Free Course - e-Certificate

หลักสูตรการส่งเสริมธรรมาภิบาลและการต่อต้านคอร์รัปชันร่วมสมัย (Contemporary Good Governance and Anti-Corruption) 

จัดทำโดย

เชื่อว่าเราทุกคนต่างเห็นตรงกันว่าคอร์รัปชันเป็นเรื่องที่ส่งผลกระทบเชิงลบให้กับสังคม อย่างไรก็ตามการจะต่อสู้กับคอร์รัปชันจำเป็นต้องมีพื้นฐานองค์ความรู้ และทำความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบและกลไกที่สลับซับซ้อนของการคอร์รัปชันเพื่อต่อต้านให้อยู่หมัด

KRAC จึงอยากชวนทุกคนมาเรียนรู้กับ หลักสูตรการส่งเสริมธรรมาภิบาลและการต่อต้านคอร์รัปชันร่วมสมัย (Contemporary Good Governance and Anti-Corruption) ซึ่งเป็นหลักสูตรที่เกิดขึ้นภายใต้เป้าหมายการเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ (Learn) ของโครงการศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค (Knowledge hub for Regional Anti-corruption and good governance Collaboration : KRAC) เพื่อที่จะพัฒนาหลักสูตรและกิจกรรมการเรียนรู้การต่อต้านคอร์รัปชันที่ผสานกับองค์ความรู้ด้านต่าง ๆ เพื่อสอดคล้องกับการขับเคลื่อนงานของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กร ชุมชน หรือภาคส่วนต่าง ๆ 

 

หลักสูตรนี้ ครอบคลุมการเรียนรู้ทั้งแนวคิด ทฤษฎี เเละเเนวทางปฏิบัติ ผ่านตัวอย่างกรณีศึกษาใหม่ ๆ สอดแทรกไปกับองค์ความรู้ที่สอดคล้องกับการดำเนินงานขององค์กรที่ทำงานด้านการต่อต้านคอร์รัปชันในปัจจุบัน อีกทั้ง ยังแนะนำการใช้ข้อมูลเพื่อการต่อต้านคอร์รัปชันอีกด้วย ซึ่งในหลักสูตรนี้ บรรยายโดยนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านการต่อต้านคอร์รัปชัน และการส่งเสริมธรรมาภิบาลจากหลากหลายภาคส่วนทั้งภาควิชาการ เเละภาคเอกชน
 
โดยมีหัวข้อการเรียนรู้ทั้งหมด 6 หัวข้อ สอนโดย 6 ผู้เชี่ยวชาญ ดังนี้
  1. หัวข้อ “คอร์รัปชันและการส่งเสริมธรรมาภิบาลในบริบทสากล”
    โดย ผศ. ดร.ต่อภัสสร์ ยมนาค ผู้อำนวยการศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจในความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวกับการคอร์รัปชัน และการป้องกันการคอร์รัปชันในองค์กรตามหลักธรรมาภิบาล
  2. หัวข้อ“สถานการณ์และการคาดการณ์สถานการณ์คอร์รัปชันประเทศไทย”
    โดย ดร.มานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) เพื่ออธิบายถึงสถานการณ์คอร์รัปชันในประเทศไทย และแนวโน้มของการคอร์รัปชันในปัจจุบัน รวมถึงสามารถวิเคราะห์และคาดการณ์สถานการณ์คอร์รัปชันในอนาคตได้ 
  3. หัวข้อ “เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม วัฒนธรรมองค์กร และการส่งเสริมแนวปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลและการต่อต้านคอร์รัปชัน” 
    โดย ผศ. ดร.ธานี ชัยวัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมและการทดลองแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นการนำเสนอถึงการประยุกต์ใช้แนวคิดและแนวปฏิบัติเรื่องเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมและวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเสริมสร้างความเป็นผู้นำในการส่งเสริมแนวปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลและการต่อต้านคอร์รัปชัน 
  4. หัวข้อ “การใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ข้อมูล เพื่อการต่อต้านการทุจริตและยกระดับธรรมาภิบาลในองค์กรภาครัฐและเอกชน” 
    โดย ผศ. ดร.พีรพัฒ โชคสุวัฒนสกุล อาจารย์พิเศษด้านกฎหมายและเศรษฐศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่จะมาบอกเล่าถึงการประยุกต์ใช้ข้อมูลเชิงลึกที่เกี่ยวกับเครื่องมือและเทคนิคของวิทยาศาสตร์ข้อมูล  (Data Science) ในการป้องกันการทุจริตและส่งเสริมธรรมาภิบาล 
  5. หัวข้อ “กฎหมายและมาตรการที่เกี่ยวข้องในการต่อต้านคอร์รัปชันตามกฎหมายไทยและมาตรฐานสากล” 
    โดย ผศ. ดร.ปารีณา ศรีวนิชย์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อให้ความรู้ในเรื่องของแนวปฏิบัติทางด้านการปรับปรุงกฎร+ะเบียบ มาตรการ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อการต่อต้านคอร์รัปชันตามกฎหมายไทยและในระดับสากล 
  6. หัวข้อ “แนวทางการต่อต้านคอร์รัปชันและส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับเอกชน” 
    โดย คุณพรหเมศร์ เบ็ญจรงค์กิจ ผู้อำนวยการแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (CAC) เพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์คอร์รัปชันของประเทศไทยในมุมมองของภาคเอกชน และแนวปฏิบัติในการส่งเสริมการต่อต้านคอร์รัปชันในภาคธุรกิจ
วิทยากร: นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านการต่อต้านคอร์รัปชัน
วิทยากรผู้เชี่ยวชาญ

หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ

  • นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไป: ที่สนใจศึกษาเรื่องคอร์รัปชันและหลักธรรมาภิบาล และต้องการเรียนรู้ทักษะที่เกี่ยวข้องกับแนวปฏิบัติด้านการต่อต้านคอร์รัปชัน (Corruption Literacy) และการส่งเสริมธรรมาภิบาล

  • ผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมธรรมาภิบาลในองค์กรหรือหน่วยงาน: ที่ต้องการพัฒนาองค์ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านคอร์รัปชันและการส่งเสริมธรรมาภิบาล เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงกับบริบทของหน่วยงานและองค์กร

 

สิ่งที่คุณจะได้รับจากหลักสูตรนี้

  1. เพิ่มทักษะและองค์ความรู้ ปฏิบัติด้านการป้องกันการคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลร่วมสมัยในประเด็นที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน

  2. รู้เท่าทันสถานการณ์คอร์รัปชันและธรรมาภิบาลที่เกิดขึ้นในสังคมไทยและสังคมโลก และทำความรู้จักเครื่องมือ และกลไกในการส่งเสริมธรรมาภิบาลและป้องกันการทุจริต เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ต่อไปในอนาคต

  3. สร้างความตื่นตัวและตระหนักต่อปัญหาคอร์รัปชันในปัจจุบัน ที่จะนำไปสู่การมีส่วนร่วมในการต่อต้านคอร์รัปชันตามหลักธรรมาภิบาลอย่างยั่งยืนในอนาคต

การประเมินผล

ผู้เรียนจะได้รับการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบย่อย (Quiz) และแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest)  โดยผู้เรียนจะต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป และเรียนจบภายในเวลาที่กำหนด จึงจะสามารถขอรับประกาศนียบัตรรับรองการจบหลักสูตรได้ 

 

ความร่วมมือในการพัฒนาหลักสูตร

หลักสูตรนี้เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่าง โครงการศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค (Knowledge hub for Regional Anti-corruption and good governance Collaboration : KRAC) ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และดำเนินการร่วมกับคณะเศรษฐศาสตร์ และคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย), แนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (CAC) และ HAND Social Enterprise

ภาษา
  • ไทย
เหมาะกับใคร
  • นักเรียน นักศึกษา
  • บุคคลทั่วไปที่สนใจ
  • ผู้ปฏิบัติงานด้านต่อต้านคอร์รัปชัน
ระยะเวลาในการเรียนรู้
  • 9 ชั่วโมง 5 นาที
รูปแบบการเรียนรู้
  • Video

  • Online Testing

  • E-Certificate

ประเด็นหัวข้อที่สำคัญ
Related Content

The Fight Against Corruption Certificate

หลักสูตรออนไลน์ระยะสั้นจาก UNODC และ UN Global Compact : เรียนรู้เกี่ยวกับการต่อต้านการทุจริตภายใต้หลักการของ UN Global Compact ข้อที่ 10 ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน แรงงาน สิ่งแวดล้อม และการต่อต้านคอร์รัปชัน และ UN Convention against Corruption ในการนำไปประยุกต์ใช้กับผู้ที่ทำงานในภาคเอกชน

Measuring anti-corruption compliance in your company

หลักสูตรออนไลน์จาก UNGC Academy : เรียนรู้การวัดประเมินผลการปฏิบัติตามมาตรการต่อต้านการทุจริตในบริษัท โดยนำเสนอข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับกลยุทธ์ของการวัดผลที่มีประสิทธิภาพ ตัวบ่งชี้สำคัญ และแนวปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพในการประเมินผล

E-Learning : Taking Collective Action For Anti-Corruption

หลักสูตรออนไลน์จาก UNGC Academy : ทำความเข้าใจว่าแนวร่วมปฏิบัติ (Collective Action) ในการต่อต้านการทุจริตคืออะไร และมีประโยชน์อย่างไรต่อธุรกิจของคุณ โดยเรียนรู้ผ่านกรณีศึกษาที่ประสบความสำเร็จจากทั่วโลก เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับองค์กร/หน่วยงานในการป้องกันและลดความเสี่ยงการทุจริตในภาคธุรกิจอย่างเป็นรูปธรรม

You might also like...