KRAC The Experience | EP 1 “เรียนรู้เรื่องการต่อต้านคอร์รัปชันผ่านโครงการ Eisenhower Fellowships ”

“KRAC The Experience” คอนเทนต์ใหม่แกะกล่องของ KRAC ! ที่จะพาทุกคนมาเรียนรู้เรื่องการต่อต้านคอร์รัปชันผ่านการเดินทางไปที่สหรัฐอเมริกา ในโครงการ Eisenhower Fellowships 🌎✈️

Eisenhower Fellowships ก่อตั้งขึ้นในปี 1953 ที่ฟิลาเดลเฟีย สหรัฐอเมริกา เพื่อสานต่อปณิธานของอดีตประธานาธิบดี Dwight D. Eisenhower ในการพัฒนาและสร้างเครือข่ายผู้นำทั่วโลก

 

มุ่งเน้นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวคิดในด้านต่าง ๆ เพื่อสร้างความเข้าใจและความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยเสริมสร้างขีดความสามารถผ่านการแลกเปลี่ยนความคิดและการมีส่วนร่วมในการสร้างสันติภาพ รวมถึงการพัฒนาด้านต่าง ๆ เช่น การต่อต้านคอร์รัปชัน การพัฒนาเมือง สุขภาพ เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม


หนึ่งในผู้ที่ได้รับทุน Eisenhower Fellowships ในปี 2024 คือ “ผศ. ดร.ต่อภัสสร์ ยมนาค” ผู้อำนวยการศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค (KRAC) จากการนำเสนอ “โครงการ Open Data for Anti-Corruption” เพื่อไปพบกับผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ และองค์กรที่ทำงานเกี่ยวกับการต่อต้านคอร์รัปชันและการเปิดเผยข้อมูลทั่วสหรัฐฯ ซึ่งอาจารย์ต่อภัสสร์มีเป้าหมายที่จะศึกษาวิธีการนำข้อมูลเปิด (Open Data) มาใช้ในการเสริมสร้างความโปร่งใสและพัฒนาแนวทางการต่อต้านคอร์รัปชันในไทยต่อไป

ในการเดินทางทั่วสหรัฐอเมริกาครั้งนี้อาจารย์ต่อภัสสร์ได้มีโอกาสพบปะกับบุคคลจากภาคส่วนต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่น ๆ ทั้งนักวิชาการ ผู้ปฏิบัติงานต่อต้านคอร์รัปชัน เจ้าหน้าที่รัฐ นักข่าว และบุคลากรจากองค์กรภาคประชาสังคม ทำให้ได้เรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เพื่อหาวิธีขยายผลกระทบในการต่อต้านการคอร์รัปชัน รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพและพัฒนากลยุทธ์ในการต่อสู้กับการคอร์รัปชัน !

นอกจากเดินทางไปเพื่อเรียนรู้แล้ว… อาจารย์ต่อภัสสร์ยังได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานในประเทศไทยด้วยการใช้ข้อมูลเปิดเพื่อการต่อต้านคอร์รัปชัน ที่ทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลที่สำคัญ และตรวจสอบการทำงานของภาครัฐได้อย่างโปร่งใส โดยนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ อย่างเครื่องมือ “ACT Ai” แพลตฟอร์มตรวจสอบความโปร่งใส และรวบรวมข้อมูลโครงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ เพื่อเป็นฐานข้อมูลที่ประชาชนสามารถร่วมตรวจสอบได้ ซึ่งถือเป็นการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบข้อมูลที่ส่อแววทุจริต และทำให้การตรวจสอบมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ในปัจจุบันประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาคอร์รัปชันในหลายด้าน “การใช้ข้อมูลเปิด” จึงเป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญของการแก้ไขปัญหานี้ เพราะข้อมูลเปิดเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความโปร่งใสในการดำเนินงานของภาครัฐ และการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบของภาคประชาชน ซึ่งประสบการณ์ของอาจารย์ต่อภัสสร์จากการเดินทางในครั้งนี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินการต่อต้านคอร์รัปชันในประเทศไทย เพื่อเสริมสร้างความโปร่งใสและลดโอกาสการเกิดคอร์รัปชันได้อีกด้วย

Eisenhower Fellowships ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของ “ความร่วมมือระหว่างประเทศในการต่อสู้กับปัญหาคอร์รัปชัน” จากการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และแนวปฏิบัติที่ดีระหว่างประเทศต่าง ๆ ที่สามารถนำไปสู่การพัฒนากลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นในการต่อต้านการทุจริต ! นอกจากนี้การสร้างเครือข่ายระหว่างประเทศยังช่วยในการติดตามและป้องกันการคอร์รัปชันข้ามพรมแดน ซึ่งเป็นปัญหาที่ทวีความซับซ้อนมากขึ้นในปัจจุบัน และการเรียนรู้จากการเดินทางของอาจารย์ต่อภัสสร์ในครั้งนี้ไม่เพียงแต่เป็นโอกาสในการเรียนรู้ และแบ่งปันประสบการณ์เท่านั้น แต่ยังเป็นอีกก้าวสำคัญในการยกระดับการต่อต้านคอร์รัปชันในประเทศไทยอีกด้วย

แล้วสิ่งที่อาจารย์ต่อภัสสร์ได้เรียนรู้จากการเดินทางครั้งนี้จะมีประเด็นใดบ้าง ? สามารถติดตามได้ใน “KRAC The Experience” ที่เพจ KRAC Corruption และเว็บไซต์ KRAC Corruption เพื่อร่วมเรียนรู้การนำข้อมูลเปิดมาใช้ในการต่อต้านคอร์รัปชันไปด้วยกัน ! 🙌🏻

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
13 กันยายน 2567
ผู้แต่ง

ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค

หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
โลโก้คณะเศรษฐศาสตร์ (ภาษาไทย)

หัวข้อ
Related Content

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ตัดจบปัญหาคอร์รัปชัน ผ่านการสร้าง Big Data

Big Data มีความสำคัญอย่างมากในการต่อต้านคอร์รัปชัน เพราะสามารถนำข้อมูลการใช้จ่ายของรัฐที่ถูกจัดเก็บไว้มาวิเคราะห์หาความเสี่ยงในการคอร์รัปชันได้ หากใช้งานข้อมูลให้เป็น จะช่วยอุดช่องโหว่ความเสี่ยงคอร์รัปชันได้

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | 3 มุมมองจากผู้รู้ สู่การแก้โกงจากการใช้ดุลยพินิจของรัฐ

เมื่อดุลยพินิจมากเกินไป แก้อย่างไรถึงจะเห็นผล ? ในการกำหนดนโยบายและการดำเนินกิจการต่าง ๆ ของรัฐต่างก็ต้องมีคนที่เข้ามาทำหน้าที่บริหารจัดการ โดยสามารถใช้ดุลยพินิจของตนเพื่อตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ได้ แต่หลายครั้งการวินิจฉัยกลับไม่เป็นไปอย่างเที่ยงธรรม หรือเป็นการวินิจฉัยที่เบี่ยงเบนไปตามความพึงพอใจ อคติ หรือเพื่อผลประโยชน์บางอย่าง จนเกิดเป็นการ “ทุจริต”

KRAC The Experience | EP 4 “Tales of Transparency : Lesson learns from Georgia”

เปิดเผยข้อมูลแบบโปร่งใสอย่างสุดโต่ง คืออะไร ? วันนี้เรามีเรื่องน่าสนใจเกี่ยวกับข้อมูลเปิด (Open Data) มาเล่าให้คุณฟังกับ KRAC The Experience ตอน “Tales of Transparency : Lesson learns from Georgia”

You might also like...

บทความวิจัย : มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการ

แนวทางการดำเนินคดีสำหรับผู้ทุจริตการสอบคัดเลือกเข้ารับราชการ และเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาด้านการพัฒนากฎหมายการทุจริตการสอบคัดเลือกเข้ารับราชการ

บทความวิจัย : ทางออกการป้องกันและการปราบปรามทุจริตในสังคมไทย

แนวทางแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในสังคมไทยต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของสังคม รวมทั้งภาคประชาชนในการติดตามและตรวจสอบการทุจริตในภาครัฐ

บทความวิจัย : แนวทางพัฒนาจริยธรรมนักการเมืองไทย

การประเมินจริยธรรมของนักการเมืองโดยภาพรวมอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้น จึงควรมีมาตรการพัฒนาจริยธรรม มาตรการกำหนดคุณสมบัติด้านจริยธรรม และมาตรการกำหนดบทลงโทษในกรณีทำความผิด เพื่อยกระดับจริยธรรมในนักการเมืองให้สูงขึ้น