KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I Basel Peace Forum 2024 ชี้การทุจริตที่ส่งผลต่อความมั่นคงของชาติ

สถาบัน Basel Institute on Governance แห่งสมาพันธรัฐสวิส จัดงาน “Basel Peace Forum 2024” ร่วมกับองค์กร Swisspeace เพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการทุจริตที่ส่งผลต่อความมั่นคง สันติภาพ และภูมิรัฐศาสตร์ โดยมีเป้าหมายเพื่อเปิดพื้นที่ให้ผู้เชี่ยวชาญมาร่วมแลกเปลี่ยนความรู้และหาแนวทางปฏิบัติในการส่งเสริมการปกครองที่ดีและการต่อต้านการทุจริต สร้างสังคมที่ยุติธรรม สันติและยั่งยืนมากยิ่งขึ้น

 
โดย “Basel Peace Forum 2024” ให้ความสำคัญกับประเด็นเร่งด่วนด้านความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับการต่อต้านการทุจริต ในมิติของการสร้างสันติภาพ การป้องกันประเทศ และความมั่นคง เนื่องจากการทุจริตมีความเกี่ยวข้องกับอำนาจและอิทธิพล ซึ่งมักเกิดขึ้นในลักษณะของการรักษาอำนาจของรัฐในพื้นที่ โดยใช้การคอร์รัปชันเป็นยุทธศาสตร์ เช่น การทุจริตเพื่อให้ได้มาซึ่งตำแหน่งอำนาจและอิทธิพลทางภูมิรัฐศาสตร์
 
“การสร้างเครือข่ายข้ามพรมแดน” เป็นเครื่องมือสำคัญในการขยายอำนาจของรัฐซึ่งส่งผลต่อความมั่นคง เนื่องจากการทุจริตมีผลโดยตรงต่อวิธีการใช้อำนาจของรัฐ โดยการขยายอำนาจดังกล่าวมักมีการเอื้อประโยชน์ทางการเงินและการเมืองซึ่งกันและกัน เพราะเครือข่ายเหล่านี้สามารถทำงานและนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการก่อความไม่สงบ คุกคามและทำร้ายรัฐหรือองค์กรอื่น ๆ ได้อีกด้วย
 
ภายในงานจึงเน้นย้ำถึงการให้ความสำคัญกับการทุจริตในฐานะปัญหาความมั่นคง และประเทศต่าง ๆ ควรให้ความสนใจในความสัมพันธ์ของการทุจริตกับสันติภาพ การป้องกันประเทศ และความมั่นคงเพิ่มมากขึ้น เช่น ในสหรัฐอเมริกาได้กำหนดให้การทุจริตเป็น “ปัญหาหลักของความมั่นคงแห่งชาติ” โดยการยกระดับการทุจริตให้เป็นปัญหาระดับความมั่นคง ทำให้รัฐบาลพิจารณาการทุจริตผ่านการมองอย่างครอบคลุมทั้งระบบกลไก ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้เกิดการต่อต้านการทุจริตอย่างเป็นรูปธรรม และทำให้การต่อต้านการทุจริตมีการดำเนินงานทั้งระดับภายในประเทศและในระดับนโยบายต่างประเทศ
 
ทั้งนี้ การกำหนดให้การทุจริตเป็นปัญหาความมั่นคงระดับชาติอาจเป็นการยกระดับความสำคัญของปัญหาการทุจริตให้เทียบเท่ากับปัญหาความมั่นคงอื่น ๆ ได้ เช่น ความมั่นคงด้านนิเวศวิทยา ความมั่นคงด้านเศรษฐกิจ และความมั่นคงด้านอาหาร เป็นต้น ซึ่งส่งผลให้การต่อต้านการทุจริตกลายเป็นเรื่องที่สำคัญผ่านการดำเนินงานด้วยนโยบายต่างประเทศ ทั้งนี้ควรมีการส่งเสริมธรรมาภิบาลผ่านการนำกลไกการกำกับดูแลและความรับผิดชอบมาปรับใช้ในประเด็นด้านการป้องกันประเทศและการซื้อขายยุทโธปกรณ์ เพราะทั้งสองประเด็นมีการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นความลับ โดยอาศัยมาตรการที่หลากหลาย เช่น การส่งเสริมเสรีภาพในการเข้าถึงข้อมูล ความโปร่งใสในการเป็นเจ้าของผลประโยชน์ และการเพิ่มบทบาทในการตรวจสอบให้มากขึ้น
 
นอกจากนี้ในที่ประชุมยังมีการกล่าวถึงความจำเป็นในการคำนึงถึงความเสี่ยงจากการทุจริตในการวางแผนการป้องกันประเทศเชิงยุทธศาสตร์ ผ่านการมองการต่อต้านการทุจริตอย่างครอบคลุมโดยเชื่อมโยงถึงประเด็นสันติภาพและความมั่นคง เพราะการทุจริตเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์สำหรับชนชั้นนำที่ต้องการอำนาจ เงิน และอิทธิพลในประเทศและต่างประเทศ ดังนั้น เพื่อเสริมสร้างความมั่นคง จำเป็นต้องมีการปฏิรูปความมั่นคงและการใช้งานเครื่องมือต่อต้านการทุจริตต่าง ๆ เห็นได้จากการปฏิรูปความมั่นคงและการต่อต้านทุจริตของยูเครน ที่มุ่งเน้นในการปรับตัวตามสถานการณ์ทำให้ยูเครนสามารถรอดจากการรุกรานของรัสเซียได้ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะประชาชนที่่ไม่ทนต่อการทุจริตและมีส่วนร่วมในการปฏิรูปความมั่นคงและการต่อต้านทุจริตที่ทำให้การต่อต้านทุจริตประสบความสำเร็จ
 
การทุจริตและการปกครองในทางมิชอบจะนำไปสู่การทำลายสันติภาพและความมั่นคงจากระดับภูมิภาคสู่ระดับประเทศ เนื่องจากการปล่อยให้เกิดการทุจริตในระดับภูมิภาคจะเป็นการกระตุ้นให้เกิดกลุ่มอาชญากรและการก่อการร้ายต่าง ๆ อีกทั้งยังเพิ่มความเหลื่อมล้ำ พร้อมทั้งทำลายความไว้วางใจในหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งสามารถที่จะเริ่มต้นในการแก้ไขปัญหานี้ได้ โดยการสนับสนุนความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนทางความรู้ระหว่างหน่วยงานต่อต้านการทุจริต การสร้างสันติภาพ
 
ปัจจุบัน ประเทศไทยก็มีความพยายามในการต่อต้านการทุจริตที่มีการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ ทั้งการตรวจสอบการทุจริตทั้งในหน่วยงานภาครัฐและระดับรัฐบาล โดยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) ตลอดจนการแลกเปลี่ยนความรู้และหาแนวทางในการปฏิบัติจากความร่วมมือกับองค์กรนานาชาติ เช่น องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) และสหประชาชาติในการพัฒนากลไกและมาตรการเพื่อเพิ่มความโปร่งใส เช่น การส่งเสริมเสรีภาพในการเข้าถึงข้อมูลและการปกป้องผู้แจ้งเบาะแส ซึ่งเป็นมาตรการที่สอดคล้องกับเวที Basel Peace Forum 2024 อย่างไรก็ตามในปัจจุบันประเทศไทยก็ยังคงพบปัญหาการทุจริตเชิงกลยุทธ์ที่มีผลต่อการใช้อำนาจและอิทธิพลทางการเมือง โดยเฉพาะในการจัดซื้อจัดจ้างยุทโธปกรณ์และการบริหารงบประมาณทางการทหาร ซึ่งเป็นประเด็นที่มีความลับสูงและมีความเสี่ยงต่อการคอร์รัปชัน
 
ดังนั้น การนำเครื่องมือต่อต้านคอร์รัปชันมาปรับใช้ เช่น การใช้ ACT Ai เพื่อให้สามารถเข้าถึงข้อมูลและตรวจสอบการใช้งบประมาณของการจัดซื้อจัดจ้างยุทโธปกรณ์ได้ง่ายมากขึ้น ก็อาจช่วยลดความเสี่ยงของการทุจริตเชิงยุทธศาสตร์์ โดยการแก้ปัญหาคอร์รัปชันในไทยด้วยการเพิ่มความโปร่งใสและการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ
ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2567
ผู้แต่ง
  • ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค
หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
โลโก้คณะเศรษฐศาสตร์ (ภาษาไทย)

หัวข้อ
Related Content

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ตัดจบปัญหาคอร์รัปชัน ผ่านการสร้าง Big Data

Big Data มีความสำคัญอย่างมากในการต่อต้านคอร์รัปชัน เพราะสามารถนำข้อมูลการใช้จ่ายของรัฐที่ถูกจัดเก็บไว้มาวิเคราะห์หาความเสี่ยงในการคอร์รัปชันได้ หากใช้งานข้อมูลให้เป็น จะช่วยอุดช่องโหว่ความเสี่ยงคอร์รัปชันได้

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | 3 มุมมองจากผู้รู้ สู่การแก้โกงจากการใช้ดุลยพินิจของรัฐ

เมื่อดุลยพินิจมากเกินไป แก้อย่างไรถึงจะเห็นผล ? ในการกำหนดนโยบายและการดำเนินกิจการต่าง ๆ ของรัฐต่างก็ต้องมีคนที่เข้ามาทำหน้าที่บริหารจัดการ โดยสามารถใช้ดุลยพินิจของตนเพื่อตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ได้ แต่หลายครั้งการวินิจฉัยกลับไม่เป็นไปอย่างเที่ยงธรรม หรือเป็นการวินิจฉัยที่เบี่ยงเบนไปตามความพึงพอใจ อคติ หรือเพื่อผลประโยชน์บางอย่าง จนเกิดเป็นการ “ทุจริต”

KRAC The Experience | เรียนรู้เรื่องการต่อต้านคอร์รัปชันผ่านโครงการ Eisenhower Fellowships

“KRAC The Experience” คอนเทนต์ใหม่แกะกล่องของ KRAC ! ที่จะพาทุกคนมาเรียนรู้เรื่องการต่อต้านคอร์รัปชันผ่านการเดินทางไปที่สหรัฐอเมริกา ในโครงการ Eisenhower Fellowships 🌎✈️

You might also like...

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ท้องถิ่นอาจช้ำ เมื่อความเหลื่อมล้ำถูกซ้ำด้วยการจัดสรรงบประมาณที่ไม่มีประสิทธิภาพ

รู้หรือไม่ ? การจัดสรรเงินอุดหนุนจากรัฐบาลกลางที่ไม่เป็นธรรม ไม่โปร่งใส และขาดเป้าหมายชัดเจน อาจกลายเป็นการเพิ่มปัญหาความเหลื่อมล้ำในท้องถิ่น แทนที่จะช่วยลดช่องว่างทางเศรษฐกิจ แล้วเราจะแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร ?

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | โควิด-19 ส่งผลอย่างไรต่อสถานการณ์คอร์รัปชันและธรรมาภิบาล ?

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ไม่ได้ส่งผลกระทบแค่สุขภาพและเศรษฐกิจ แต่ยังทำให้การต่อต้านคอร์รัปชันและธรรมาภิบาลเผชิญความท้าทายใหม่ ๆ เช่น การใช้อำนาจพิเศษของรัฐ ความไม่เท่าเทียมที่เพิ่มขึ้น และการจัดซื้อจัดจ้างแบบฉุกเฉินที่เสี่ยงต่อการทุจริต แล้วเราจะฟื้นฟูผลกระทบเหล่านี้ได้อย่างไร ?

KRAC The Experience | EP 8: Networks is in every way, Offline and Online Against Corruption

“การทำงานเป็นเครือข่ายจะช่วยเสริมสร้างการทำงานต่อต้านคอร์รัปชันอย่างไร ?” เรามีคำตอบมาให้จากแนวทางการขับเคลื่อนการต่อต้านคอร์รัปชันที่เกิดขึ้นในระดับโลก🌏 ร่วมไขข้อสงสัยได้ที่ KRAC The Experience ตอน Networks is in every way, Offline and Online Against Corruption