คิดยกกำลังสอง : ข้อมูลแบบเปิด…เกิดประโยชน์ต่อใคร I TDRI
จัดทำโดย
คลิปความรู้จากรายการ คิดยกกำลังสอง เปิดโลกแห่งความคิดกับผู้รู้จากต่างวงการที่จะมาจับประเด็นเท่าทันเหตุการณ์ วิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจไทย ต่างประเทศ และนโยบายสาธารณะ กับ ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์
รัฐบาลหลายประเทศเดินหน้าเปิดเผยข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่สังคม หรือ open data เพื่อสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจและคุ้มครองสังคม เช่น หลายธุรกิจเติบโตจากการนำข้อมูลด้านอสังหาริมทรัพย์ ด้านจราจรของรัฐมาต่อยอดจนเกิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจมหาศาล หรือแม้แต่ข้อมูลช่วยตามหาคนหายจากกรณีภัยพิบัติ
แต่สำหรับประเทศไทย รัฐบาลมีความพยายามเปิดเผยข้อมูลสอดรับกับนโยบายรัฐบาลดิจิทัล แต่ข้อมูลแบบเปิดยังไม่ได้มาตรฐานสากลเพราะ ต้องเสียค่าใช้จ่าย เข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ยังไม่เต็มที่ ติดตาม การวิเคราะห์และข้อเสนอต่อทิศทางของรัฐบาลต่อนโยบายข้อมูลแบบเปิด ในคิดยกกำลังสอง ตอน “ข้อมูลแบบเปิด…เกิดประโยชน์ต่อใคร” โดยสรุปหัวข้อที่น่าสนใจ ดังนี้
- ยกตัวอย่างการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐของประเทศสหรัฐอเมริกา
- ข้อมูลเปิด คืออะไร มีประโยชน์อย่างไรต่อเศรษฐกิจเเละสังคม
- สำรวจข้อมูลเปิดภาครัฐของไทย
- สรุปข้อเสนอเเนะในการจัดทำนโยบายข้อมูลแบบเปิดของไทย
ผู้ที่สนใจสามารถติดตามการวิเคราะห์สถานการณ์และนโยบายเพื่อการพัฒนาประเทศ กับ ทีดีอาร์ไอ โดย ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ได้ทุกวันจันทร์ เวลา 21.30 – 21.40 น. ในรายการทันโลก กับ ที่นี่ Thai PBS
- ไทย
- บุคคลทั่วไปที่สนใจ
- 6 นาที 39 วินาที
- Video
สื่อเรียนรู้การเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ | สำนักพัฒนาและส่งเสริมธรรมาภิบาล สำนักงาน ป.ป.ช.
คลิปความรู้จาก สำนักพัฒนาและส่งเสริมธรรมาภิบาล สำนักงาน ป.ป.ช. : หน่วยงานของรัฐยุคดิจิทัล ต้องเปิดเผย โปร่งใส ตรวจสอบได้ แล้วต้องทำอย่างไรเพื่อยกระดับการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ คลิปนี้มีคำตอบ
สรุปผลการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โครงการออกแบบและทดลองต้นแบบรัฐสภาแบบเปิดกับการสร้างความโปร่งใส
ร่วมออกแบบ Platform เพื่อสร้างการมีส่วนร่วม และทำให้ประชาชนสนใจรัฐสภามากที่สุด ไปกับทีม SIAM Lab ร่วมกับ ELECT ในงานวิจัยเรื่อง รัฐสภาแบบเปิดกับการสร้างความโปร่งใส (Open Parliament and Comprehensive Transparency)
ลดคอร์รัปชันได้ ถ้ารัฐสภาไทยเปิดข้อมูลให้เข้าถึงง่าย | Hidden Agenda EP 4 [สนับสนุนโดยกองทุน ป.ป.ช.]
ทำไมเราถึงเข้าถึงข้อมูลรัฐสภาไทยยากจัง… ตอนไปเลือกตั้งเราเคยรู้มั้ยว่านักการเมือง ผู้แทนฯ หรือ ส.ส. ที่เรากำลังจะเลือกเขาไปทำหน้าที่แทนเรานั้นเขามีผลงานอะไรบ้าง หรือทำตามที่เคยให้สัญญากับเราไว้แค่ไหน ?