ลงมือสู้โกง : ศิลปินไส้แห้ง : คุณค่าแห่งความสร้างสรรค์ที่ถูกเมินเฉย

“ศิลปินไส้แห้ง” ใครหลายๆ คนอาจเคยได้ยินคำนี้มาตั้งแต่เด็ก ผู้เขียนเองก็ได้ยินคำนี้มาตั้งแต่สมัยช่วงวัยเด็กเหมือนกัน เคยสงสัยไหมว่า ทำไมสังคมไทยถึงมีการพูดแบบนี้มาอย่างยาวนาน บางครั้งมันทำให้เด็กบางคนไม่กล้าที่จะทำตามความฝันของตัวเอง เพราะกลัวว่าจะกลายเป็น “ศิลปินไส้แห้ง” เหมือนที่ใครๆ เขาบอกกันมา

การเป็นศิลปินในประเทศนี้เป็นเรื่องยาก จริงหรือ? ถ้าตอบว่าไม่จริงก็คงไม่ได้ เพราะก็มีศิลปินหลายๆ คนเหมือนกันที่กำลังพยายามพาตัวเองไปอยู่ในจุดที่ประสบความสำเร็จจากสิ่งที่ทำอยู่ แต่ก็ไปไม่ถึงจุดนั้นเพราะด้วยปัจจัยหลายๆ อย่าง แต่ถ้าตอบว่าจริงก็คงไม่ได้อีกเช่นกันเพราะก็มีศิลปินหลายๆ คนที่ประสบความสำเร็จเช่นเดียวกัน แต่กว่าพวกเขาจะประสบความสำเร็จนั้น อาจต้องแลกด้วยอะไรหลายๆ อย่างทั้งเวลาเกือบทั้งชีวิต รวมทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ต้องพยายามสร้างสรรค์ผลงานออกมาให้คนภายนอกเห็น เพื่อที่จะได้ประสบความสำเร็จในสิ่งที่ตนเองเลือกทำ ทั้งหมดที่กล่าวมาพวกเขาเหล่านั้นพยายามทำมันเพราะรักในสิ่งนั้น บางคนอาจจะมีคนรอบตัวคอยสนับสนุน แต่บางคนก็พยายามด้วยตัวเองผู้เขียนพยายามเน้นคำว่าพวกเขาประสบความสำเร็จด้วย “ตัวเอง” เพราะศิลปินอิสระเหล่านี้อาจไม่ได้มีสวัสดิการอะไรมารองรับพวกเขาเลย เพราะเป็นอาชีพอิสระ ทุกงานที่ทำขึ้นมา อุปกรณ์วาดรูปต่างๆ ที่มีต้นทุนค่อนข้างสูง ทุกอย่างล้วนมาจากการหาเงินมาสนับสนุนตนเอง เพื่อให้ได้มีงานออกมาสู่สายตาสังคม ถ้าบอกว่ารัฐไม่ช่วยอะไรก็อาจจะพูดไม่ได้ทั้งหมด เพราะก็มีสวัสดิการประกันสังคมสำหรับอาชีพอิสระอยู่เหมือนกัน เช่น ม.40 แต่ถามว่าในยุคเศรษฐกิจแบบนี้ กับผลตอบแทนที่ได้จากประกันสังคมนี้คุ้มค่าหรือไม่ เพียงพอหรือเปล่า บอกได้เลยว่าไม่พอต่อการดำรงชีวิตแน่นอ

นอกจากจะต้องมี Passion กับสิ่งที่ทำแล้ว ก็ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า “เงิน” ก็เป็นปัจจัยสำคัญของอาชีพนักสร้างสรรค์เหมือนกัน เพราะสิ่งที่พวกเรากำลังทำอยู่นั้นล้วนมีค่าใช้จ่ายทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าที่พัก หรือค่าอาหารในการดำรงชีวิตในแต่ละวัน มันทำให้เราไม่สามารถทำงานอาชีพนี้เพียงอย่างเดียวได้ จากแวดวงคนรอบตัวของผู้เขียนที่เป็นนักวาดภาพประกอบด้วยกัน ล้วนมีอาชีพหลักเป็นพนักงานออฟฟิศ เกือบทั้งหมด สิ่งที่ชอบกลายมาเป็นงานอดิเรกแทน แต่ผู้เขียนเองค่อนข้างโชคดีที่ได้ทำทั้งสองอย่างควบคู่ไปด้วยกัน แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกคนจะโชคดีแบบนี้เสมอไป ผู้เขียนเองคิดว่ามันเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก ที่จะเป็นศิลปินแล้วสามารถอยู่ได้ด้วยอาชีพนี้เป็นหลัก

ศิลปะแสดงออกถึงความเหลื่อมล้ำอย่างไรที่สังเกตได้เลยก็คือ สถานที่จัดแสดงงานศิลปะ ส่วนใหญ่จะอยู่ในกรุงเทพฯ แต่ต่างจังหวัดแทบจะไม่มีพื้นที่ให้ศิลปินได้นำผลงานมาแสดงเลย มันทำให้เห็นว่ารัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ได้มีการจัดการหรือให้ความสำคัญเรื่องนี้ได้ดีพอ เพราะถ้ามีการสนับสนุนแรงงานสร้างสรรค์ ต่างจังหวัดจะมีพื้นที่แสดงผลงานศิลปะมากกว่านี้ แล้วศิลปินที่อยู่ต่างจังหวัดก็ไม่จำเป็นต้องแบกความฝันมาไว้ในกรุงเทพฯ เช่นเดียวกันคนรอบตัวของผู้เขียนเองก็ประสบกับปัญหานี้ล่าสุดได้มีการมาจัดแสดงงานที่หอศิลป์แห่งหนึ่ง ในกรุงเทพฯ ค่าใช้จ่ายทุกอย่างต้องออกเองทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นค่าสมัคร ค่าเวลาในการจัดแสดงงาน ค่าเดินทางมาจากต่างจังหวัด ค่าที่พักในระหว่างรองานจัดแสดง ไม่รวมค่าอาหารที่ต้องจ่ายในแต่ละมื้อ ค่าเสียเวลาในการเดินทางเพื่อเอางานมาจัดแสดง ยิ่งตอกย้ำให้เห็นว่าทุกอย่างที่เกิดขึ้นเราเป็นคนสนับสนุนตัวเองทั้งหมด รวมถึงอุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ผลงานด้วย

คุณ “ไนล์-เกศนคร พจนวรพงษ์” ผู้ก่อตั้ง “สหภาพแรงงานสร้างสรรค์แห่งประเทศไทย” (Creative Workers Union Thailand) ร่วมกับ คุณ “อิง-ไชยวัฒน์ วรรณโคตร” ได้ให้สัมภาษณ์กับ urban creature ว่า “คุณไนล์เองที่เป็นนักเขียนการ์ตูนรู้เลยว่าประเทศเราไม่ได้มีอะไรมาสนับสนุนอาชีพนี้อย่างจริงจัง พอช่วง COVID-19 หลายสำนักพิมพ์ก็ต้องปิดตัวไป จากการทำหนังสือการ์ตูนเล่มๆ กลายมาเป็นการ์ตูนเว็บแทน แต่ค่าตอบแทนค่อนข้างที่จะน้อยมาก เพื่อนนักเขียนของคุณไนล์หลายคนก็ไม่สามารถขอวีซ่าแล้วระบุว่าเราเป็นอาชีพนักเขียนได้ เพราะประเทศเราไม่ได้มีอะไรมารองรับอาชีพเหล่านี้เลย”

ผู้เขียนขอพาผู้อ่านไปทำความรู้จักกับหนึ่งในประเทศที่ให้การสนับสนุนศิลปิน นั้นก็คือ ประเทศฟินแลนด์ ประเทศเล็กๆ ที่อยู่ในแถบสแกนดิเนเวียที่เริ่มมีรัฐสวัสดิการมาตั้งแต่ปี 1980 แถมยังเป็นประเทศที่ประชากรมีความสุขมากเป็นอันดับ 1 ของโลกอีกด้วย(World happiness report, 2022) ปฏิเสธไม่ได้ว่าเพราะการมีรัฐสวัสดิการที่ครอบคลุม และเหมาะสมกับเศรษฐกิจก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้คนมีความสุขแต่การที่จะมีสิ่งเหล่านี้ได้นั้นบางครั้งเราก็ต้องมีการออกมาเรียกร้อง เพื่อสิทธิประโยชน์ของเราเอง สหภาพศิลปินแห่งฟินแลนด์จึงเป็นส่วนสำคัญในการทำให้ชาวศิลปินฟินแลนด์ได้รับสวัสดิการเหล่านี้ การให้สวัสดิการของที่ฟินแลนด์นั้น ไม่จำเป็นที่จะต้องมีชื่อเสียง คนธรรมดาก็สามารถขอทุนเพื่อไปทำงานสร้างสรรค์จากรัฐบาลได้เลย โดยทางรัฐบาลจะสนับสนุนให้ศิลปินเป็นรายเดือน

ผู้เขียนจึงมองเห็นแนวทางในการแก้ปัญหานี้โดยการนำหลักการมีส่วนร่วม มาปรับใช้เพื่อให้ศิลปินทุกคนนั้นได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็น และมาแชร์ประสบการณ์ร่วมกันเพื่อใช้ข้อมูลเหล่านี้มาช่วยสนับสนุนให้ สหภาพแรงงานสร้างสรรค์ (Creative Workers Union Thailand : CUT) ของประเทศไทยให้เข้มแข็งและในอนาคตสามารถทำให้รัฐบาลหันมาสนับสนุนแรงงานสร้างสรรค์ได้อย่างดีเหมือนประเทศฟินแลนด์

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2565
ผู้แต่ง

ภาณุวัฒน์ ศรีสมร

หน่วยงานสนับสนุน

หัวข้อ
Related Content

แนวหน้าต่อต้านคอร์รัปชัน : เวทีต้านโกงระดับโลก เขาพูดคุยอะไรกัน

4 ประเด็นน่าสนใจจาก “Summit for Democracy 2023” การประชุมระดับโลกเมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา ผศ. ดร.ต่อภัสสร์ ยมนาค ผู้ร่วมก่อตั้งและที่ปรึกษา HAND Social Enterprise HANDSocialEnterprise ได้รับเชิญจากรัฐบาลเกาหลีใต้ให้ไปร่วมเสวนาในงาน Summit for Democracy 2023 หัวข้อหลักงานปีนี้คือ “การต่อต้านคอร์รัปชัน” เชื่อมโยงคำอธิบายว่า การคอร์รัปชันบ่อนทำลายประชาธิปไตย ในทางกลับกันประเทศที่ประชาธิปไตยไม่เข้มแข็งจะทำให้คอร์รัปชันสูงขึ้น

แนวหน้าต่อต้านคอร์รัปชัน : เปิดตัว KRAC ศูนย์ความรู้ต้านโกง

คอร์รัปชันเป็นปัญหาที่มีความซับซ้อนอย่างมาก ถ้าไม่แก้ไขทุกมิติอย่างครอบคลุมผลที่ตามมาอาจกลายเป็นเพิ่มปัญหาให้สังคมได้ จึงต้องใช้วิธีที่มีประสิทธิภาพ หนึ่งในนั้นคือการใช้ความรู้ทางวิชาการ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติจึงได้ร่วมมือกับคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ จัดตั้ง “ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค” (Knowledge hub for Regional Anti-corruption and good governance Collaboration: KRAC) ขึ้น เมื่อ 24 เมษายนที่ผ่านมา

แนวหน้าต่อต้านคอร์รัปชัน : สื่อสารต้านโกงอย่างไร ถึงได้ผล

ในหลายๆ ครั้งที่ผมได้มีโอกาสไปบรรยายเรื่องการต่อต้านคอร์รัปชันให้กับผู้ฟังซึ่งเป็นทั้งเจ้าหน้าที่รัฐ นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ข้อแนะนำหนึ่งที่มักจะได้มาคือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรสื่อสาร นำเสนอเรื่องราวของผลกระทบจากการคอร์รัปชันที่รุนแรง เพื่อให้สังคมหวาดกลัวการคอร์รัปชันและรังเกียจคนคอร์รัปชัน เป็นการใช้พลังสังคมเพื่อกดดันให้ “คนโกงไม่มีที่ยืนในสังคม”

You might also like...

KRAC Hot News I ปลดล็อกรังนกจากถ้ำสู่บ้านอย่างไร ให้โปร่งใสไร้ทุจริต

การส่งออกรังนกไทยมีมูลค่าสูงขึ้นเรื่อย ๆ ตามความต้องการของผู้บริโภค ธุรกิจรังนกจึงสร้างรายได้มหาศาลให้กับเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน แต่หากขาดการกำกับดูแลให้โปร่งใส อาจจะก่อให้เกิดผลเสียมหาศาลกับธุรกิจไทยได้

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | “ธรรมาภิบาล” หลักการที่ยืดหยุ่น พร้อมสร้างประสิทธิภาพ

เคยสงสัยไหมว่าทำไมหลักธรรมาภิบาลของแต่ละองค์กรถึงดูไม่เหมือนกัน บางองค์กรมี 6 หลัก บางองค์กรมี 8 หลัก ความจริงแล้วหลากหลายองค์กรทั่วโลกล้วนมีการวางแนวคิดเกี่ยวกับธรรมาภิบาลที่ต่างกัน โดยงานวิจัยเรื่อง “โครงการวิจัยพัฒนาฐานข้อมูล องค์ความรู้ด้านธรรมาภิบาล (ระยะที่ 2)” (2563) ได้ศึกษาเรื่องนี้เอาไว้

โครงการวิจัยพัฒนาฐานข้อมูลองค์ความรู้ด้านธรรมาภิบาล (Phase 2)

การศึกษาเพื่อสร้างตัวชี้วัดสำหรับการประเมินและติดตามการนำหลักธรรมาภิบาลไปใช้ในการบริหารจัดการขององค์กรในประเทศไทย พบว่า มีความเหมาะสมในการนำไปใช้ในระดับมาก และยังสามารถปรับปรุงดัชนีชี้วัดบางตัวเพื่อให้สอดคล้องการทำงานของแต่ละหน่วยงานได้