ความท้าทายในประเด็นธรรมาภิบาลกับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ

ศึกษาระดับการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติฯ ภายใต้หลักธรรมาภิบาลขององค์การภาครัฐ สภาพปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน รวมถึงแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติในด้านการปรับสมดุล และพัฒนาระบบการบริหารจัดการขององค์การภาครัฐ

งานวิจัยเรื่องนี้ มีเป้าหมายเพื่อร่วมสำรวจการดำเนินงานของภาครัฐตามยุทธศาสตร์ชาติที่ 6 ในประเด็นการปรับสมดุลภาครัฐ เเละการพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ ซึ่งพื้นที่หน่วยงานภาครัฐในการศึกษา คือ ส่วนราชการระดับกรมที่ไม่ผ่านเกณฑ์ประเมินคุณธรรม และความโปร่งใสในการดำเนินงานของสำนักงานคณกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ในปี พ.ศ. 2560 ได้เเก่ กรมบังคับคดี กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมสงเสริมคุณภาพสิ่งเเวดล้อม กรมส่งเสริมกิจการผู้สูงอายุ กรมการท่องเที่ยว และกรมส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

โดยดำเนินการวิจัยแบบผสานวิธี ประกอบด้วย (1) การวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรสังกัดกรมการท่องเที่ยว กรมกิจการผู้สูงอายุ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรมบังคับคดี กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม จำนวน 602 คน และ (2) การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้บริหาร หรือผู้แทนจากกรม 6 กรม ได้เเก่ กรมการท่องเที่ยว กรมกิจการผู้สูงอายุ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรมบังคับคดี กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

สำหรับคำถามหลักของโครงการวิจัย ประกอบด้วย (1) องค์การภาครัฐมีการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ (2561-2580) ในยุทธศาสตร์ชาติที่ 6 ฯ มากน้อยอย่างไร (2) มีอุปสรรค ปัญหาในการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติที่ 6 ฯ หรือไม่ และ (3) มีเเนวทางในการดำเนินงานอย่างไร เพื่อบรรลุยุทธศาสตร์ชาติที่ 6 ฯ ท้ายที่สุด ผลที่ได้จะนำมาจัดทำเป็นเเนวทางในการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขององค์กรภาครัฐ เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติที่ 6 ฯ ต่อไป 

สรุปประเด็นจากงานวิจัย

  • ผลการศึกษาความท้าทายในประเด็นธรรมาภิบาล กับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติของกรมการท่องเที่ยว กรมกิจการผู้สูงอายุ และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
    1. ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่าระดับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติที่ 6 ฯ ภายใต้หลักธรรมาภิบาลโดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.57) เมื่อจำแนกเป็นรายปัจจัย พบว่าปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยจากมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้เเก่ ปัจจัยด้านผู้นำ ปัจจัยด้านโครงสร้างองค์การ และปัจจัยด้านค่านิยม/วัฒนธรรม สำหรับระดับการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติ ฯ ภายใต้หลักธรรมาภิบาลขององค์การภาครัฐในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.75) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยจากมากที่สุด 3 ลำดับแรกได้เเก่ องค์ประกอบด้านหลักคุณธรรม องค์ประกอบด้านหลักความรับผิด และองค์ประกอบด้านหลักนิติธรรม
    2. ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่าปัญหาอุปสรรคของการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติที่ 6 ฯ ของกรมทั้งสามเเห่ง มีปัญหาร่วมกัน คือ ระดับสมรรถนะของบุคลากรและบุคลากรไม่เพียงพอ งบประมาณไม่เพียงพอ ความเร่งด่วนของนโยบายที่เข้าแทรกการทำงานประจำ ความเข้มแข็งขององค์กรภาคประชาชน การสนับสนุนจากรัฐบาล และความพร้อมทางเทคโนโลยีที่หนุนเสริมการดำเนินงาน
    3. สำหรับแนวทางพัฒนาการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติที่ 6 ฯ พบว่ารัฐบาลต้องทบทวนภารกิจและงบประมาณให้สอดคล้องกัน และจัดลำดับความเร่งด่วนในการทำงาน อีกทั้ง กรมทั้งสามแห่ง ต้องเร่งพัฒนาบุคลากรรุ่นใหม่ ให้มีความรู้ความสามารถเพียงพอในการทดแทนบุคลากรที่กำลังจะเกษียณ เเละหันมาให้ใช้เทคโนโลยีในการทำงานมากขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ที่สำคัญ คือต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาองค์กรภาคประชาชนให้เข้มแข็ง เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนนโยบายในระดับพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ผลการศึกษาความท้าทายในประเด็นธรรมาภิบาล กับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ ของกรมบังคับคดี กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
    1. ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่าระดับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติที่ 6 ฯ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.71) เมื่อจำแนกเป็นรายปัจจัย พบว่าปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยจากมากที่สุด 3 ลำดับแรก ได้เเก่ ปัจจัยด้านผู้นำ ปัจจัยด้านโครงสร้างองค์การ และปัจจัยด้านนโยบาย ส่วนระดับการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติที่ 6 ฯ  พบว่าระดับการดำเนินงานโดยรวม อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.97) เมื่อจำแนกเป็นรายปัจจัย พบว่าปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยจากมากที่สุด 3 ลำดับแรก ได้เเก่ ด้านหลักความคุ้มค่า ด้านหลักความรับผิดชอบ และด้านหลักนิติธรรม
    2. ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่าปัญหาอุปสรรคของการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติที่ 6 ฯ  กรมทั้งสามเเห่ง มีปัญหาร่วมกัน คือ บุคลากรไม่เพียงพอ การหมุนเวียนบุคลากรบ่อยครั้ง ทำให้การทำงานไม่ต่อเนื่อง งบประมาณไม่เพียงพอ การเปลี่ยนแปลงผู้บริหาร และการบูรณาการการทำงานร่วมกัน
    3. สำหรับแนวทางพัฒนาการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติที่ 6 ฯ ต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรภายใน โดยเฉพาะความรู้ความสามารถทางเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มสมรรถนะการทำงาน การเปิดโอกาสให้บุคลากรทุกระดับ มีส่วนร่วมในการแสดงความเห็น การติดตามตรวจสอบผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง การมีระเบียบปฏิบัติที่เอื้อต่อการทำงาน การมีส่วนร่วมของประชาชน รวมถึงการทำงานแบบบูรณาการ ซึ่งจะทำให้กรมทั้งสามเเห่ง สามารถดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติที่ 6 ฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ผลจากการศึกษา สรุปได้ว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติในด้านการปรับสมดุล และพัฒนาระบบการบริหารจัดการภายใต้หลักธรรมาภิบาลขององค์การภาครัฐ มีปัจจัยร่วมกัน คือ ปัจจัยด้านผู้นำ ปัจจัยด้านค่านิยม/วัฒนธรรม และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมภายนอก สำหรับระดับการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติที่ 6 ฯ  ของกรมทั้งหกเเห่ง พบว่าองค์ประกอบด้านหลักความรับผิดชอบ และองค์ประกอบด้านหลักนิติธรรม อยู่ในอันดับสอง และสามเหมือนกัน ส่วนองค์ประกอบสุดท้าย คือ หลักการมีส่วนร่วม ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าความท้าทายในประเด็นธรรมาภิบาล กับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติด้านการมีส่วนร่วม เป็นสิ่งที่กรมทั้งหกแห่ง ต้องให้ความสำคัญมากขึ้น เพื่อขับเคลื่อนการทำงานให้บรรลุตามยุทธศาสตร์ชาติ
เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

ปิยากร หวังมหาพร และอภิญญา ดิสสะมาน. (2562). ความท้าทายในประเด็นธรรมาภิบาลกับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ. สถาบันพระปกเกล้า.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2562
ผู้แต่ง
  • ปิยากร หวังมหาพร
  • อภิญญา ดิสสะมาน
หน่วยงาน

หัวข้อ
Related Content

โครงการศึกษาพรมแดนและช่องว่างความรู้เรื่องคอร์รัปชันและธรรมาภิบาล เพื่อสนับสนุนการจัดทำแผนบูรณาการด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปี พ.ศ. 2566-2570

ศึกษาพัฒนาการของงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชันและธรรมาภิบาลในประเทศไทย เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะต่อแนวทางการสนับสนุนการพัฒนางานวิจัยในประเด็นคอร์รัปชัน และธรรมาภิบาลในอนาคต

โครงการวิจัยการสังเคราะห์รูปแบบ กลไกและแนวทางการปลูกฝังเจตคติและวัฒนธรรมสุจริตเพื่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

ศึกษาพัฒนาการของรูปแบบ กลไก และแนวทางการปลูกฝังเจตคติ และวัฒนธรรมสุจริตที่มีผลต่อการป้องกันการทุจริตของไทย และศึกษากรณีของต่างประเทศ เพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอแนะต่อไป

โครงการวิจัยการศึกษาแนวทางความร่วมมือกับภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชนในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

นำเสนอแนวคิดและกิจกรรมที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพการดำเนินงานของ ป.ป.ช. ในการแก้ไขปัญหาการทุจริต และเสนอแนวทางการพัฒนาระบบการเชื่อมโยงข้อมูลร่วมกันผ่านกระบวนการประสานข้อมูลระหว่างหน่วยงานเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

โครงการประสิทธิภาพและธรรมาภิบาลของนโยบายสาธารณะไทย การวิจัยเพื่อเสริมสร้างนักนโยบายสาธารณะที่ดี

เพื่อทำการวิเคราะห์ผลทางนโยบายสาธารณะในด้านต่าง ๆ จากมุมมองของประชาชน โดยใช้หลักธรรมาภิบาลด้านประสิทธิภาพ การมีส่วนร่วม และการตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน

You might also like...

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ท้องถิ่นอาจช้ำ เมื่อความเหลื่อมล้ำถูกซ้ำด้วยการจัดสรรงบประมาณที่ไม่มีประสิทธิภาพ

รู้หรือไม่ ? การจัดสรรเงินอุดหนุนจากรัฐบาลกลางที่ไม่เป็นธรรม ไม่โปร่งใส และขาดเป้าหมายชัดเจน อาจกลายเป็นการเพิ่มปัญหาความเหลื่อมล้ำในท้องถิ่น แทนที่จะช่วยลดช่องว่างทางเศรษฐกิจ แล้วเราจะแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร ?

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | โควิด-19 ส่งผลอย่างไรต่อสถานการณ์คอร์รัปชันและธรรมาภิบาล ?

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ไม่ได้ส่งผลกระทบแค่สุขภาพและเศรษฐกิจ แต่ยังทำให้การต่อต้านคอร์รัปชันและธรรมาภิบาลเผชิญความท้าทายใหม่ ๆ เช่น การใช้อำนาจพิเศษของรัฐ ความไม่เท่าเทียมที่เพิ่มขึ้น และการจัดซื้อจัดจ้างแบบฉุกเฉินที่เสี่ยงต่อการทุจริต แล้วเราจะฟื้นฟูผลกระทบเหล่านี้ได้อย่างไร ?

KRAC The Experience | EP 8: Networks is in every way, Offline and Online Against Corruption

“การทำงานเป็นเครือข่ายจะช่วยเสริมสร้างการทำงานต่อต้านคอร์รัปชันอย่างไร ?” เรามีคำตอบมาให้จากแนวทางการขับเคลื่อนการต่อต้านคอร์รัปชันที่เกิดขึ้นในระดับโลก🌏 ร่วมไขข้อสงสัยได้ที่ KRAC The Experience ตอน Networks is in every way, Offline and Online Against Corruption