รู้จัก PEPs เครื่องมือช่วยประชาชนสืบค้นข้อมูลการโกง เชื่อมโยงเครือข่ายคอร์รัปชัน จากทีม Open Data ของเครือข่าย “SEA-ACN”
คอร์รัปชัน หนึ่งในปัญหาที่สร้างความเสียหายให้กับทั้งประเทศในไทยและหลายประเทศในอาเซียน ตัวอย่างเช่น การโกงงบประมาณจัดซื้อจัดจ้าง เจ้าหน้าที่รับสินบน หรือระบบอุปถัมภ์ทางการเมือง ซึ่งหลายคดีไม่ใช่เรื่องที่คน ๆ เดียวสามารถทำได้ แต่มาจากเครือข่ายคอร์รัปชันที่ซับซ้อนและเชื่อมโยงกันระหว่างหลายกลุ่มหลายบุคคล ไม่ว่าจะเป็นนักการเมือง ข้าราชการ และญาติพี่น้อง คนใกล้ชิด
จากผลการศึกษาตลอด 6 เดือนของทีม Open Data จากเครือข่ายความร่วมมือระหว่างองค์กรภาคประชาสังคมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อต่อต้านคอร์รัปชัน (SEA-ACN) ได้ทำงานเพื่อสร้างนิยามร่วมของ Politically Exposed Persons (PEPs) ระหว่างไทยและมาเลเซีย เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการติดตามและเปิดโปงเครือข่ายคอร์รัปชันในระดับภูมิภาค
เพื่อตามหาผู้สมรู้ร่วมคิดในเครือข่ายคอร์รัปชัน เราจึงต้องมีข้อมูลเปิดเพื่อเชื่อมโยงและนำไปสู่การนำตัวคนผิดมาลงโทษ วันนี้ KRAC Corruption ชวนติดตามผลการศึกษาตลอด 6 เดือนของทีม Open Data จากเครือข่ายความร่วมมือระหว่างองค์กรภาคประชาสังคมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อต่อต้านคอร์รัปชัน (SEA-ACN) ที่ได้ทำงานเพื่อสร้างนิยามร่วมของ “Politically Exposed Persons (PEPs)” แนวคิดการระบุและติดตามเครือข่ายผู้ทุจริตที่สืบค้นข้อมูลไปถึงเครือญาติ หุ้นส่วนทางธุรกิจ หรือคนใกล้ชิดอย่างคู่สมรส ซึ่งมักเข้ามามีส่วนร่วมกับการโกงให้ขยายวงกว้างขึ้น
นอกจากนี้เครือข่ายการคอร์รัปชันอาจเชื่อมโยงไปถึงการทุจริตข้ามชาติ ซึ่งต้องการความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อสร้างฐานข้อมูล ด้วยแนวคิด PEPs ติดตามการคอร์รัปชันอย่างครอบคลุม แต่การใช้ PEPs นั้นทำอย่างไร ? แล้ว Data มีส่วนสำคัญอย่างไรในการแก้ปัญหาคอร์รัปชันบ้าง ? ในโพสต์ต่อไปเราจะพาคุณมารู้จักกับ
- การเจาะลึกบทบาทของ Open Data ในการเปิดโปงเครือข่ายโกง พร้อมนิยามและการเปรียบเทียบ PEPs ระหว่างไทยและมาเลเซีย กับ “คุณณัฐภัทร เนียวกุล” หัวหน้าฝ่ายข้อมูลเปิดเพื่อความโปร่งใส HAND Social Enterprise
- ชวนคุณทำความเข้าใจความสำคัญของ Data Standards ที่ช่วยเพิ่มศักยภาพในการเชื่อมโยงข้อมูล PEPs และการตรวจสอบที่แม่นยำ กับ “คุณวิถี ภูษิตาศัย” Co-founder and Technical Lead, WeVis
- เรียนรู้จากกรณีศึกษาความร่วมมือข้ามพรมแดนในมาเลเซีย และการใช้เครื่องมือทันสมัยเพื่อตรวจสอบเครือข่าย PEPs กับ “คุณ Khairil Yusof” Coordinator, Co-founder – Sinar Project
เตรียมตัวพบกับเรื่องราวที่ช่วยเปิดเผยมิติใหม่ของการตรวจสอบคอร์รัปชันและการสร้างความโปร่งใสในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียนในโพสต์ต่อไปของเราได้เลย !!
Corruption is one of the major issues causing significant harm to Thailand and many ASEAN countries. Examples include embezzlement in procurement projects, bribery among officials, and political patronage systems.
Many corruption cases are not the work of a single individual but stem from complex networks involving various groups and individuals, including politicians, government officials, relatives, and close associates, who often play a role in expanding the scale of corruption.
Over a six-month study, the Open Data team from the Southeast Asia Anti-Corruption Network (SEA-ACN)—a coalition of civil society organizations in the region—worked to establish a shared definition of Politically Exposed Persons (PEPs) between Thailand and Malaysia. This definition aims to serve as a critical tool for identifying and exposing corruption networks at the regional level.
To uncover the accomplices in these corruption networks, open data becomes essential for connecting the dots and bringing the perpetrators to justice. Today, KRAC Corruption invites you to explore the findings of the SEA-ACN Open Data team’s six-month study. This research introduces a framework for identifying PEPs and tracks corruption networks involving not only the individuals themselves but also their relatives, business partners, and close associates, such as spouses, who often play a role in expanding the scale of corruption.
Thus, KRAC Corruption invites you to explore our upcoming articles, which delve into the practical applications of PEPs definition and examine the role of data in addressing corruption. Below are the details of the three articles we will publish soon:
An exploration of the role of Open Data in exposing corruption networks, along with a comparative analysis of PEPs definitions between Thailand and Malaysia, presented by Natthapat Niaokul, Head of Open Data for Transparency at HAND Social Enterprise.
An introduction to the importance of Data Standards in enhancing the connectivity and accuracy of PEPs-related data, with insights from Wittee Phusitasai, Co-founder and Technical Lead of WeVis.
Lessons from cross-border collaboration in Malaysia and the use of advanced tools to investigate PEPs networks, featuring Khairil Yusof, Coordinator and Co-founder of the Sinar Project.
Prepare to uncover new dimensions in combating corruption and fostering transparency in Thailand and the ASEAN region in our upcoming posts !!
- ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค
หัวข้อ
KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ตัดจบปัญหาคอร์รัปชัน ผ่านการสร้าง Big Data
Big Data มีความสำคัญอย่างมากในการต่อต้านคอร์รัปชัน เพราะสามารถนำข้อมูลการใช้จ่ายของรัฐที่ถูกจัดเก็บไว้มาวิเคราะห์หาความเสี่ยงในการคอร์รัปชันได้ หากใช้งานข้อมูลให้เป็น จะช่วยอุดช่องโหว่ความเสี่ยงคอร์รัปชันได้
KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | 3 มุมมองจากผู้รู้ สู่การแก้โกงจากการใช้ดุลยพินิจของรัฐ
เมื่อดุลยพินิจมากเกินไป แก้อย่างไรถึงจะเห็นผล ? ในการกำหนดนโยบายและการดำเนินกิจการต่าง ๆ ของรัฐต่างก็ต้องมีคนที่เข้ามาทำหน้าที่บริหารจัดการ โดยสามารถใช้ดุลยพินิจของตนเพื่อตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ได้ แต่หลายครั้งการวินิจฉัยกลับไม่เป็นไปอย่างเที่ยงธรรม หรือเป็นการวินิจฉัยที่เบี่ยงเบนไปตามความพึงพอใจ อคติ หรือเพื่อผลประโยชน์บางอย่าง จนเกิดเป็นการ “ทุจริต”
KRAC The Experience | เรียนรู้เรื่องการต่อต้านคอร์รัปชันผ่านโครงการ Eisenhower Fellowships
“KRAC The Experience” คอนเทนต์ใหม่แกะกล่องของ KRAC ! ที่จะพาทุกคนมาเรียนรู้เรื่องการต่อต้านคอร์รัปชันผ่านการเดินทางไปที่สหรัฐอเมริกา ในโครงการ Eisenhower Fellowships 🌎✈️