KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I TI ชี้ ผู้หญิงมีแนวโน้มเป็นเหยื่อจากสินบนด้วยการคุกคามทางเพศมากขึ้น

เราจะแก้ปัญหาทุจริตที่มาพร้อมกับการกดขี่ทางเพศได้อย่างไร ?

รายงาน “Corruption Through a Gender Lens” หรือกรอบการคิดด้านเพศภาวะ ฉบับล่าสุดจากองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International : TI) ได้วิเคราะห์ผลลัพธ์มาตรวัดคอร์รัปชันโลก (Global Corruption Barometer : GCB) ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกช่วงปี 2020-2021 ผ่านมุมมองของผู้หญิงในชนบทที่ต้องดูแลครอบครัวในประเทศกัมพูชา ฟิจิ อินโดนีเซีย และ ศรีลังกา พบว่า ผู้หญิงมีแนวโน้มตกเป็นเหยื่อจากการเรียกสินบนด้วยการคุกคามทางเพศ หรือที่เรียกว่า “sextortion” มากขึ้น

รายงานยังชี้ให้เห็นว่า sextortion เกิดจากความไม่เท่าเทียมทางเพศในสังคม ซึ่งส่งผลไปถึงการกดขี่ทางเพศของเจ้าหน้าที่รัฐ และผู้หญิงเองก็กลัวที่จะร้องเรียนเพราะอาจทำให้ครอบครัวต้องเดือดร้อน รวมทั้งบางส่วนยังมีภาระหน้าที่ในครอบครัวมากมายเกินกว่าที่จะศึกษาหรือตระหนักถึงเรื่องของการร้องเรียนทุจริต

ข้อมูลเพิ่มเติมบอกว่า แม้ทุกเพศมีโอกาสตกเป็นเหยื่อของ sextortion แต่รายงานในหลายประเทศชี้ให้เห็นว่าผู้หญิงมีความเปราะบางที่จะเผชิญกับการเรียกสินบนด้วยการคุกคามทางเพศมากกว่า โดยเฉพาะผู้หญิงชายขอบในชนบท ที่ห่างไกลจากความเจริญและส่วนใหญ่มีฐานะยากจน พวกเขามักถูกมองว่าเป็นเป้าหมายที่ง่ายต่อการเรียกสินบน โดยที่เหยื่อบางคนอาจจะไม่ทราบแม้กระทั่งว่าการกระทำรูปแบบนี้คือการทุจริต

แล้วเราจะแก้ปัญหานี้อย่างไร ?

องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ ได้เสนอให้ประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก พัฒนากรอบกฎหมายที่เกี่ยวกับ sextortion เพื่อช่วยเหลือให้เหยื่อสามารถเอาผิดผู้กระทำความผิดได้ รวมถึงการอบรมเจ้าหน้าที่ให้มีความรู้ความเข้าใจ ในส่วนของบทบาทเชิงนโยบายและกลุ่มภาคประชาสังคม ควรส่งเสริมให้ผู้หญิงได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนายุทธศาสตร์และการส่งเสริมธรรมาภิบาล ทำลายโครงสร้างของสังคมที่จำกัดบทบาททางเพศออกไป และสนับสนุนช่องทางการแจ้งการทุจริตให้เข้าถึงผู้คนได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2567
ผู้แต่ง
  • ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค
หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
โลโก้คณะเศรษฐศาสตร์ (ภาษาไทย)

หัวข้อ
Related Content

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย I มันจบแล้วครับ…(ถ้า) นาย (โกง) : รู้จักกฎหมายคุ้มครองผู้แจ้งเบาะทุจริต

การแจ้งเบาะแส เป็นหนึ่งในกลไกสำคัญที่สามารถลดการคอร์รัปชันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะคงไม่มีใครให้มีข้อมูลเชิงลึกได้เท่า “คนใน” องค์กรเอง แต่อุปสรรคสำคัญที่ทำให้คนในองค์กรไม่กล้าให้แจ้งเบาะแสทุจริต คือ “ความกลัว”

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | รู้จัก 3 แนวทาง Support ผู้แจ้งเบาะแสทุจริต

ยิ่งมีคนแจ้งเบาะแสมากเท่าไร ก็จะยิ่งมีการตรวจสอบและช่วยนำคนผิดมาลงโทษมากเท่านั้น แต่อุปสรรคสำคัญที่ทำให้หลายคนที่มีข้อมูลไม่อยากแจ้งเบาะแส เพราะกลัวว่าถ้าแจ้งไปแล้วก็อาจจะโดนกลั่นแกล้ง

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | รางวัลแด่คนช่าง “แจ้ง”

กุญแจสำคัญที่จะช่วยจัดการคอร์รัปชันได้ คือ “การมีส่วนร่วมในการแจ้งเบาะแส” เพราะถ้าทั้งเจ้าหน้าที่รัฐและประชาชนมีส่วนร่วมในการช่วยตรวจสอบคอร์รัปชันภายในหน่วยงานรัฐ ช่วยกันแจ้งเบาะแส จะทำให้เจ้าหน้าที่รัฐรู้สึกกดดัน กลัวจะถูกจับได้และไม่กล้าคอร์รัปชัน ภาครัฐจึงมีความพยายามอย่างมากให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมกับการแก้ปัญหาคอร์รัปชัน

You might also like...

บทความวิจัย : การเสริมสร้างเครือข่ายการต่อต้านการทุจริตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดกาญจนบุรี

แนวทางการพัฒนาเครือข่ายการต่อต้านทุจริตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมและการสื่อสารระหว่างกันของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การสร้างความเข้าใจให้แก่ประชาชน การสร้างตัวอย่างที่ดี การสร้างสังคมหิริโอตัปปะ และการสนับสนุนระบบการร้องเรียน ความโปร่งใส การป้องกันการทุจริต รวมถึงการมีหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกผู้บริหาร

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ส่งเสริมธรรมาภิบาลให้กว้างไกลด้วยการสร้างรางวัลให้องค์กร

พาทุกคนมาศึกษาจุดเริ่มต้นของธรรมาภิบาลในประเทศไทยช่วงหลังวิกฤติเศรษฐกิจไทย 2540 ที่นำมาสู่การมอบรางวัลเพื่อส่งเสริมธรรมาภิบาลไทย ซึ่งจะทำให้เห็นถึงพัฒนาการและภาพรวมของธรรมาภิบาลในประเทศไทยมากขึ้น และการมีธรรมาภิบาลจะช่วยลดคอร์รัปชันได้อย่างไร ?

บทความวิจัย : การพัฒนาคู่มือแนวทางการนําหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้สําหรับสถานศึกษาอาชีวศึกษา

แนวทางในการส่งเสริมหลักสูตรด้านคุณธรรมจริยธรรมเพื่อต่อต้านการทุจริตในสถานศึกษาระดับอาชีวศึกษา ควรมีการกําหนดหลักการ กระบวนการ และแนวปฏิบัติอย่างชัดเจน และควรมีแผนการเรียนรู้และสื่อการสอนที่สอดคล้องกับบริบทของผู้เรียนในสถานศึกษา