Fraud and Corruption Prevention in Public Procurement
เรียนรู้การป้องกันการฉ้อโกงและการคอร์รัปชันในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ เพื่อส่งเสริมความโป่รงใสในการจัดซื้อจัดจ้างสาธารณะ โดยมีตัวอย่างแนวปฏิบัติที่ดีจากทั่วโลก
หลักสูตรออนไลน์โดย The International Anti-Corruption Academy (IACA) ได้รับการออกแบบและพัฒนาโดยคณาจารย์ของ IACA ประกอบด้วยนักวิชาการชั้นนำระดับนานาชาติ และผู้ปฏิบัติงาน เพื่อเสริมสร้างโอกาสการเรียนรู้สำหรับผู้ปฎิบัติงานด้านการต่อต้านคอร์รัปชัน เเละช่วยเพิ่มพูนความรู้ เพิ่มเติมทักษะในการต่อต้านคอร์รัปชันที่สอดคล้องกับวิชาชีพหรือความสนใจ
หัวข้อการเรียนรู้
หลักสูตรนี้ ดำเนินการร่วมกับ United Nations Office for Project Services (UNOPS) เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการฉ้อโกงและการคอร์รัปชันในการจัดซื้อจัดจ้างสาธารณะ มีเป้าหมายเพื่อให้ข้อมูลเบื้องต้นเชิงปฏิบัติเกี่ยวกับความเสี่ยงของการคอร์รัปชัน และการฉ้อโกงในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ รวมถึงวิธีลดความเสี่ยงตามแนวทางปฏิบัติในระดับสากล โดยมีตัวอย่างแนวปฏิบัติที่ดีจากทั่วโลก เพื่อเน้นย้ำว่าระบบต่อต้านการคอร์รัปชันที่แข็งแกร่ง จะช่วยสนับสนุนการจัดซื้อจัดจ้างให้มีความโปร่งใสเพิ่มขึ้นได้ ประกอบด้วยหัวข้อการเรียนรู้ ดังนี้
- คำแนะนำของสหประชาชาติเกี่ยวกับการต่อต้านการคอร์รัปชันในการจัดซื้อจัดจ้าง
แนวคิดและคำจำกัดความของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน
ความขัดแย้งระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม
ความท้าทายในการประมูลงานและวิธีการแก้ไข
ความซื่อสัตย์ของเจ้าหน้าที่และพนักงานประมูลในการปฏิบัติตามข้อกำหนดของหน่วยงานหรือองค์กร
วิทยากร
- Professor Christopher YUKINS, Co-director of the government procurement law program at George Washington University Law School
การประเมินผล
- เมื่อเรียนครบทุกหัวข้อและผ่านการทำเเบบทดสอบ จะได้รับประกาศนียบัตรจากองค์กร
- อังกฤษ
- บุคคลทั่วไปที่สนใจ
- ผู้ปฏิบัติงานด้านการต่อต้านคอร์รัปชัน
- 6 ชั่วโมง
- กำหนดให้เรียนจบภายใน 30 วัน
- Self-Learning
- Interactive Video
- Online Testing
- E-Certificate
ห้องเรียนออนไลน์ | Virtual Museum
หัวข้อการเรียนรู้ การคิดแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม เป็นการทำความเข้าใจ ทฤษฎี ความหมาย และรูปแบบของการขัดผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม วิธีคิดแบบฐาน 10 (Analog Thinking) /ฐาน 2 (Digital Thinking) และการคิดแบบไหน..ไม่ทุจริต
หลักสูตรสร้างวิทยากรผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมไม่ทนต่อการทุจริต (พ.ศ.2561)
เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับการคิดแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม ความอายและความไม่ทนต่อการทุจริต
หลักสูตรการป้องกันการขัดกันแห่งผลประโยชน์ | สำนักพัฒนาและส่งเสริมธรรมาภิบาล สำนักงาน ป.ป.ช.
เพื่อสร้างเสริมความรู้ให้กับเจ้าหน้าที่รัฐเเละผู้ที่สนใจเกี่ยวกับการขัดกันเเห่งผลประโยชน์ ประกอบด้วยกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กรณีศึกษา และเเนวทางปฎิบัติเพื่อป้องกันการขัดกันเเห่งผลประโยชน์