KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I “STAIR” โครงการสนับสนุนการป้องกันนักข่าวสายสืบสวนจากการเปิดโปงคดีทุจริต

นักข่าวสายสืบสวนสำคัญกับการแก้ปัญหาคอร์รัปชันอย่างไร ?

“นักข่าวสายสืบสวน” อาชีพที่นอกจากจะต้องใช้แรงกายในการสืบหาข้อมูลอันซับซ้อนเป็นเวลาหลายเดือน ยังต้องใช้แรงใจในการเผชิญความเสี่ยงหลังการเปิดโปงการทุจริตจากอำนาจของเหล่าผู้มีอิทธิพล

ซึ่งองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศสหรัฐฯ หรือ United States Agency for International (USAID) Development ก็เล็งเห็นถึงปัญหานี้ จึงได้เปิดตัวโครงการ STAIR : Strengthening Transparency and Accountability through Investigative Reporting ที่มีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนและปกป้ององค์กรนักข่าวสายสืบสวนในทวีปยุโรปและยูเรเซีย

โดยโครงการ STAIR จะใช้ระยะเวลาทั้งหมด 5 ปี กับเงิน 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อทำหน้าที่ร่วมมือ สนับสนุนช่องทางการสืบสวน สนับสนุนด้านการเงิน การวางนโยบายเชิงรุก และสร้างความปลอดภัย ซึ่งจะดำเนินการโดยเครือข่ายผู้สื่อข่าวอาชญากรรมและการทุจริต หรือ Organized Crime and Corruption Reporting Project (OCCRP)

โดยแนวคิดของ USAID มองว่านักข่าวสายสืบสวนเป็นส่วนสำคัญในการลดปัญหาคอร์รัปชันที่บ่อนทำลายระบบเศรษฐกิจและประชาธิปไตยของยุโรปและยูเรเซียตลอดสิบปีที่ผ่านมา และการสร้างความตระหนักรู้ในข้อมูลการคอร์รัปชันของนักข่าวสืบสวน ช่วยให้ประชาชนหันมาสนใจเรื่องของความรับผิดชอบ และความโปร่งใสจากกลุ่มชนชั้นนำหรือผู้มีอำนาจมากขึ้น

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2566
ผู้แต่ง
  • ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค
หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
โลโก้คณะเศรษฐศาสตร์ (ภาษาไทย)

หัวข้อ
Related Content

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย I มันจบแล้วครับ…(ถ้า) นาย (โกง) : รู้จักกฎหมายคุ้มครองผู้แจ้งเบาะทุจริต

การแจ้งเบาะแส เป็นหนึ่งในกลไกสำคัญที่สามารถลดการคอร์รัปชันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะคงไม่มีใครให้มีข้อมูลเชิงลึกได้เท่า “คนใน” องค์กรเอง แต่อุปสรรคสำคัญที่ทำให้คนในองค์กรไม่กล้าให้แจ้งเบาะแสทุจริต คือ “ความกลัว”

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | รู้จัก 3 แนวทาง Support ผู้แจ้งเบาะแสทุจริต

ยิ่งมีคนแจ้งเบาะแสมากเท่าไร ก็จะยิ่งมีการตรวจสอบและช่วยนำคนผิดมาลงโทษมากเท่านั้น แต่อุปสรรคสำคัญที่ทำให้หลายคนที่มีข้อมูลไม่อยากแจ้งเบาะแส เพราะกลัวว่าถ้าแจ้งไปแล้วก็อาจจะโดนกลั่นแกล้ง

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | รางวัลแด่คนช่าง “แจ้ง”

กุญแจสำคัญที่จะช่วยจัดการคอร์รัปชันได้ คือ “การมีส่วนร่วมในการแจ้งเบาะแส” เพราะถ้าทั้งเจ้าหน้าที่รัฐและประชาชนมีส่วนร่วมในการช่วยตรวจสอบคอร์รัปชันภายในหน่วยงานรัฐ ช่วยกันแจ้งเบาะแส จะทำให้เจ้าหน้าที่รัฐรู้สึกกดดัน กลัวจะถูกจับได้และไม่กล้าคอร์รัปชัน ภาครัฐจึงมีความพยายามอย่างมากให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมกับการแก้ปัญหาคอร์รัปชัน

You might also like...

KRAC Extract | คอร์รัปชันหลังเเผ่นดินไหว: โอกาสแห่งการฟื้นตัวหรือประตูสู่การทุจริต

คอร์รัปชันหลังแผ่นดินไหว…เมื่อเงินฟื้นฟูหลั่งไหล แต่ความโปร่งใสกลับหายไป! กรณีศึกษาจากตุรกี ที่เผยให้เห็นว่าภัยพิบัติอาจเปิดช่องให้การทุจริตแทรกซึมได้ทุกขั้นตอนของกระบวนการจัดการหลังภัยพิบัติ บทเรียนนี้ไม่ใช่แค่ของต่างประเทศ แต่คือสัญญาณเตือนที่ไทยก็ต้องระวังเช่นกัน!

KRAC Hot News I การท่องเที่ยวไทยสูญเสียอะไรให้กับการคอร์รัปชัน?

ในช่วงสงกรานต์ที่หลายคนออกเดินทางท่องเที่ยวหรือกลับบ้าน เราอยากชวนคุณมามอง “การท่องเที่ยวไทย” ในมุมที่อาจไม่ค่อยถูกพูดถึง นั่นคือ การคอร์รัปชัน ด้วยข้อมูลวิจัยและกรณีศึกษาที่ชี้ให้เห็นว่าปัญหาการคอร์รัปชันมีผลกระทบต่อการท่องเที่ยวไทยมากกว่าที่คิด

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | การใช้ e-bidding เพื่อแก้ปัญหาคอร์รัปชันในโครงการจัดซื้อจัดจ้าง มีประสิทธิภาพมากแค่ไหน ?

ชวนสำรวจ e-bidding : เทคโนโลยีการจัดซื้อจ้างออนไลน์ลดคอร์รัปชัน โดยจะพาไปดูผลการใช้งานระบบจริงจากทั้ง 3 กรมว่าเป็นอย่างไร ? แล้วเราจะทำอย่างไรให้ระบบ e-bidding มีประสิทธิภาพมากขึ้น