สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)

วิสัยทัศน์

สพร. เป็นกลไก สนับสนุน เชื่อมโยงการขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัล (Enabling Agile Government)

พันธกิจ
  1. พัฒนา บริหารจัดการ และให้บริการโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีดิจิทัลและระบบการให้บริการ หรือแอปพลิเคชัน
    พื้นฐานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลดิจิทัล
  2. จัดทํามาตรฐาน แนวทาง มาตรการ หลักเกณฑ์ และวิธีการทางเทคโนโลยีดิจิทัล และกระบวนการดําเนินงาน เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลและระบบการทํางานระหว่างกันของหน่วยงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความสอดคล้องกัน
  3. ส่งเสริมและสนับสนุนการบูรณาการและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานของรัฐ การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล และเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนทะเบียนข้อมูลดิจิทัลภาครัฐ เพื่ออํานวยความสะดวกในการให้บริการประชาชนและในการดําเนินงานของหน่วยงานของรัฐ
  4. ส่งเสริมและสนับสนุนให้หน่วยงานของรัฐให้บริการดิจิทัลแก่ผู้เกี่ยวข้อง
  5. พัฒนาบริการดิจิทัลภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว ที่ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมั่นคงปลอดภัย
  6. ให้คําปรึกษาและสนับสนุนหน่วยงานของรัฐในการบริหารจัดการโครงการด้านเทคโนโลยีดิจิทัล รวมถึงส่งเสริม สนับสนุน ให้บริการวิชาการ และจัดอบรมเพื่อยกระดับทักษะความรู้ความสามารถของเจ้าหน้าที่ของรัฐด้านรัฐบาลดิจิทัล
  7. ศึกษา วิจัย สร้างนวัตกรรม และส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการ งานวิจัยและนวัตกรรมในการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
  8. สนับสนุนการดําเนินงานของหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบในการจัดทํากรอบการจัดสรรงบประมาณ บูรณาการประจําปีที่เกี่ยวกับการดําเนินงานด้านรัฐบาลดิจิทัล ตลอดจนสนับสนุนการติดตามและประเมินผลการดําเนินงานตามแผนงานและแผนระดับชาติที่เกี่ยวกับรัฐบาลดิจิทัล
  9. ดําเนินการอื่นเพื่อพัฒนารัฐบาลดิจิทัลตามที่กฎหมายกําหนดหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
ที่ตั้ง

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.)
ชั้น 17 อาคารบางกอกไทยทาวเวอร์ 108 ถนนรางน้ำ แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ติดต่อองค์กร

Facebook: DGA Thailand

Tel: 02 612 6011-12

Email: contact@dga.or.th

Related Content

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ต่อภัสสร์ ยมนาค

ตำแหน่งปัจจุบัน อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้อำนวยการศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค ผู้ร่วมก่อตั้งและที่ปรึกษา บริษัท แฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด กรรมการบริหารองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) กรรมการมูลนิธิองค์การกระจายเสียงเเละเเพร่ภาพสาธารณะเเห่งประเทศไทย (มูลนิธิ Thai PBS) สังกัด คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ต่อภัสสร์ ยมนาค ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค (KRAC) ซึ่งเป็นศูนย์ที่จัดตั้งขึ้นสำหรับการศึกษาเกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชัน แบบสหวิทยาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ต่อภัสสร์ ยังเป็นผู้ร่วมก่อตั้งและเป็นหัวหน้าที่ปรึกษาของบริษัท แฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด ซึ่งเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมที่จะนำความรู้วิชาการมาพัฒนาโครงการต่อต้านการทุจริต พร้อมกับการสร้างระบบนิเวศในการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชันในประเทศไทยและในภูมิภาคอาเซียน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธานี ชัยวัฒน์

ตำแหน่งปัจจุบัน อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้อำนวยการ ศูนย์เศรษฐศาสตร์พฤติกรรมและการทดลองแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประธานคณะกรรมการ ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชันและส่งเสริมธรรมาภิบาล สังกัด คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธานี ชัยวัฒน์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธานี ชัยวัฒน์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์เศรษฐศาสตร์
พฤติกรรมและการทดลองแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ซึ่งเป็นศูนย์ที่จัดตั้งขึ้นสำหรับการศึกษาเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์เชิงทดลอง ซึ่งเป็นศาสตร์ที่นำเอาหลักการของการทดลองทางวิทยาศาสตร์เข้ามาตอบคำถามทางเศรษฐศาสตร์ ผศ. ดร.ธานี ชัยวัฒน์ เป็นผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์การศึกษาเกี่ยวการวิจัยหลากหลายชิ้นซึ่งเป็นรากฐานองค์ความรู้ด้านการต่อต้านคอร์รัปชันในประเทศไทย เช่น โครงการวิจัยเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน ระยะที่ 2 โครงการสำรวจการรับรู้การทุจริตของประเทศไทยครัวเรือน โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาเครื่องมือการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) เพื่อยกระดับดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions

บริษัท แฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จํากัด

บริษัท แฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด มีจุดมุ่งหมายในการส่งเสริมด้านธรรมาภิบาลและการต่อต้านคอร์รัปชันอย่างมีประสิทธิภาพ และมุ่งเน้นให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างกลไกต้านโกงด้วยหลักธรรมาภิบาลผ่านงานวิชาการและการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์

You might also like...