KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ธรรมาภิบาล + ธรรมะ: เมื่อพุทธศาสนาประยุกต์กับธรรมาภิบาล บนพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ

ธรรมะ + อภิบาล บนพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ

“ธรรมาภิบาล (Governance)” คือแนวคิดเพื่อการบริหารองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ความโปร่งใส การมีส่วนร่วม ความรับผิดชอบ ความคุ้มค่า นิติธรรม เป็นต้น ซึ่งเชื่อกันว่าหากองค์กรเดินตามหลักธรรมาภิบาล ก็จะนำไปสู่ผลลัพธ์ในเชิงบวก 

 

คำว่า “ธรรมาภิบาล” มาจากคำว่า “ธรรมะ + อภิบาล” แต่แม้ว่าจะมีคำว่า “ธรรมะ” แฝงอยู่ในชื่อ แต่ในทางหลักการ ธรรมาภิบาลไม่ได้หมายถึงหลักศาสนาโดยตรง ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าทั้งสองแนวคิดจะไม่สามารถใช้ร่วมกันได้

 

พื้นที่ลุ่มน้ำโขงตอนบน หรือที่รู้จักกันในชื่อ “สามเหลี่ยมทองคำ” เป็นตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจของการนำหลักพุทธศาสนามาใช้เพื่อเสริมสร้างธรรมาภิบาล โดยสามารถผสมผสานทั้งสองหลักการได้อย่างกลมกลืนในบริบทชุมชนท้องถิ่น 

 

KRAC ขอนำเสนอผลการศึกษาจากงานวิจัยเรื่อง “การใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารราชการของกลุ่มประเทศสามเหลี่ยมทองคำ” โดย อนันต์ อุปสอด (2562) ซึ่งได้ศึกษาชุมชนบนพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ ที่ประกอบด้วยประเทศไทย ลาว และเมียนมา 

ศึกษาชุมชนบนพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ

ทั้งนี้ เพื่อวิเคราะห์เกี่ยวกับธรรมาภิบาลที่ใช้บริหารราชการในแต่ละประเทศ เนื่องจากพื้นที่นี้เป็นจุดเชื่อมโยงระหว่างสามประเทศที่มีลักษณะคล้ายกัน ในแง่ที่มีวัฒนธรรมชุมชนท้องถิ่นที่แข็งแรง และนับถือศาสนาพุทธเป็นหลัก

 

งานวิจัยได้ศึกษาโดยใช้กรอบการวิเคราะห์ 4 ด้าน ได้แก่ ความรับผิดชอบ (Accountability), การมีส่วนร่วม (Participation), ความโปร่งใส (Transparency) และ ความเป็นสิ่งที่สามารถทำนายได้ (Predictability) พบว่า มีการใช้หลักศาสนามาเสริมแนวคิดธรรมาภิบาล โดยเฉพาะในระดับชุมชนท้องถิ่น

 

ทั้งสามประเทศในกลุ่มสามเหลี่ยมทองคำ ได้แก่ ไทย ลาว และเมียนมา ยึดพุทธศาสนาเป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรมชุมชนมาอย่างยาวนาน งานวิจัยพบว่าในระดับหมู่บ้านหรือชุมชนท้องถิ่น มีการนำหลักธรรมะ มาใช้ร่วมกับธรรมาภิบาล

 

ตัวอย่างเช่น สังคหวัตถุ 4 (ทาน, ปิยวาจา, อัตถจริยา, สมานัตตตา) การใช้ “ทาน” และ “อัตถจริยา” สะท้อนถึงการให้บริการประชาชนอย่างไม่เลือกปฏิบัติ, “ปิยวาจา” ช่วยสร้างการสื่อสารอย่างสุภาพระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับชุมชน, ขณะที่ “สมานัตตตา” หรือความเสมอภาค ช่วยย้ำหลักความเป็นธรรมและไม่ใช้อำนาจโดยมิชอบ 

ไทย ลาว และเมียนมา ใช้ศาสนาปรับเข้ากับการบริหารชุมชนอย่างไร

เพื่อให้เห็นภาพอย่างเป็นรูปธรรม KRAC ขอพามาดูตัวอย่างของทั้งสามประเทศกันว่ามีการใช้หลักศาสนาร่วมกับธรรมาภิบาลอย่างไรบ้าง

 

ประเทศไทย: งานวิจัยพบว่าหลายพื้นที่พยายามผสานธรรมาภิบาลกับพุทธศาสนา โดยอาศัยกลไกชุมชน พระสงฆ์ และผู้นำท้องถิ่นในการร่วมวางแผนพัฒนาหมู่บ้าน และถ่วงดุลอำนาจกันเอง เช่น การใช้วัดเป็นศูนย์กลางเผยแพร่ข้อมูลการใช้งบประมาณ การให้ผู้นำชุมชนรับฟังข้อเสนอของประชาชนก่อนตัดสินใจเชิงนโยบาย เป็นต้น

 

ประเทศลาว: แม้จะมีระบบรวมศูนย์อำนาจ แต่รัฐบาลลาวก็เปิดให้ท้องถิ่นมีบทบาท และยืดหยุ่นให้กิจกรรมทางพระพุทธศาสนาดำเนินต่อเนื่องควบคู่กับงานพัฒนาชุมชน ในการบริหารราชการนั้น ไม่เพียงแต่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายของรัฐบาลกลางเท่านั้น แต่ยังต้องใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เช่น สังคหวัตถุ 4 เป็นแนวทางสำคัญในการเสริมสร้างความสามัคคีในสังคม และเป็นฐานคุณธรรมประกอบการบริหารของทั้งฝ่ายรัฐและประชาชน

 

ประเทศเมียนมา: การบริหารราชการแผ่นดินของเมียนมายังยึดกฎหมายของรัฐเป็นหลัก โดยเฉพาะในพื้นที่อย่างเมืองเชียงตุง เจ้าหน้าที่รัฐมีข้อจำกัดในการให้ข้อมูลแก่คนนอก เนื่องจากมองว่าเป็นการเปิดเผยความลับของประเทศ อย่างไรก็ตาม ผู้นำชุมชนของไทเขินยังคงใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ในการบริหารชุมชน 

 

ตัวอย่างเช่น การใช้ความสามัคคีและความรับผิดชอบของกรรมการชุมชนเป็นแนวทางในการปกครองท้องถิ่น โดยมีการจัดกิจกรรมทางศาสนา เช่น ประเพณีตั้งธรรมหลวงประจำปี เป็นกลไกสร้างความร่วมมือระหว่างประชาชนกับรัฐ เพื่อสร้างความไว้วางใจจากหน่วยงานราชการที่เข้ามาทำงานในพื้นที่ 

เสนอดึงจุดแข็งของวัฒนธรรม “ความเป็นพุทธ” มาใช้เป็นเครื่องมือเสริม

หลังจากศึกษาทั้งสามประเทศแล้ว แม้ผู้วิจัยจะสนใจเกี่ยวกับการนำหลักศาสนามาใช้กับธรรมาภิบาล แต่ไม่ได้มองว่าจะให้เปลี่ยนธรรมาภิบาลให้กลายเป็นศาสนา เพียงแต่เสนอให้ประเทศไทยควรมีการดึงจุดแข็งของวัฒนธรรม “ความเป็นพุทธ” มาใช้เป็นเครื่องมือเสริม เช่น การอบรมเจ้าหน้าที่ด้วยหลักพรหมวิหาร, การส่งเสริมให้วัดเป็นพื้นที่กลางของชุมชน, การวัดผลโครงการพัฒนาที่ไม่ใช่แค่เชิงเศรษฐกิจ แต่รวมถึงจริยธรรมด้วย

 

ในยุคที่คนอาจหมดศรัทธาต่อรัฐ การเชื่อมโยงธรรมาภิบาลกับธรรมะ อาจเป็นอีกหนึ่งทางออกของสังคมโดยเฉพาะในพื้นที่ที่กฎหมายไปไม่ถึง แต่ศรัทธายังคงทำงานอยู่

 

ประเด็นเรื่องแนวทางการใช้ศาสนาพุทธร่วมกับธรรมาภิบาลเป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยนี้เท่านั้น งานวิจัยเรื่อง “การใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารราชการของกลุ่มประเทศสามเหลี่ยมทองคำ” โดย อนันต์ อุปสอด (2562) ยังมีข้อมูลอื่น ๆ ที่น่าสนใจ เช่น การเปรียบเทียบแนวคิด “ธรรมาภิบาล” ระหว่างสามประเทศ หรือการอธิบายมิติทางวัฒนธรรม ศาสนา โดยเฉพาะพุทธศาสนา ในบริบทการเมือง-การปกครอง โดยสามารถอ่านสรุปงานวิจัยได้ที่ลิงก์ด้านล่าง 

คอลัมน์ “KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย” เป็นบทความเล่างานวิจัยไทยด้านการต่อต้านคอร์รัปชัน ที่หยิบยกหนึ่งในประเด็นของงานวิจัยในมุมมองของผู้ปฏิบัติการ เพื่อปูพื้นฐานความรู้และความเข้าใจเรื่องการคอร์รัปชัน และการต่อต้านคอร์รัปชันในมิติต่าง ๆ ภายใต้บริบทของประเทศไทย

ที่มา

อนันต์ อุปสอด. (2560). การใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารราชการของกลุ่มประเทศสามเหลี่ยมทองคำ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร, 21(1), 181-192. 

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2568
ผู้แต่ง

ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค

หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
โลโก้คณะเศรษฐศาสตร์ (ภาษาไทย)

หัวข้อ
Related Content

มาแล้ว !! โอกาสพัฒนาความรู้สู่การต่อต้านคอร์รัปชันอย่างมีประสิทธิภาพ

KRAC ชวนทุกคนมาเรียน “หลักสูตรการส่งเสริมธรรมาภิบาลและการต่อต้านคอร์รัปชันร่วมสมัย” ที่จะพาผู้เรียนมาทำความเข้าใจกับการต่อต้านคอร์รัปชันที่มีเนื้อหาประยุกต์ไปกับหลายศาสตร์หลากมุมมองและมีตัวอย่างกรณีศึกษาให้เรียนรู้ สอดแทรกไปกับองค์ความรู้ใหม่ ๆ ที่สอดคล้องกับองค์กรที่ทำงานด้านการต่อต้านคอร์รัปชันในปัจจุบัน

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ไขแนวคิด พิชิตความสำเร็จของหน่วยงานรัฐ ในการสร้างธรรมาภิบาล ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

สร้างความสำเร็จในหน่วยงานด้วย “หลักธรรมาภิบาล” ตามแผน ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยมีตัวอย่าง 6 หน่วยงานรัฐไทยที่ไขแนวคิด พิชิตความสำเร็จในการสร้างธรรมาภิบาล…ปัจจัยความสำเร็จเหล่านี้เป็นอย่างไรบ้าง ? และผลลัพธ์ของการมีธรรมาภิบาลจะเป็นเช่นไร ? มาร่วมหาคำตอบไปพร้อมกัน

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | โควิด-19 ส่งผลอย่างไรต่อสถานการณ์คอร์รัปชันและธรรมาภิบาล ?

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ไม่ได้ส่งผลกระทบแค่สุขภาพและเศรษฐกิจ แต่ยังทำให้การต่อต้านคอร์รัปชันและธรรมาภิบาลเผชิญความท้าทายใหม่ ๆ เช่น การใช้อำนาจพิเศษของรัฐ ความไม่เท่าเทียมที่เพิ่มขึ้น และการจัดซื้อจัดจ้างแบบฉุกเฉินที่เสี่ยงต่อการทุจริต แล้วเราจะฟื้นฟูผลกระทบเหล่านี้ได้อย่างไร ?

You might also like...

การใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารราชการของกลุ่มประเทศสามเหลี่ยมทองคำ

ธรรมาภิบาลในสามเหลี่ยมทองคำ วิเคราะห์แนวทางการบริหารราชการของประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อพัฒนาระบบราชการไทย เสริมสร้างความร่วมมือชายแดน และรักษาเสถียรภาพภูมิภาคอย่างยั่งยืน

KRAC Insight | เกมแห่งแรงจูงใจ: ถอดบทเรียนกฎหมายผ่อนผันโทษผ่านมุมมองทฤษฎีเกม

KRAC INSIGHT ชวนเจาะลึกว่าทำไมกฎหมายผ่อนผันโทษจึงซับซ้อน และทำงานเหมือน Prisoner’s Dilemma ที่จูงใจผู้ร่วมขบวนการให้หักหลังกันเอง !

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : พัฒนาทักษะการสื่อสารด้านการต่อต้านคอร์รัปชันผ่านการกระทำเชิงสัญลักษณ์

สัญลักษณ์ มักถูกใช้ในการเรียกสิ่งหนึ่งแทนการเรียกตรงๆ โดยอาจจะเกิดจากการเปรียบเทียบหรือการตีความออกมาเป็นรูปธรรมหรือนามธรรมก็ได้ ซึ่งนับเป็นการสื่อสารรูปแบบหนึ่งที่มนุษย์ใช้กันนอกเหนือจากการเขียนข้อความ ในสังคมของเรามีการใช้สัญลักษณ์ในการสื่อสารให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง