อาจารย์เปรม ธนไตรภพ

ตำแหน่งปัจจุบัน หัวหน้าสำนักงานคณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา สังกัด คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา อาจารย์เปรม ธนไตรภพ อาจารย์เปรม ธนไตรภพ เป็น หัวหน้าสำนักงานคณะครุศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ปัจจุบัน อาจารย์เปรม ธนไตรภพ เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการร่างและพัฒนาหลักสูตรด้านการต่อต้านการคอร์รัปชัน และส่งเสริมคุณธรรมทั้งในระดับมหาวิทยาลัย และหลักสูตรภาคบังคับในโรงเรียน โดยอาจารย์เปรม ธนไตรภพ เป็นคณะทำงานการสร้างรายวิชาวัยใสใจสะอาด ที่ใช้สอนในหลักสูตรศึกษาทั่วไป (General Education) มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และเป็นคณะกรรมการดำเนินงานโครงการสร้างองค์ความรู้ประกอบหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา พ.ศ. 2564 รายวิชาการต้านทุจริตในยุคการเปลี่ยนฉับพลันทางเทคโนโลยี โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก กองทุนคณะกรรมการ ป.ป.ช. ประจำปีงบประมาณ 2567 ผลงานที่เกี่ยวข้อง (Related works) รายวิชาวัยใสใจสะอาด ใช้สอนในหลักสูตรศึกษาทั่วไป (General education) มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา องค์ความรู้ประกอบหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา พ.ศ.2564 รายวิชาการต้านทุจริตในยุคการเปลี่ยนฉับพลันทางเทคโนโลยี หัวข้อ ความเชี่ยวชาญ หลักสูตรด้านการต่อต้านคอ์รัปชัน ภูมิภาคที่มีความเชี่ยวชาญ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศที่มีความเชี่ยวชาญ ประเทศไทย อีเมลสำหรับติดต่อ prem.th@ssru.ac.th You might […]
อาจารย์สมชาย ธรรมสุทธิวัฒน์

ตำแหน่งปัจจุบัน อาจารย์ประจำสำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง สังกัด สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง อาจารย์สมชาย ธรรมสุทธิวัฒน์ อาจารย์สมชาย ธรรมสุทธิวัฒน์ เป็นอาจารย์ประจำสำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ตั้งแต่ปี 2546 อาจารย์สมชาย ธรรมสุทธิวัฒน์ จบการศึกษาระดับปริญญาโทในสาขากฎหมายสาธารณะ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีประสบการณ์เป็นทนายความสำหรับบริษัท เช่น บางกอกแอร์เวย์ และเป็นอดีตอาจารย์ประจำที่มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น การวิจัยของอาจารย์สมชาย ธรรมสุทธิวัฒน์ มุ่งเน้นศึกษาประเด็นการต่อต้านการคอร์รัปชัน กฎหมายสิ่งแวดล้อม นโยบายที่ดินและป่า กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ และการขนส่งระหว่างประเทศระหว่างประเทศไทยกับประเทศในภูมิภาคเอเชีย และมีประสบการณ์ในการเป็นหัวหน้าโครงการวิจัยจำนวนมาก ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากองค์กรด้านการวิจัย เช่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และผลงานตีพิมพ์ในวารสารกฎหมาย ผลงานที่เกี่ยวข้อง (Related works) สมชาย ธรรมสุทธิวัฒน์. (2567). การต่อต้านการทุจริต. ธรรมสุทธิ. สมชาย ธรรมสุทธิวัฒน์. (2561). โครงการการพัฒนาความร่วมมือและยกระดับการป้องกันการทุจริตในประเทศไทย: ศึกษาประสบการณ์ประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. Somchai Thamsutiwat. (2015). The Analysis […]
รองศาสตราจารย์ ดร.รัตพงษ์ สอนสุภาพ

ตำแหน่งปัจจุบัน อาจารย์ประจำวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต ผู้อำนวยการ สถาบันประเทศไทยต่อต้านการทุจริตแห่งมหาวิทยาลัยรังสิต(Director of Thailand Anti-Corruption Academy :TACA) สังกัด วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต รองศาสตราจารย์ ดร.รัตพงษ์ สอนสุภาพ รองศาสตราจารย์ ดร.รัตพงษ์ สอนสุภาพ เป็นนักวิชาการที่มีความเชี่ยวชาญด้านการต่อต้านการคอร์รัปชันและ การทุจริต จบการศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาการพัฒนาธรรมาภิบาล จากมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันประเทศไทยต่อต้านการทุจริตแห่งมหาวิทยาลัยรังสิต รศ. ดร.รัตพงษ์ สอนสุภาพ เคยดำรงตำแหน่งสำคัญหลายตำแหน่ง เช่น กรรมการบัณฑิตวิทยาลัย กรรมการวิชาการ และคณะกรรมการต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยรังสิตและหน่วยงานอื่น ๆ นอกจากนั้นยังเป็นที่ปรึกษาทางด้านการต่อต้านคอร์รัปชันให้กับหน่วยงานราชการหลายแห่ง นอกจากนี้ รศ. ดร.รัตพงษ์ สอนสุภาพ ยังมีผลงานวิจัยและหนังสือที่สำคัญหลายเรื่อง อาทิ หนังสือ “ทุนขุนนาง (พ.ศ. 2500 – 2516)” ที่ศึกษาโครงสร้างสังคมไทยและปัญหาการทุจริตในยุคสมัยรูปแบบการปกครองแบบเผด็จการทหาร และตำราเรียน เรื่อง “Good Governance […]
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธานี ชัยวัฒน์

ตำแหน่งปัจจุบัน อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้อำนวยการ ศูนย์เศรษฐศาสตร์พฤติกรรมและการทดลองแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประธานคณะกรรมการ ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชันและส่งเสริมธรรมาภิบาล สังกัด คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธานี ชัยวัฒน์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธานี ชัยวัฒน์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์เศรษฐศาสตร์ พฤติกรรมและการทดลองแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นศูนย์ที่จัดตั้งขึ้นสำหรับการศึกษาเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์เชิงทดลอง ซึ่งเป็นศาสตร์ที่นำเอาหลักการของการทดลองทางวิทยาศาสตร์เข้ามาตอบคำถามทางเศรษฐศาสตร์ ผศ. ดร.ธานี ชัยวัฒน์ เป็นผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์การศึกษาเกี่ยวการวิจัยหลากหลายชิ้นซึ่งเป็นรากฐานองค์ความรู้ด้านการต่อต้านคอร์รัปชันในประเทศไทย เช่น โครงการวิจัยเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน ระยะที่ 2 โครงการสำรวจการรับรู้การทุจริตของประเทศไทยครัวเรือน โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาเครื่องมือการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) เพื่อยกระดับดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index: CPI) ของประเทศไทย เป็นต้น ผศ. ดร.ธานี ยังมีความมุ่งมั่นในการผลักดันและส่งเสริมการสร้างจิตสำนึกในการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชัน การปฏิรูปการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ การสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน การสร้างความโปร่งใสของรัฐ และการมีส่วนร่วมของคนรุ่นใหม่ เพื่อช่วยเสริมสร้างธรรมาภิบาลและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน ผลงานที่เกี่ยวข้อง (Related works) ธานี ชัยวัฒน์ และคณะ. (2564). […]
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ต่อภัสสร์ ยมนาค

ตำแหน่งปัจจุบัน อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้อำนวยการศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค ผู้ร่วมก่อตั้งและที่ปรึกษา บริษัท แฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด กรรมการบริหารองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) กรรมการมูลนิธิองค์การกระจายเสียงเเละเเพร่ภาพสาธารณะเเห่งประเทศไทย (มูลนิธิ Thai PBS) สังกัด คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ต่อภัสสร์ ยมนาค ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค (KRAC) ซึ่งเป็นศูนย์ที่จัดตั้งขึ้นสำหรับการศึกษาเกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชัน แบบสหวิทยาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ต่อภัสสร์ ยังเป็นผู้ร่วมก่อตั้งและเป็นหัวหน้าที่ปรึกษาของบริษัท แฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด ซึ่งเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมที่จะนำความรู้วิชาการมาพัฒนาโครงการต่อต้านการทุจริต พร้อมกับการสร้างระบบนิเวศในการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชันในประเทศไทยและในภูมิภาคอาเซียน ในปี พ.ศ. 2565 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ต่อภัสสร์ ได้รับรางวัล International Anticorruption Champions จากกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยผลงานที่โดดเด่นในด้านต่อต้านการทุจริตและส่งเสริมการสร้างธรรมาภิบาลที่ครอบคลุมในประเทศไทย นอกจากนี้ ผศ. ดร.ต่อภัสสร์ ยังเป็นนักวิจัยและผู้ริเริ่มในการประยุกต์นำเอาเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยมาใช้ในการสร้างความร่วมมือระหว่างองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อช่วยป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน ผศ. […]