การทุจริตและระดับความเสี่ยงต่อการกระทำการทุจริตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่ภาค 4

การทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง เป็นการทุจริตที่พบมากที่สุดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่สำนักงาน ป.ป.ช. ภาค 4 โดยพบว่าองค์การบริหารส่วนจังหวัดและเทศบาลเมืองมีระดับความเสี่ยงที่จะเกิดการทุจริตมากที่สุดเมื่อพิจารณาตามประเภทองค์การ
การทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560

การนำฐานข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างมาใช้ในการตรวจสอบดูแลและจำกัดการใช้ดุลยพินิจ รวมถึงการเปิดเผยข้อมูลเพื่อให้เกิดความโปร่งใสและให้ความรู้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้าง จะช่วยป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐเพื่อไม่ให้เกิดการเอื้อประโยชน์กับพวกพ้อง
การศึกษาปรับปรุงกฎหมายการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐเพื่อสร้างความโปร่งใสเป็นธรรม คุ้มค่า และเอื้อต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย

พ.ร.บ. การจัดซื้อจัดจ้างฯ พ.ศ. 2560 สามารถช่วยประหยัดงบประมาณภาครัฐด้านการก่อสร้างลงร้อยละ 22 แต่ยังพบปัญหาในด้านการให้สิทธิแก่หน่วยงานรัฐเป็นฝ่ายได้เปรียบโดยไม่แยกแยะประโยชน์สาธารณะ และเน้นเกณฑ์ราคามากกว่าความคุ้มค่า ซึ่งอาจส่งผลต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมก่อสร้างในประเทศ
บทความวิจัย: การขจัดปัญหาทุจริตคอร์รัปชันในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐในประเทศไทย

การจัดการปัญหาคอร์รัปชันในการจัดซื้อจัดจ้างด้วยการปลูกฝังจริยธรรมและคุณธรรมอาจไม่เห็นผลในทันที เนื่องจากกระบวนการนี้ต้องใช้เวลาหลายชั่วอายุคน เพื่อหาทางออกที่เห็นผลในระยะสั้นและเป็นรูปธรรม บทความนี้จึงนำเสนอแนวทางที่มีประสิทธิภาพและสามารถปรับใช้ได้อย่างรวดเร็ว
บทความวิจัย | การปฏิรูปกฎหมายว่าด้วยสัญญาของรัฐในโครงการจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จ

การศึกษาปัญหาและสาเหตุเกี่ยวกับสัญญาของรัฐในโครงการจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จ เพื่อเสนอมาตรการและกลไกทางกฎหมายในกระบวนการต่าง ๆ ของการทำสัญญาจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จ อันจะนำไปสู่การป้องกันและปราบปรามการทุจริตที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
บทความวิจัย | การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจของการทุจริตคอร์รัปชันในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

การทุจริตคอร์รัปชันในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ คือ การสมคบการทุจริตคอร์รัปชัน เช่น การปลอมแปลงเอกสาร การฉ้อโกง และการทุจริตของเจ้าหน้าที่รัฐในการปฏิบัติหน้าที่ เช่น ความล่าช้าในการปฏิบัติงาน การยึดเอาวัตถุประสงค์รองมาเป็นวัตถุประสงค์หลัก
บทความวิจัย | การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการป้องกันการทุจริต การศึกษาเชิงประจักษ์ของประเทศไทย

การศึกษาการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชัน พบว่า การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในโครงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐทำให้การดำเนินงานมีความโปร่งใสมากขึ้น
ประเทศไทยจะลดการฮั้วประมูลงานก่อสร้างในภาครัฐได้อย่างไร? บทสรุปจากค่ายสัมมนาเชิงปฏิบัติการ Infrastructure Anti-Corruption Accelerator (IACA) Thailand Bootcamp มีคำตอบ

คุณศุภวิชญ์ แก้วคูนอก ผู้จัดการศูนย์ KRAC ร่วมงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ Infrastructure Anti-Corruption Accelerator (IACA) Thailand Bootcamp ในระหว่างวันที่ 13-15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567