย และนำตัวอย่างการทำงานต่อต้านคอร์รัปชันจากประเทศอื่น ๆ มาปรับใช้อาจเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการพัฒนาการต่อต้านคอร์รัปชันในประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
 

สำหรับท่านใดที่สนใจ สามารถอ่านรายงานฉบับเต็ม ได้ที่ 👉🏻 https://bit.ly/3X9KX9w

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2567
ผู้แต่ง
  • ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค
หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
โลโก้คณะเศรษฐศาสตร์ (ภาษาไทย)

หัวข้อ
Related Content

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ตัดจบปัญหาคอร์รัปชัน ผ่านการสร้าง Big Data

Big Data มีความสำคัญอย่างมากในการต่อต้านคอร์รัปชัน เพราะสามารถนำข้อมูลการใช้จ่ายของรัฐที่ถูกจัดเก็บไว้มาวิเคราะห์หาความเสี่ยงในการคอร์รัปชันได้ หากใช้งานข้อมูลให้เป็น จะช่วยอุดช่องโหว่ความเสี่ยงคอร์รัปชันได้

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | 3 มุมมองจากผู้รู้ สู่การแก้โกงจากการใช้ดุลยพินิจของรัฐ

เมื่อดุลยพินิจมากเกินไป แก้อย่างไรถึงจะเห็นผล ? ในการกำหนดนโยบายและการดำเนินกิจการต่าง ๆ ของรัฐต่างก็ต้องมีคนที่เข้ามาทำหน้าที่บริหารจัดการ โดยสามารถใช้ดุลยพินิจของตนเพื่อตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ได้ แต่หลายครั้งการวินิจฉัยกลับไม่เป็นไปอย่างเที่ยงธรรม หรือเป็นการวินิจฉัยที่เบี่ยงเบนไปตามความพึงพอใจ อคติ หรือเพื่อผลประโยชน์บางอย่าง จนเกิดเป็นการ “ทุจริต”

KRAC Insight | เเค่เปิดเผยข้อมูลอาจไม่พอ (?) เพราะต้องมีการวางให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน !

พัฒนามาตรฐานของชุดข้อมูลอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ ? วันนี้เรามีคำตอบมาให้จากงาน “The Southeast Asian Anti-Corruption Network (SEA-ACN) Roundtable Discussion”

You might also like...

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : The Auditors : คอร์รัปชันไทย ใครจะออดิต

ซีรีส์ “The Auditors: ออดิตปิดคอร์รัปชัน” นับเป็นอีกหนึ่งซีรีส์ที่เป็นทางถนัดของเกาหลีในการหยิบเอาอาชีพต่างๆ มาวางเส้นเรื่องให้น่าสนใจผ่านแนวที่หลากหลายให้คนดูได้เรียนรู้เรื่องราวของอาชีพเหล่านั้นได้อย่างไม่น่าเบื่อ โดยสำหรับเรื่องนี้เป็นคิวของอาชีพ“นักตรวจสอบภายใน” …

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : มีปัญหา ปรึกษา AI?

ประเด็นสุขภาพจิตไม่ใช่เรื่องใหม่ที่ไม่มีใครเคยรู้มาก่อน หลายๆ คนรู้ ส่วนอีกหลายคนรู้จักเป็นอย่างดีในฐานะคนที่ต้องตื่นมาเผชิญกับมันทุกเช้า ทานยาเพื่อรักษาอาการทุกคืน พบจิตแพทย์ทุกเดือน และยังมีอีกหลายคนที่ไม่รู้ตัวว่าตัวเองกำลังถูกกัดกินอย่างช้าๆ …

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : พาราลิมปิก 2024 : เกิดอะไรขึ้นบ้างกับนักกีฬาผู้พิการที่เกษียณอายุ

วลานี้คงไม่มีใครไม่พูดถึงการแข่งขันกีฬาระดับโลกอย่าง พาราลิมปิกฤดูร้อน 2024 ที่กำลังจัดขึ้นในขณะนี้ ต่อให้คุณจะไม่ใช่คอกีฬาแต่อย่างน้อยในหนึ่งครั้งที่เข้าโซเชียลมีเดียไม่ว่าจะแพลตฟอร์มใด คุณก็จะได้เห็นข่าวนักกีฬาพาราลิมปิกไทยที่ไปสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศอย่างแน่นอน…