บทความวิจัย | มรดกเชิงพลวัตรผ่านกระบวนทรรศน์ทั้งห้ากับการแก้ไขทุจริต: การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์และวิธาน

ในมุมมองทางปรัชญา คอร์รัปชันเป็นการทำลายระบบที่มีอยู่อันเป็นอุปสรรคไม่ให้เป็นไปตามระบบที่ควรจะเป็น ซึ่งปัญหานี้สามารถจัดการได้ด้วยแนวทางของปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง
บทความวิจัย | การเปิดรับสื่อ ความตระหนัก และทัศนคติที่มีต่อการมีส่วนร่วมในการสร้างเครือข่ายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันในเขตกรุงเทพมหานคร

สื่อโฆษณารณรงค์ขององค์กรต่อต้านคอร์รัปชันสัมพันธ์กับพฤติกรรมและการตระหนักรู้ของประชาชน ซึ่งสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการสร้างเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชันในระดับของการให้และได้รับข้อมูล รวมถึงการสร้างความร่วมมือวางแผนร่วมกัน
บทความวิจัย | กระบวนการเสริมสร้างความรู้และควบคุมคอร์รัปชันโดยพระสงฆ์จังหวัดเพชรบุรี

กระบวนการเสริมสร้างความรู้และควบคุมคอร์รัปชันโดยพระสงฆ์จำเป็นต้องเน้นย้ำทั้งหลักพระธรรมวินัยและหลักกฎหมาย เพื่อการป้องกันและการควบคุมการทุจริตอย่างมีประสิทธิภาพ
บทความวิจัย | การสร้างเสริมความโปร่งใสและความสามารถรัฐบาลไทยในการจัดการในยุคการแข่งขันจักรวรรดิ์นิยมใหม่

การจัดการปัญหาทุจริตของประเทศไทยมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่อดีต แต่ยังไม่สามารถจัดการปัญหาได้ จากการศึกษาจึงเสนอให้สร้างกลไกการเปิดเผยข้อมูล พัฒนากฎหมายให้มีชัดเจน จัดการข้อมูลข่าวสารให้เป็นจริง และบ่มเพาะจิตใจเจ้าหน้าที่รัฐและสมาชิกสังคมด้วยหลักพุทธธรรม
บทความวิจัย | การพัฒนาชุดหนังสือนิทานปลูกจิตสํานึกในใจเด็กปฐมวัยต่อต้านการทุจริตคอรัปชัน

จากการพัฒนาชุดหนังสือนิทานปลูกจิตสํานึกในใจเด็กปฐมวัยต่อต้านการทุจริตคอรัปชัน พบว่า นิทานปลูกจิตสำนึกฯ ช่วยเพิ่มความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการต่อต้านการทุจริตคอรัปชันของเด็กและทำให้เด็กมีพฤติกรรมต่อต้านการทุจริตคอรัปชันมากขึ้นเมื่อเทียบกับก่อนการใช้นิทานปลูกจิตสำนึกฯ
บทความวิจัย | การสร้างแอปพลิเคชัน “โตไปไม่โกง” เรื่องการทุจริตคอร์รัปชันตามแนวคิดโรงเรียนสุจริตสําหรับเยาวชนของชาติ

การศึกษาประสิทธิภาพของแอปพลิเคชัน “โตไปไม่โกง” เรื่องการทุจริตคอร์รัปชันตามแนวคิดโรงเรียนสุจริตสําหรับเยาวชนของชาติ พบว่า แอปพลิเคชันฯ มีประสิทธิภาพที่เหมาะสมสำหรับการนำไปช่วยพัฒนาความรู้ของผู้เรียน
บทความวิจัย | การสร้างความเข้มแข็งภาคประชาสังคมกับปัญหาการทุจริตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดภูเก็ต

การสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายประชาชนในจังหวัดภูเก็ต เพื่อให้สามารถติดตาม ปกป้อง ตรวจสอบการทุจริตได้นั้นต้องอาศัยการทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อให้เกิดความรู้สึกร่วมในการต่อต้านการทุจริต
บทความวิจัย | ภาคีเครือข่ายกับกลไกการป้องกันการทุจริตเลือกตั้งท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์

แนวทางของภาคีเครือข่ายในการดำเนินกลไกการป้องกันการทุจริตเลือกตั้งท้องถิ่น คือการส่งเสริมเครือข่ายภาคประชาชนให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับท้องถิ่นการปกครองของตนเอง และส่งเสริมการปกครองแบบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมของภาคประชาชน