มิติทางเพศสภาพมีความสำคัญอย่างไรการต่อต้านการทุจริต และส่งเสริมธรรมาภิบาล? วงเสวนาของสหประชาชาติอาจมีคำตอบให้เราได้คิดต่อ

KRAC เข้าร่วมงานสัมมนาคู่ขนานของการประชุม “Asia-Pacific Ministerial Conference on the Beijing+30” จัดโดยสหประชาชาติ ภายใต้หัวข้อ “Inclusive Justice: Gender, Corruption and Good Governance – Experience from Indonesia, the Philippines and Thailand”  

 

ในระหว่างวันที่ 20 พฤศจิกายน .. 2567 คุณศุภวิชญ์ แก้วคูนอก ผู้จัดการศูนย์ KRAC ได้รับเชิญจาก United Nations Office on Drugs and Crime เข้าร่วมวงสัมมนา ภายใต้หัวข้อInclusive Justice: Gender, Corruption and Good Governance – Experience from Indonesia, the Philippines and Thailand 

 

โดยวัตถุประสงค์หลักของงานสัมมนาในครั้งนี้คือการเผยแพร่งานวิจัยเกี่ยวกับการต่อต้านการคอร์รัปชันในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผ่านแว่นตาด้านเพศสภาพ โดยถอดบทเรียนจากทั้งประเทศไทย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย 

บทสรุปในภาพรวมของงานสัมมนาในครั้งนี้ชี้ให้เราเห็นว่านโยบายด้านการต่อต้านคอร์รัปชันของทุกประเทศในภูมิภาคนี้ยังคงละเลยต่อมิติทางเพศสภาพ ไม่มีมาตรการเฉพาะสำหรับการปกป้องผู้แจ้งเบาะแสที่เป็นสตรี มีช่องว่างทางกฎหมายค่อนข้างมากในมิติทางเพศเกี่ยวกับการทุจริต 

 

นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอบทเรียนของการทำงานเรื่องการสร้างความยุติธรรมที่ครอบคลุมผ่านมิติทางด้านเพศสภาพของประเทศไทย  ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ทั้งงานด้านปราบปราม การออกกฎหมายใหม่ รวมถึงการสร้างการมีส่วมร่วม 

 

งานสัมมนานี้เน้นย้ำให้เห็นถึงความท้าทายและช่องว่างในการแก้ไขปัญหาการทุจริตทางเพศ รวมถึงข้อจำกัดทางกฎหมาย การตระหนักรู้ การรายงาน การตีตรา และการเยียวยาสำหรับเหยื่อ นอกจากนี้ ยังเน้นย้ำถึงจุดเชื่อมโยงระหว่างการทุจริตทางเพศกับจุดอ่อนอื่นๆ เช่น การค้ามนุษย์ และการแสวงประโยชน์จากแรงงานข้ามชาติหญิง 

 

โดยในช่วงท้ายของการสัมมนาได้มีการเปิดโอกาสให้มีการสักถามและแลกเปลี่ยนมุมมองกันอย่างอิสระระหว่างผู้เข้าร่วมงาน ซึ่งคุณศุภวิชญ์ แก้วคูนอก ได้ร่วมแลกเปลี่ยน และพูดคุยกับผู้บรรยาย ทั้งยังมีโอกาสประชาสัมพันธ์กิจกรรมของศูนย์ KRAC ที่จะเกิดขึ้นให้แก่ผู้เข้าร่วมสัมมนา และแลกเปลี่ยนช่องทางการติดต่อระหว่างองค์การ เพื่อการพัฒนาเครือข่ายและร่วมงานระหว่างกันต่อไปในอนาคต 

You might also like...