บทความวิจัย : การทุจริตเชิงโครงสร้างในระบบเลือกตั้ง

การพิจารณาปัญหาการทุจริตการเลือกตั้งในการเลือกตั้งแต่ละระบบ และปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการทุจริตการเลือกตั้ง เพื่อเป็นข้อมูลและฐานในการถกเถียงเกี่ยวกับระบบการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต

 

ระบบเลือกตั้งเป็นประเด็นปัญหาสำคัญประการหนึ่งที่จะมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงไปทุกครั้งที่มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ประกาศบังคับใช้ แสดงให้เห็นถึงการขาดระบบการเลือกตั้งซึ่งเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง โดยการแก้ไขระบบการเลือกตั้งในปัจจุบัน มักมีการพิจารณาประเด็นการทุจริตการเลือกตั้งอันจะนำมาซึ่งผลการเลือกตั้งที่ไม่เป็นไปตามหลักพื้นฐานของระบบการเลือกตั้ง

บทความนี้ จึงต้องการนำเสนอแนวคิดในการพิจารณาระบบการเลือกตั้ง ข้อมูลระบบการเลือกตั้งและการทุจริตที่ได้มีการศึกษาขึ้นในต่างประเทศ เพื่อชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของระบบเลือกตั้งกับการทุจริตและรวมถึงปัจจัยสำคัญต่างๆ ที่มีผลต่อการทุจริตการเลือกตั้ง เพื่อเป็นข้อมูลและฐานในการถกเถียงเกี่ยวกับระบบการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต

ผลการศึกษาพบว่า การเลือกตั้งระบบเขตเดียวเบอร์เดียวล้วนกับระบบผสมมีการทำผิดเลือกตั้งในระดับที่สูงกว่าระบบสัดส่วนล้วนอย่างมีนัยสำคัญ โดยระดับของการทำผิดเลือกตั้งของแต่ละระบบเรียงตามลำดับคือ ระบบเขตเดียวเบอร์เดียว ระบบผสม และตามด้วยระบบสัดส่วน เมื่อพิจารณาถึงปัจจัยที่แปรผันตามที่ตั้งของแต่ละกลุ่มประเทศ พบว่า กลุ่มประเทศอดีตสหภาพโซเวียตและอดีตยูโกสลาเวียล้วนมีการทำผิดเลือกตั้งในระดับที่สูงกว่ากลุ่มประเทศในยุโรปกลาง อย่างไรก็ตามเมื่อนำปัจจัยเรื่องระบบการเลือกตั้งและปัจจัยอื่น ๆ เข้ามาใช้พิจารณาร่วมด้วย

ผลการวิเคราะห์ชี้ว่า ประเทศที่ตั้งอยู่ในกลุ่มอดีตสหภาพโซเวียตไม่ได้สัมพันธ์กับระดับของการทำผิดในระดับที่สูงขึ้น แต่ในประเทศที่ตั้งอยู่ในอดีตยูโกสลาเวีย มีโอกาสที่การเลือกตั้งจะอยู่ในระดับที่คุณภาพต่ำกว่า ซึ่งอาจเป็นผลมาจากที่ประเทศต่าง ๆ เหล่านี้ มีประสบการณ์ความขัดแย้งอย่างรุนแรงเป็นผลทำให้กลุ่มชนชั้นนำในสังคมมีความเชื่อมั่นลดลงในกระบวนการเลือกตั้ง

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

preechasinlapakun, somchai. (2020). การทุจริตเชิงโครงสร้างในระบบเลือกตั้ง. King Prajadhipok’sInstitute Journal, 7(1). 

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2563
ผู้แต่ง

รศ. สมชาย ปรีชาศิลปกุล

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

โครงการศึกษาเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาต โดยใช้อำนาจรัฐ

ศึกษาการตรวจสอบดุลพินิจของฝ่ายปกครองในการออกใบอนุญาต และศึกษากฎหมายต่างประเทศเพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ

โครงการศึกษามาตรการแทรกแซงตลาดข้าวเพื่อป้องกันการทุจริต: การแสวงหาค่าตอบแทนส่วนเกินและเศรษฐศาสตร์การเมืองของโครงการรับจำนำข้าวเปลือก

เพื่อประมาณการต้นทุน รายรับ การขาดทุน ต้นทุนสวัสดิการสังคมของโครงการรับจํานําข้าวเปลือก และประมาณการผลตอบแทนส่วนเกินที่ตกแก่กลุ่มบุคคลต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์การแสวงหาค่าเช่า และศึกษาการทุจริตของผู้ที่เกี่ยวข้อง

โครงการพัฒนากฎหมายป้องกันและปราบปรามการทุจริต

เพื่อศึกษาเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 244 มาตรา 245 ประกอบมาตรา 221 เกี่ยวกับการวางระบบการร่วมมือกันทำงานขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เพื่อกำหนดมาตรการ และวิธีการทำงานร่วมมือกันของ
องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตเชิงนโยบายอย่างมีประสิทธิภาพ
ประสิทธิผล

You might also like...

KRAC Hot News I ปลดล็อกรังนกจากถ้ำสู่บ้านอย่างไร ให้โปร่งใสไร้ทุจริต

การส่งออกรังนกไทยมีมูลค่าสูงขึ้นเรื่อย ๆ ตามความต้องการของผู้บริโภค ธุรกิจรังนกจึงสร้างรายได้มหาศาลให้กับเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน แต่หากขาดการกำกับดูแลให้โปร่งใส อาจจะก่อให้เกิดผลเสียมหาศาลกับธุรกิจไทยได้

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | “ธรรมาภิบาล” หลักการที่ยืดหยุ่น พร้อมสร้างประสิทธิภาพ

เคยสงสัยไหมว่าทำไมหลักธรรมาภิบาลของแต่ละองค์กรถึงดูไม่เหมือนกัน บางองค์กรมี 6 หลัก บางองค์กรมี 8 หลัก ความจริงแล้วหลากหลายองค์กรทั่วโลกล้วนมีการวางแนวคิดเกี่ยวกับธรรมาภิบาลที่ต่างกัน โดยงานวิจัยเรื่อง “โครงการวิจัยพัฒนาฐานข้อมูล องค์ความรู้ด้านธรรมาภิบาล (ระยะที่ 2)” (2563) ได้ศึกษาเรื่องนี้เอาไว้

โครงการวิจัยพัฒนาฐานข้อมูลองค์ความรู้ด้านธรรมาภิบาล (Phase 2)

การศึกษาเพื่อสร้างตัวชี้วัดสำหรับการประเมินและติดตามการนำหลักธรรมาภิบาลไปใช้ในการบริหารจัดการขององค์กรในประเทศไทย พบว่า มีความเหมาะสมในการนำไปใช้ในระดับมาก และยังสามารถปรับปรุงดัชนีชี้วัดบางตัวเพื่อให้สอดคล้องการทำงานของแต่ละหน่วยงานได้