บทความวิจัย | กระบวนการเสริมสร้างความรู้และควบคุมคอร์รัปชันโดยพระสงฆ์จังหวัดเพชรบุรี

กระบวนการเสริมสร้างความรู้และควบคุมคอร์รัปชันโดยพระสงฆ์จำเป็นต้องเน้นย้ำทั้งหลักพระธรรมวินัยและหลักกฎหมาย เพื่อการป้องกันและการควบคุมการทุจริตอย่างมีประสิทธิภาพ

บทความวิจัย | การสร้างเสริมความโปร่งใสและความสามารถรัฐบาลไทยในการจัดการในยุคการแข่งขันจักรวรรดิ์นิยมใหม่

การจัดการปัญหาทุจริตของประเทศไทยมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่อดีต แต่ยังไม่สามารถจัดการปัญหาได้ จากการศึกษาจึงเสนอให้สร้างกลไกการเปิดเผยข้อมูล พัฒนากฎหมายให้มีชัดเจน จัดการข้อมูลข่าวสารให้เป็นจริง และบ่มเพาะจิตใจเจ้าหน้าที่รัฐและสมาชิกสังคมด้วยหลักพุทธธรรม

KRAC Insight | รู้จัก PEPs เครื่องมือช่วยประชาชนสืบค้นข้อมูลการโกง เชื่อมโยงเครือข่ายคอร์รัปชัน

รู้จัก PEPs เครื่องมือช่วยประชาชนสืบค้นข้อมูลการโกง เชื่อมโยงเครือข่ายคอร์รัปชัน จากทีม Open Data ของเครือข่าย “SEA-ACN”

โครงการวิจัยพัฒนาฐานข้อมูลองค์ความรู้ด้านธรรมาภิบาล (Phase 2)

การศึกษาเพื่อสร้างตัวชี้วัดสำหรับการประเมินและติดตามการนำหลักธรรมาภิบาลไปใช้ในการบริหารจัดการขององค์กรในประเทศไทย พบว่า มีความเหมาะสมในการนำไปใช้ในระดับมาก และยังสามารถปรับปรุงดัชนีชี้วัดบางตัวเพื่อให้สอดคล้องการทำงานของแต่ละหน่วยงานได้

บทความวิจัย | การพัฒนาชุดหนังสือนิทานปลูกจิตสํานึกในใจเด็กปฐมวัยต่อต้านการทุจริตคอรัปชัน

จากการพัฒนาชุดหนังสือนิทานปลูกจิตสํานึกในใจเด็กปฐมวัยต่อต้านการทุจริตคอรัปชัน พบว่า นิทานปลูกจิตสำนึกฯ ช่วยเพิ่มความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการต่อต้านการทุจริตคอรัปชันของเด็กและทำให้เด็กมีพฤติกรรมต่อต้านการทุจริตคอรัปชันมากขึ้นเมื่อเทียบกับก่อนการใช้นิทานปลูกจิตสำนึกฯ

บทความวิจัย | การสร้างแอปพลิเคชัน “โตไปไม่โกง” เรื่องการทุจริตคอร์รัปชันตามแนวคิดโรงเรียนสุจริตสําหรับเยาวชนของชาติ

การศึกษาประสิทธิภาพของแอปพลิเคชัน “โตไปไม่โกง” เรื่องการทุจริตคอร์รัปชันตามแนวคิดโรงเรียนสุจริตสําหรับเยาวชนของชาติ พบว่า แอปพลิเคชันฯ มีประสิทธิภาพที่เหมาะสมสำหรับการนำไปช่วยพัฒนาความรู้ของผู้เรียน

บทความวิจัย | การสร้างความเข้มแข็งภาคประชาสังคมกับปัญหาการทุจริตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดภูเก็ต

การสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายประชาชนในจังหวัดภูเก็ต เพื่อให้สามารถติดตาม ปกป้อง ตรวจสอบการทุจริตได้นั้นต้องอาศัยการทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อให้เกิดความรู้สึกร่วมในการต่อต้านการทุจริต

บทความวิจัย | เครือข่ายการต่อต้านทุจริตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในกลุ่มข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ

ในการแก้ไขปัญหาการทุจริตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทย ควรเริ่มจากการก่อตั้งเครือข่ายการต่อต้านทุจริตในองค์กรเพื่อให้เกิดการกระตุ้นให้เกิดจิตสำนึกภายใน จากนั้นจึงควรสร้างเครือข่ายร่วมกับกลุ่มของภาคประชาชนเพื่อต่อต้านการทุจริต