Todos Los Contratos ต้นแบบเครื่องมือต้านโกงสำหรับประชาชน ที่เปิดเผยข้อมูลจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

ต้นแบบเครื่องมือต้านโกงสำหรับประชาชน ที่เปิดเผยข้อมูลจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ การันตีความเจ๋งจากรางวัล Sigma award for Journalism ด้าน Open Data ในปี 2020

ถ้าประชาชนไม่สามารถติดตามตรวจสอบการทำงานของภาครัฐ ไม่เคยรู้ว่าภาษีของเราถูกนำไปใช้ทำอะไรบ้าง ก็ไม่สามารถสร้างความโปร่งในการบริหารงบประมาณ และนำไปสู่ปัญหาการคอร์รัปชันได้ Todos Los Contratos จึงเป็นแพลตฟอร์มตรวจจับการทุจริตคอรัปชันที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยให้ประชาชนสามารถตรวจสอบความโปร่งใสในสัญญาหรือข้อตกลงในโครงการของภาครัฐได้โดยสะดวก

จุดเด่นของแพลตฟอร์มอยู่ที่ระบบการดึงข้อมูลสัญญาจากฐานข้อมูลหลักของรัฐบาลที่ครอบคลุมโครงการมากกว่า 3,800,000 สัญญา จากบริษัทกว่า 227,000 แห่ง รวมถึงสัญญาจัดซื้อจัดจ้างแบบสถาบันและรายบุคคลกว่า 3 แสนราย โดยเก็บข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่ปี 2544 ถึงปี 2562 และนำมาออกแบบอัลกอริทึม (Algorithm) ที่แม่นยำเพื่อใช้สำหรับวิเคราะห์และประเมินค่าสถานะความโปร่งใสของสัญญาและโครงการต่าง ๆ มีการจัดอันดับความโปร่งใสของสัญญาตามเกณฑ์ที่ออกแบบมา เช่น มีการนำรายงานข่าวการทุจริตคอร์รัปชัน รายงานจากระบบรับเรื่องร้องเรียนการทุจริต และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตคอร์รัปชันมาเป็นเกณฑ์ในการประเมินด้วย รวมทั้งสามารถตรวจจับรูปแบบหรือพฤติกรรมที่ผิดปกติได้อย่างง่ายดายโดยอาศัยข้อมูลการทำสัญญาสาธารณะของภาครัฐร่วมกับฐานข้อมูลการวิเคราะห์ข่าวเชิงลึกของนักข่าว

นอกจากนี้ ระบบการสืบค้นของแพลตฟอร์มยังช่วยให้นักข่าวตรวจสอบข่าวทุจริตง่ายขึ้นแล้ว ยังช่วยให้หน่วยงานภาครัฐมีเครื่องมือค้นหาสัญญาต่าง ๆ ที่ใช้งานง่ายและเชื่อถือได้ ที่สำคัญ คือ ช่วยให้ประชาชนมีความเข้าใจในกระบวนการทำสัญญาของภาครัฐและสามารถรายงานปัญหาหรือข้อสงสัยต่อสัญญามาได้ที่แพลตฟอร์ม QuiénEsQuién Wiki และเปิดพื้นที่ให้บริษัทที่อยู่ในรายชื่อไม่โปร่งใสได้ชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจกับสังคมด้วย

แพลตฟอร์มนี้ถือเป็นตัวอย่างที่ดีของการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและสื่อมวลชนอีกด้วย การันตีความสำเร็จจากการได้รับรางวัล Sigma award for Journalism ด้าน Open Data ในปี 2563

ก่อนเริ่มใช้งานระบบจะมีคู่มือสอนวิธีการใช้งานการค้นหาตามฟังก์ชั่นต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ใช้งานสำรวจความเชื่อมโยงระหว่างผู้ประกอบการ นักการเมือง บริษัท และสถาบันของรัฐในสัญญาต่าง ๆ โดยระบบจะมีฟิลเตอร์ให้กรอก และมีคำแนะนำแต่ละขั้นตอนที่ชัดเจน โดยเลือกกรอกได้ทั้งเลขที่สัญญา ชื่อบริษัท บุคคล หน่วยงาน และหัวข้อจากแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้อง นอกจากการตรวจสอบสัญญาแล้ว ผู้ใช้สามารถส่งข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสัญญาได้ โดยมีช่องทางที่ไม่ต้องเปิดเผยตัวตนในกรณีที่เป็นรายงานการทุจริตคอร์รัปชัน

นอกจากนี้ ในแพลตฟอร์มได้รวบรวมกรณีศึกษาจากบริษัทที่ถูกตรวจจับการทุจริตคอร์รัปชันจากเครื่องมือนี้ โดยมีการสรุปวิธีการค้นหาหรือวิธีการสังเกตความผิดปกติด้วย รวมถึงมีการเผยแพร่รายงานที่ทำการสืบสวนความผิดปกติของสัญญาจากข้อมูลที่ได้จากแพลตฟอร์ม โดยเป็นรายงานการสืบสวนจากนักข่าวหรือนักวิจัยที่เข้ามาใช้ข้อมูลเป็นประจำทุกสัปดาห์

🚩Todos Los Contratos
🇲🇽 Mexico
แนวทางการทำงานของเครื่องมือ : Detect Corruption
ประเภทเครื่องมือ : Online corruption reporting

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2564
ผู้แต่ง
  • HAND SOCIAL ENTERPRISE
หน่วยงาน

หัวข้อ
Related Content

เปิดข้อมูลเพื่อความสร้างสรรค์ไปกับ data.gov.sg

เคยนึกสงสัยกันไหมว่าถ้าประเทศไทยมีการเปิดเผยข้อมูลจากภาครัฐ ข้อมูลเหล่านั้นจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ และต่อต้านการคอร์รัปชันได้อย่างไรบ้าง?

เชื่อมต่อทุกไอเดียจากความต้องการของประชาชนไปกับเเพลตฟอร์ม JOIN

ไต้หวันเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างในเอเชียที่มีการเปิดเผยการทำงานของรัฐบาลอย่างเป็นรูปธรรม ตัวอย่างเช่น แพลตฟอร์ม JOIN หรือ https://join.gov.tw มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมการสื่อสารและความเข้าใจกันระหว่างภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคส่วนอื่น ๆ ในสังคม

จับโกงงบโควิด ด้วย ACT Ai เปิดข้อมูลการใช้จ่ายเพื่อกู้วิกฤตโควิด-19

เมื่อโควิดหลากหลายสายพันธุ์กำลังบุกเข้าไทย รัฐบาลไทยต้องใช้เงินกู้สู้โควิด-19 หลายแสนล้านบาท พวกเราได้อะไรจากงบก้อนนี้บ้าง ต้องคอยจับตาดูให้ดี

You might also like...

บทความวิจัย : มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการ

แนวทางการดำเนินคดีสำหรับผู้ทุจริตการสอบคัดเลือกเข้ารับราชการ และเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาด้านการพัฒนากฎหมายการทุจริตการสอบคัดเลือกเข้ารับราชการ

บทความวิจัย : ทางออกการป้องกันและการปราบปรามทุจริตในสังคมไทย

แนวทางแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในสังคมไทยต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของสังคม รวมทั้งภาคประชาชนในการติดตามและตรวจสอบการทุจริตในภาครัฐ

บทความวิจัย : แนวทางพัฒนาจริยธรรมนักการเมืองไทย

การประเมินจริยธรรมของนักการเมืองโดยภาพรวมอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้น จึงควรมีมาตรการพัฒนาจริยธรรม มาตรการกำหนดคุณสมบัติด้านจริยธรรม และมาตรการกำหนดบทลงโทษในกรณีทำความผิด เพื่อยกระดับจริยธรรมในนักการเมืองให้สูงขึ้น