กระบวนการไต่สวนและการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งในระดับสูง: ในอำนาจหน้าที่ของ ป.ป.ช.

ศึกษาแนวคิด กระบวนการและวิธีปฏิบัติในการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง เพื่อสร้างข้อเสนอต่อการส่งเสริมกระบวนการถอดถอนที่เหมาะสมกับสภาพสังคมและการเมืองไทย

มาตรการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงตามที่บัญญัติเอาไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540  ระบุให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ทำหน้าที่เป็นผู้ไต่สวนชี้มูลความผิด และให้วุฒิสภาทำหน้าที่พิจารณาตัดสินถอดถอน นับว่าเป็นมาตรการหนึ่งในหลายมาตรการที่ถูกกำหนดขึ้น เพื่อทำหน้าที่ป้องกันและปราบปรามการทุจริตของนักการเมืองระดับชาติและข้าราชการระดับสูง

อย่างไรก็ดี มาตรการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งในระดับสูง เป็นมาตรการใหม่ที่ยังมีความสลับซับซ้อนในทางปฏิบัติ อีกทั้ง ตัวบทบัญญัติของกฎหมายเกี่ยวกับมาตรการดังกล่าว ต้องมีการตีความ จึงเป็นประเด็นที่ต้องตรวจสอบทบทวน และกำหนดวิธีปฏิบัติให้ชัดเจน เพื่อให้มาตรการที่กำหนดขึ้นใหม่สามารถปฏิบัติได้จริงตามเจตนารมณ์ของประชาชน ซึ่งสะท้อนออกมาในรูปของกฎหมาย

ด้วยเหตุนี้ งานวิจัยเรื่องนี้ จึงมุ่งศึกษาแนวคิด หลักการ กระบวนการและวิธีปฏิบัติในการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงในแต่ละขั้นตอน เพื่อสร้างข้อเสนอต่อการส่งเสริมกระบวนการถอดถอนที่เหมาะสมกับสภาพสังคมและการเมืองของไทย และอุดช่องโหว่ทางกฎหมาย

สรุปประเด็นจากงานวิจัย

  • ผลการศึกษากรณีศึกษาเปรียบเทียบจากต่างประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ฝรั่งเศส และเยอรมนี พบว่าเเต่ละประเทศ มีมาตรการในการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงแตกต่างกัน เช่น ฝรั่งเศสใช้ระบบผสมระหว่างกลไกฝ่ายนิติบัญญัติ และศาลสหรัฐอเมริกาใช้กลไกรัฐสภาทั้งหมด ในขณะที่แคนาดา ใช้ระบบศาลปกติ ส่วนประเทศไทย ใช้ระบบผสม ระหว่างองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ และฝ่ายนิติบัญญัติ คือวุฒิสภา

  • ผลจากการศึกษา พบว่ารูปแบบที่เหมาะสมกับประเทศไทย คือ ระบบศาลพิเศษ โดยมีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ทำหน้าที่ในกระบวนการไต่สวน และชี้มูลเบื้องต้น ทั้งนี้ การถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งออกจากตำแหน่งและลงโทษในชั้นอื่นเป็นหน้าที่ของระบบศาลพิเศษ คือ ศาลรัฐธรรมนูญ และศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

  • ผลจากการศึกษา พบว่ามาตรการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งในระดับสูงของประเทศไทย พิจารณาทั้งในด้านบทบัญญัติของกฎหมายอำนาจหน้าที่ และกระบวนการขั้นตอนการยื่นฟ้องการชี้มูลความผิดของสำนักงาน ป.ป.ช. รวมถึงวิธีปฏิบัติในการพิจารณาลงมติถอดถอนของวุฒิสภา พบว่ายังมีความไม่ชัดเจนในหลายจุด ทั้งในแง่ของการบริหารจัดการของสำนักงาน ป.ป.ช. เช่น อัตรากำลัง และความเชี่ยวชาญของเจ้าหน้าที่ไม่พอเพียงกับปริมาณงาน และไม่ครอบคลุมประเภทงานที่ต้องรับผิดชอบ ส่วนในทางการเมือง เกิดปัญหาความไม่สมดุลในการตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจ ระหว่างฝ่ายบริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติ รวมถึงองค์กรที่ทำหน้าที่ตรวจสอบโดยเฉพาะด้วย

  • ผลจากการศึกษาการรับรู้ของประชาชนทั่วไป พบว่ามาตรการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งในระดับสูงเป็นเรื่องไกลตัว และดูเหมือนว่าเป็นเรื่องเกินความสามารถที่จะเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย ยกเว้นนักการเมืองท้องถิ่นและข้าราชการที่รู้เรื่องมาตรการถอดถอนเบื้องต้นในสัดส่วนที่สูงพอสมควร เเต่ไม่มีความเชื่อมั่นว่ามาตรการการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งในระดับสูงจะมีผลในทางปฏิบัติมากนัก

  • คณะผู้วิจัย ได้จัดทำข้อเสนอเเนะต่อเเนวทางผลักดันให้มาตรการถอดถอนผู้ดำรงตำเเหน่งระดับสูงมีผลในทางปฏิบัติ เช่น ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวกับวิธีปฏิบัติในการดำเนินมาตรการถอดถอน โดยมุ่งเน้นการปรับปรุงแก้ไขในเรื่องอำนาจหน้าที่ของสำนักงาน ป.ป.ช. ในการไต่สวน เพื่อชี้มูลความผิด และการเพิ่มอัตรากำลังและความเชี่ยวชาญของเจ้าหน้าที่ การปฎิรูปโครงสร้างทางการเมืองที่เป็นการรวมศูนย์ผูกขาดอำนาจโดยพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียว และการกระตุ้นให้ประชาชนมีความตื่นตัวในผลที่เกิดจากการทุจริตของนักการเมือง และข้าราชการ เป็นต้น

เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

นิยม รัฐอมฤต. (2549). กระบวนการไต่สวนและการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งในระดับสูง : ในอำนาจหน้าที่ของ ป.ป.ช. สถาบันพระปกเกล้า.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2549
ผู้แต่ง
  • นิยม รัฐอมฤต
หน่วยงาน

หัวข้อ
Related Content

โครงการศึกษาเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาต โดยใช้อำนาจรัฐ

ศึกษาการตรวจสอบดุลพินิจของฝ่ายปกครองในการออกใบอนุญาต และศึกษากฎหมายต่างประเทศเพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ

โครงการศึกษามาตรการแทรกแซงตลาดข้าวเพื่อป้องกันการทุจริต: การแสวงหาค่าตอบแทนส่วนเกินและเศรษฐศาสตร์การเมืองของโครงการรับจำนำข้าวเปลือก

เพื่อประมาณการต้นทุน รายรับ การขาดทุน ต้นทุนสวัสดิการสังคมของโครงการรับจํานําข้าวเปลือก และประมาณการผลตอบแทนส่วนเกินที่ตกแก่กลุ่มบุคคลต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์การแสวงหาค่าเช่า และศึกษาการทุจริตของผู้ที่เกี่ยวข้อง

โครงการพัฒนากฎหมายป้องกันและปราบปรามการทุจริต

เพื่อศึกษาเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 244 มาตรา 245 ประกอบมาตรา 221 เกี่ยวกับการวางระบบการร่วมมือกันทำงานขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เพื่อกำหนดมาตรการ และวิธีการทำงานร่วมมือกันของ
องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตเชิงนโยบายอย่างมีประสิทธิภาพ
ประสิทธิผล

You might also like...

บทความวิจัย : ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสริมสร้างความร่วมมือและการควบคุมคอร์รัปชันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี

เมื่อการกระจายอำนาจกลับกลายเป็นการกระจายการทุจริตสู่ท้องถิ่น เพื่อยับยั้งปัญหาคอร์รัปชันในท้องถิ่น จึงต้องส่งเสริมการปกครองตามหลักธรรมาภิบาล (กรณีศึกษา จังหวัดเพชรบุรี)

KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I UNODC จับมือไนจีเรียจัดทำรายงานการทุจริตในไนจีเรีย ชี้ “การติดสินบนได้รับการยอมรับน้อยลง”

รายงานฉบับนี้มีชื่อว่า “การทุจริตในไนจีเรีย: รูปแบบและทิศทาง (Corruption in Nigeria: Patterns and Trends)” เป็นการสำรวจเกี่ยวกับการรับรู้การทุจริตของประชาชนในประเทศไนจีเรียจากประสบการณ์ของประชาชน นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์แนวโน้มการทุจริต ประสิทธิภาพของกลยุทธ์ และแนวทางการต่อต้านการทุจริตอีกด้วย

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : โกง (เรื่อง) กิน ฉ่ำๆ หม่ำๆ แบดกาย แบดกายหม่ำๆ

เมื่อวันแม่ที่ผ่านมาหลายๆ ท่านคงพาคุณแม่ไปทานข้าว หรืออาจกลับบ้านไปทานข้าวกับคุณแม่และครอบครัว เพราะสำหรับคนไทยแล้ว “อาหารเป็นเรื่องสำคัญ” ดังนั้นในวันสำคัญการนัดรวมตัวกันกินข้าวจึงเป็นเรื่องจำเป็น