KRAC The Experience | EP.9 Fight Together! : The Anti-Corruption Ecosystem

“การสร้างระบบนิเวศเพื่อการต่อต้านคอร์รัปชันมีความสำคัญอย่างไร ?” ชวนดู แนวคิดความร่วมมือในการสร้างระบบนิเวศเพื่อการต่อต้านคอร์รัปชันที่มีประสิทธิภาพ  🤝 กับ KRAC The Experience ตอน “Fight Together ! : The Anti-Corruption Ecosystem”

ความเดิมตอนที่แล้วของ “KRAC The Experience” เราได้พาทุกท่านไปดูแนวทางการต่อต้านคอร์รัปชัน จากการเดินทางของ ผศ. ดร.ต่อภัสสร์ ยมนาค ผู้อำนวยการศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค (KRAC) ที่ได้รับทุน Eisenhower Fellowships 2024

 
ที่ทำให้เห็นถึงการใช้ข้อมูลเปิดเพื่อการต่อต้านคอร์รัปชัน ทั้งการใช้ข้อมูลเปิดเพื่อการต่อต้านคอร์รัปชัน การใช้ข้อมูลเปิดเพื่อการพัฒนาเมือง การใช้ข้อมูลเปิดเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชน รวมไปถึงการต่อต้านคอร์รัปชันโดยภาครัฐ การต่อต้านคอร์รัปชันโดยภาคการศึกษา การต่อต้านคอร์รัปชันโดยภาคประชาสังคมที่ควรปรับตัวสู่การเป็นภาคเอกชน และการทำงานร่วมกันเป็นโครงข่าย
 
ดังนั้น จะเห็นได้ว่า “การต่อต้านคอร์รัปชันจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการแก้ไขปัญหา” จึงต้องใช้ความร่วมมือของทุกคนมาร่วมต่อสู้ไปด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคการศึกษา ภาคประชาสังคม หรือภาคเอกชน สร้างระบบนิเวศที่เข้มแข็งและมีประสิทธิภาพในการต่อต้านคอร์รัปชัน
 
ในสหรัฐอเมริกา (United State of America: USA) มีการใช้ “ข้อมูลเปิด (Open Data)” เป็นเครื่องมือสำคัญในการต่อต้านคอร์รัปชัน ซึ่งเมื่อมีการใช้งานและพัฒนาไปเรื่อย ๆ ที่พบข้อดีมากมาย เช่น การใช้เพื่อพัฒนาเมือง และการใช้เพื่อออกแบบนโยบาย นอกจากนี้ข้อมูลเปิดที่มีประสิทธิภาพและเข้าถึงได้ง่ายนั้นยังช่วยให้ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในการตรวจสอบและต่อต้านการคอร์รัปชันได้มากขึ้น ซึ่งส่งเสริมให้เกิดการตระหนักรู้และความรับผิดชอบต่อสาธารณะในทุกระดับของสังคม
 
อีกหนึ่งสิ่งที่สนับสนุนให้การใช้ข้อมูลเปิดและการต่อต้านคอร์รัปชันในสหรัฐฯ เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น คือการมี “ระบบนิเวศ (Ecosystem)” หรือการทำงานอย่างเป็นระบบที่ทุกองค์การเข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานเพื่อการต่อต้านคอร์รัปชันบนฐานความคิดที่ว่า การต่อต้านคอร์รัปชันเป็นเรื่องของทุกคน ดังนั้นการต่อต้านคอร์รัปชันจึงต้องร่วมกันทำ เพราะ “หนึ่งองค์การ” ไม่ว่าจะภาครัฐ ภาคการศึกษา ภาคประชาสังคม หรือภาคเอกชน ก็ไม่สามารถที่จะทำทุกอย่างด้วยตัวคนเดียวได้
 
การทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบนิเวศ มักจะมีลักษณะการสนับสนุนในส่วนที่แต่ละองค์การถนัด เช่น หน่วยงานภาคการศึกษาก็สามารถที่จะช่วยเหลือหน่วยงานอื่น ๆ ด้านการทำการสำรวจและวิจัย หน่วยงานภาคประชาสังคมก็สามารถที่จะช่วยเหลือเรื่องของการสื่อสารและการพัฒนาเครื่องมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน รวมถึงหน่วยงานภาครัฐที่จะช่วยเหลือเรื่องของข้อมูลภาครัฐ และการพัฒนาเชิงนโยบายหรือกฎหมาย โดยทั้งหมดนี้จะช่วยให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมในการต่อต้านคอร์รัปชัน นอกจากนี้การทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบนิเวศยังทำให้เกิดแรงกดดันต่อภาครัฐ ที่ทำให้ภาครัฐต้องเปิดเผยข้อมูลและมีความโปร่งใส ตลอดจนมีความรับผิดชอบมากขึ้น
 
ดังนั้น หนึ่งในแนวทางต่อต้านคอร์รัปชันของประเทศไทยอาจเริ่มจาก “การสร้างระบบนิเวศเพื่อการต่อต้านคอร์รัปชัน” เพราะจะเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน เนื่องจากประเทศไทยยังเผชิญกับความท้าทายด้านความโปร่งใสในภาครัฐ ซึ่งการต่อต้านคอร์รัปชันอย่างเป็นระบบนิเวศจะช่วยส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคการศึกษา ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน โดยเน้นการสนับสนุนซึ่งกันและกัน เพราะฉะนั้นจะสามารถเห็นได้ว่าการทำงานร่วมกันในลักษณะนี้ทำให้เกิดแรงกดดันต่อภาครัฐให้ต้องเปิดเผยข้อมูลและมีความโปร่งใสมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้ประชาชนสามารถติดตามการใช้จ่ายงบประมาณ และตรวจสอบการดำเนินงานของรัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
การเดินทางและการเรียนรู้ของ อ.ต่อภัสสร์ ทำให้เห็นถึงวิธีการนำข้อมูลเปิด (Open Data) มาใช้ในการเสริมสร้างความโปร่งใสและพัฒนาแนวทางการต่อต้านคอร์รัปชันในไทย ที่ชี้ให้เห็นว่าในการต่อต้านคอร์รัปชันนั้นจำเป็นที่จะต้องทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบนิเวศ เพื่อสร้างสังคมที่ปราศจากคอร์รัปชันจากการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วนที่จะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ยั่งยืนและเป็นรูปธรรมในการพัฒนาสังคมที่ปราศจากคอร์รัปชันและโปร่งใส
 

แม้ว่าการเดินทางครั้งนี้จะจบลง แต่การเรียนรู้และการนำบทเรียนที่ได้รับมาปรับใช้ในบริบทของประเทศไทยยังคงเดินหน้าต่อไป สำหรับใครที่อยากเข้ามามีส่วนร่วมในการต่อต้านคอร์รัปชัน หรืออยากติดตามข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านคอร์รัปชัน ก็สามารถติดตามได้ที่ Facebook @Kraccorruption ต่อไปได้เลย !

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
17 มกราคม 2568
ผู้แต่ง

ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค

หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
โลโก้คณะเศรษฐศาสตร์ (ภาษาไทย)

หัวข้อ
Related Content

เปลี่ยน Trainees เป็น Rookies ตัวท็อปของวงการ : ชวนอ่าน Anti-Corruption 101 เพื่อปูพื้นฐานการต่อต้านคอร์รัปชัน

ชวนอ่าน Anti-Corruption 101 ที่จะช่วยปูพื้นฐานความรู้ในเรื่องการคอร์รัปชัน ผ่านแนวคิดทางวิชาการ และเรียนรู้แนวทางการต่อต้านคอร์รัปชันที่มีเนื้อหาเข้าใจง่ายสำหรับทุกคน

มาแล้ว !! โอกาสพัฒนาความรู้สู่การต่อต้านคอร์รัปชันอย่างมีประสิทธิภาพ

KRAC ชวนทุกคนมาเรียน “หลักสูตรการส่งเสริมธรรมาภิบาลและการต่อต้านคอร์รัปชันร่วมสมัย” ที่จะพาผู้เรียนมาทำความเข้าใจกับการต่อต้านคอร์รัปชันที่มีเนื้อหาประยุกต์ไปกับหลายศาสตร์หลากมุมมองและมีตัวอย่างกรณีศึกษาให้เรียนรู้ สอดแทรกไปกับองค์ความรู้ใหม่ ๆ ที่สอดคล้องกับองค์กรที่ทำงานด้านการต่อต้านคอร์รัปชันในปัจจุบัน

คัดสรรงานวิจัยไทยต่อต้านคอร์รัปชัน ที่คุณอาจไม่รู้ (จัก) มาก่อน : ชวนอ่านสรุปงานวิจัยไทย 24 ชิ้น เพื่อทำความเข้าใจการต่อต้านคอร์รัปชัน

ชวนอ่านสรุปงานวิจัยไทยที่ KRAC คัดสรรมาให้คุณ เพื่อจะทำให้คุณเข้าใจปัญหา และวิธีการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันภายใต้บริบทของประเทศไทย

You might also like...

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | คอร์รัปชันในอุตสาหกรรมประมงไทย : ปัญหาที่กระทบเศรษฐกิจ สิทธิมนุษยชน และภาพลักษณ์ประเทศ

จะแก้อย่างไรถ้าอุตสาหกรรมประมงไทยคอร์รัปชัน ? ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมประมงระดับโลกของไทยอีกด้วย โดย KRAC สรุปมาให้เเล้วจากงานวิจัยเรื่อง “การศึกษาวิเคราะห์การทุจริตคอร์รัปชันขบวนการเครือข่ายนายหน้าแรงงานข้ามชาติเมียนมาในอุตสาหกรรมประมงต่อเนื่องของประเทศไทย” (2562)

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | เบื้องหลังการทุจริตภาษีศุลกากร: เมื่อบริษัทปลอมกลายเป็นเครื่องมือเลี่ยงภาษี

บริษัทปลอม vs ศุลกากร : หนีภาษีเขาทำกันอย่างไร ? วิธีป้องกันบริษัทปลอม แหล่งหนีภาษาศุลกากรหลักหมื่นล้าน !! กระบวนการเหล่านี้จะเป็นอย่างไร ? แต่ละตัวละครทำหน้าที่อะไร สรุปมาให้เเล้วจากงานวิจัยเรื่อง “การศึกษากลุ่มอิทธิพลซึ่งนำไปสู่การทุจริตคอร์รัปชันอย่างเป็นระบบ: กรณีศึกษาการทุจริตภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีศุลกากรในประเทศไทย” (2561)

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : เมื่อชีวิตมีแค่ทางเลือกที่แย่กับแย่น้อยกว่า: ปัญหามลพิษในประเทศไทยหนักแค่ไหน ?

รู้หรือไม่ว่าในชีวิตประจำวันของคนไทย การตัดสินใจง่ายๆ อย่างการเปิดหรือปิดหน้าต่างกลับสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาของคุณภาพชีวิตและปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย ผู้เขียนจึงอยากเชิญชวนให้ผู้อ่านทุกท่านทำความเข้าใจปัญหามลพิษในอากาศจากก๊าซเรดอนในอาคาร ปัญหาฝุ่นควัน PM2.5 และความสำคัญของการบริหารจัดการของภาครัฐ ผ่านพฤติกรรมง่ายๆ อย่างการเปิดหรือปิดหน้าต่าง