KRAC Insight | “Whistleblower Summit” อาจทำให้เราไม่ต้องกลัวการเเจ้งเบาะเเสการคอร์รัปชันอีกต่อไป !

การปกป้องผู้แจ้งเบาะแสการคอร์รัปชันอย่างมีประสิทธิภาพ…ต้องเริ่มต้นอย่างไร ? วันนี้เรามีคำตอบมาให้จากงาน “the Southeast Asian Anti-Corruption Network (SEA-ACN) Roundtable Discussion”

งานนี้จัดขึ้นโดยศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (KRAC) สนับสนุนโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับสำนักงานความร่วมมือด้านยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC – United Nations Office on Drugs and Crime) องค์กร Chandler Institute of Good Governance และสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย

การประชุมระดมสมองครั้งนี้ เป็นพื้นที่สำหรับเครือข่าย SEA-ACN ในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ มุมมอง ประสบการณ์ และวางแผนการดำเนินงานต่อต้านทุจริตคอร์รัปชันเพื่อทำงานร่วมกันในการสร้างความโปร่งใสและความรับผิดชอบในภูมิภาค ซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญในการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการต่อต้านการทุจริตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

จากการประชุมระดมสมอง (Roundtable Discussion) ในหัวข้อ “การคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสคอร์รัปชัน (Whistleblower Protection)” ที่พูดถึงการส่งเสริมและการพัฒนามาตรการหรือกฎหมายในการปกป้องผู้แจ้งเบาะแสการคอร์รัปชันในประเทศสมาชิก ซึ่งมีผู้เข้าร่วมจากหน่วยงานต่าง ๆ ถึง 6 หน่วยงาน ได้แก่
 
(1) Chandler Institute of Governance
(2) Philippine Center for Investigative Journalism (PCIJ)
(3) Havard University
(4) International Foundation for Electoral System (IFES)
(5) People’s Empowerment Foundation
(6) Association for the Implementation of the UN Convention against Corruption (UNCAC)
จากการหารือกลุ่มผู้เข้าร่วมได้นำเสนอเรื่อง “การจัดการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หัวข้อ การคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสคอร์รัปชัน (Southeast Asia Whistleblower Summit)” ที่จะเชิญผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในภาคส่วนต่าง ๆ มาเข้าร่วมการประชุม เช่น ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคมและสื่อ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น แนวปฏิบัติในการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และสถานการณ์เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสของแต่ละประเทศ
 
การประชุมนี้ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วนเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและดำเนินงานร่วมกัน ทั้งนี้รัฐสภาของประเทศในภูมิภาคที่ต้องให้ความรู้เรื่องกระบวนการออกกฎหมายคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสแก่ผู้เข้าร่วมการประชุม องค์กรนอกภาครัฐระหว่างประเทศ (International non-governmental organization) ที่จะช่วยถ่ายทอดองค์ความรู้และแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับกรณีศึกษา แนวปฏิบัติที่ประสบความสำเร็จ หรือความท้าทายเกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชันรูปแบบต่าง ๆ และความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสในระดับสากล ซึ่งผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการต่าง ๆ รวมทั้งคนรุ่นใหม่ที่สามารถเข้าร่วมประชุมนี้ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นได้เช่นกัน
“การประชุมสุดยอดฯ” จึงเปรียบเสมือนจุดเริ่มต้นในการวางแนวทางและมาตรฐานการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากในภูมิภาคนี้ยังไม่มีกฎหมายการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสที่เข้มแข็งมากเท่าที่ควร ซึ่งเครือข่าย SEA-ACN จะเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนการจัดการประชุมสุดยอดฯ พร้อมทั้งสามารถเรียนรู้กลไกการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแส จากกรณีตัวอย่างของประเทศนอกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้อีกด้วย เพราะการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสควรครอบคลุมคนทุกกลุ่ม รวมถึงกลุ่มคนชายขอบด้วย
 
กลุ่มผู้เข้าร่วมได้เสริมต่อว่า เครือข่าย SEA-ACN ควรมีช่องทางในการติดต่อเพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารของกลุ่มสมาชิก รวมทั้งการมีกระดานข่าว (Bulletin) ในการตีพิมพ์เผยแพร่ข้อมูลสั้น ๆ เพื่อนำเสนอความก้าวหน้าในการดำเนินงาน ขยายการทำงานและยกระดับมาตรฐานการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่อไป
 
นี่เป็นเพียง 1 ใน 4 หัวข้อจากการประชุมระดมสมองในครั้งนี้ ที่ศูนย์ KRAC จะนำประเด็นต่อไปจากวงสนทนามาให้คุณร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในสัปดาห์ถัดไป ! ติดตาม Facebook KRAC Corruption ไว้ได้เลย !
สรุปการประชุม Roundtable Discussion ของเครือข่าย "SEA-ACN"
How to Effectively Protect Whistleblowers? We’ve got the answers from “the Southeast Asian Anti-Corruption Network (SEA-ACN) Roundtable Discussion”
 
This event was organized by Knowledge Hub for Regional Anti-corruption and Good Governance Collaboration (KRAC) of the Faculty of Economics, Chulalongkorn University, supported by the National Research Council of Thailand (NRCT) in collaboration with the United Nations Office on Drugs and Crime (UNODC), Chandler Institute of Good Governance, and the US Embassy in Thailand.
 
The roundtable discussion on “Whistleblower Protection” focused on promoting and developing measures or laws to protect whistleblowers in member countries. The discussion included participants from six organizations:
 
(1) Chandler Institute of Governance
(2) Philippine Center for Investigative Journalism (PCIJ)
(3) Harvard University
(4) International Foundation for Electoral System (IFES)
(5) People’s Empowerment Foundation
(6) Association for the Implementation of the UN Convention against Corruption (UNCAC)
 
Participants discussed the idea of organizing a “Southeast Asia Whistleblower Summit,” inviting stakeholders from various sectors, including government, private sector, civil society, and media, to exchange information and knowledge related to whistleblower protection practices in Southeast Asia and the current state of whistleblower protection in each country.
 
The meeting emphasized the need for collaboration among various sectors to share information and work together. It highlighted the importance of educating regional parliaments on the legislative process for whistleblower protection laws. International non-governmental organizations (INGOs) were suggested to share knowledge and case studies, best practices, or challenges related to different forms of corruption and international standards for whistleblower protection. Experts, academics, and young people were encouraged to participate in this summit to exchange knowledge and ideas.
 
The “Summit” was seen as a starting point for establishing guidelines and standards for whistleblower protection in Southeast Asia, where strong whistleblower protection laws are still lacking. The SEA-ACN network could lead the organization of the summit and learn from mechanisms outside Southeast Asia, ensuring whistleblower protection includes marginalized groups.
 
Participants also suggested that SEA-ACN should create communication channels to facilitate information exchange among members and establish a bulletin board to publish brief updates on progress, expanding efforts, and raising whistleblower protection standards in Southeast Asia.
 
This is another key topic from the roundtable discussion. What’s next? Follow us on Facebook KRAC Corruption for more updates from the discussion!
ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
19 กรกฎาคม 2567
ผู้แต่ง
  • ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค
หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
โลโก้คณะเศรษฐศาสตร์ (ภาษาไทย)

หัวข้อ
Related Content

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย I มันจบแล้วครับ…(ถ้า) นาย (โกง) : รู้จักกฎหมายคุ้มครองผู้แจ้งเบาะทุจริต

การแจ้งเบาะแส เป็นหนึ่งในกลไกสำคัญที่สามารถลดการคอร์รัปชันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะคงไม่มีใครให้มีข้อมูลเชิงลึกได้เท่า “คนใน” องค์กรเอง แต่อุปสรรคสำคัญที่ทำให้คนในองค์กรไม่กล้าให้แจ้งเบาะแสทุจริต คือ “ความกลัว”

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | รู้จัก 3 แนวทาง Support ผู้แจ้งเบาะแสทุจริต

ยิ่งมีคนแจ้งเบาะแสมากเท่าไร ก็จะยิ่งมีการตรวจสอบและช่วยนำคนผิดมาลงโทษมากเท่านั้น แต่อุปสรรคสำคัญที่ทำให้หลายคนที่มีข้อมูลไม่อยากแจ้งเบาะแส เพราะกลัวว่าถ้าแจ้งไปแล้วก็อาจจะโดนกลั่นแกล้ง

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | รางวัลแด่คนช่าง “แจ้ง”

กุญแจสำคัญที่จะช่วยจัดการคอร์รัปชันได้ คือ “การมีส่วนร่วมในการแจ้งเบาะแส” เพราะถ้าทั้งเจ้าหน้าที่รัฐและประชาชนมีส่วนร่วมในการช่วยตรวจสอบคอร์รัปชันภายในหน่วยงานรัฐ ช่วยกันแจ้งเบาะแส จะทำให้เจ้าหน้าที่รัฐรู้สึกกดดัน กลัวจะถูกจับได้และไม่กล้าคอร์รัปชัน ภาครัฐจึงมีความพยายามอย่างมากให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมกับการแก้ปัญหาคอร์รัปชัน

You might also like...

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : แก้บนอาจไม่ถูกใจ แต่สินบนถูกใจแน่นอน

สวัสดีปีใหม่และสุขสันต์วันคริสต์มาสแด่นักอ่านแนวหน้าทุกท่าน ในเทศกาลแห่งความสุขนี้ ผู้เขียนขอมอบเพลง Santa Doesn’t Know You Like I Do ของ Sabrina Carpenter เพื่อเป็นหนึ่งในเพลงที่เหมาะสำหรับการฟังในช่วงเวลาพิเศษนี้ เนื้อเพลงได้สื่อถึงความรักของคนคนหนึ่งที่สามารถเติมเต็มความปรารถนาของคนรักได้โดยไม่ต้องพึ่งคุณพ่อฤดูหนาวหรือซานต้า เพราะซานต้านั้นไม่ได้รู้จักตัวตนของเราดีไปกว่าคนใกล้ชิดหรือคนใกล้ตัว

KRAC Hot News I ปลดล็อกรังนกจากถ้ำสู่บ้านอย่างไร ให้โปร่งใสไร้ทุจริต

การส่งออกรังนกไทยมีมูลค่าสูงขึ้นเรื่อย ๆ ตามความต้องการของผู้บริโภค ธุรกิจรังนกจึงสร้างรายได้มหาศาลให้กับเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน แต่หากขาดการกำกับดูแลให้โปร่งใส อาจจะก่อให้เกิดผลเสียมหาศาลกับธุรกิจไทยได้

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | “ธรรมาภิบาล” หลักการที่ยืดหยุ่น พร้อมสร้างประสิทธิภาพ

เคยสงสัยไหมว่าทำไมหลักธรรมาภิบาลของแต่ละองค์กรถึงดูไม่เหมือนกัน บางองค์กรมี 6 หลัก บางองค์กรมี 8 หลัก ความจริงแล้วหลากหลายองค์กรทั่วโลกล้วนมีการวางแนวคิดเกี่ยวกับธรรมาภิบาลที่ต่างกัน โดยงานวิจัยเรื่อง “โครงการวิจัยพัฒนาฐานข้อมูล องค์ความรู้ด้านธรรมาภิบาล (ระยะที่ 2)” (2563) ได้ศึกษาเรื่องนี้เอาไว้