ศึกษารูปแบบของกระบวนนําเสนอนโยบายด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของสังคมโดยฝ่ายการเมือง ที่เป็นสาเหตุของการทุจริตเชิงนโยบาย และพัฒนาเครื่องมือในทางกฎหมายเพื่อป้องกันปัญหา
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารวบรวมรูปแบบของกระบวนการนําเสนอนโยบายที่เป็นโครงการขนาดใหญ่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสําคัญของสังคม โดยฝ่ายการเมืองที่เป็นสาเหตุปัญหาการทุจริตนโยบายในประเทศไทย เพื่อพัฒนาเครื่องมือในทางกฎหมายในการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว
โดยใช้วิธีการศึกษาจากเอกสารที่เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และตัวอย่างกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นในประเทศไทย และบทกฎหมายของต่างประเทศ ได้เเก่ สหรัฐอเมริกา สิงค์โปร์ ญี่ปุ่น และฝรั่งเศส ตลอดจนการเก็บข้อมูลสัมภาษณ์เชิงลึกกับเจ้าหน้าที่รัฐ ภาคเอกชน และผู้ทรงคุณวุฒิ รวมถึงจัดประชุมกลุ่มย่อย และสัมมนารับฟังความคิดเห็นทั่วไป
สรุปประเด็นจากงานวิจัย
- ผลจากการศึกษา พบว่าการทุจริตเชิงนโยบาย มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับกระบวนการทางการเมืองและนักการเมือง หรือฝ่ายการเมืองที่มีอํานาจหน้าที่ในการกําหนดนโยบายสาธารณะของประเทศ โดยมีการวางแผนไว้ล่วงหน้าอย่างเป็นระบบ และมีแบบแผนในการดําเนินการตั้งแต่ต้นจนจบ เพื่อสร้างความชอบธรรม และไม่ขัดต่อกฎหมายดังนั้น จึงเป็นเรื่องยากในการติดตาม ตรวจสอบ หรือ แสวงหาหลักฐานในการพิสูจน์ความผิด ซึ่งปัญหาในลักษณะนี้เป็นข้อเท็จจริงที่พบได้จากการดําเนินคดีที่ผ่านมา ด้วยเหตุนี้ หากไม่มีการปรับปรุงและพัฒนามาตรการทางกฎหมายในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตเชิงนโยบายให้ครบถ้วน ตั้งแต่ขั้นตอนของการริเริ่มพิจารณานโยบายของรัฐบาล (โดยเฉพาะขนาดใหญ่) อาจจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาการทุจริตในเชิงนโยบายที่เกิดขึ้นในระบบการเมืองการปกครองไทยได้
- ผลจากการศึกษากรณีศึกษาในต่างประเทศ พบว่าการคอร์รัปชันอย่างเป็นระบบ (Systemic Corruption) มีลักษณะสําคัญ คือ การแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมการคอร์รัปชัน ที่อาศัยอํานาจในการกําหนดนโยบายสาธารณะ และอํานาจในการกํากับดูแลหน่วยงานรัฐของนักการเมืองที่สร้างเงื่อนไข เพื่อสนับสนุนการคอร์รัปชันในรูปแบบของการออกนโยบาย หรือแนวทางให้เจ้าหน้าที่ หรือหน่วยงานของรัฐ นําไปดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ที่ตนมีอยู่ตามกฎหมาย
- ผลจากการศึกษาปัญหาการทุจริตเชิงนโยบายที่เกิดขึ้นในประเทศไทย พบว่ามีลักษณะบ่งชี้ที่สอดคล้องกับต่างประเทศ คือ ข้อจํากัดของระบบควบคุมตรวจสอบที่ไม่สามารถสกัดกั้นการคอร์รัปชัน ตั้งแต่การวางนโยบาย เพราะไม่มีกลไกทางกฎหมายเปิดช่องไว้ อีกทั้ง การทุจริตที่มาจากบุคคล ซึ่งสังกัดฝ่ายรัฐบาลที่ครองเสียข้างมาก ทําให้กระบวนการตรวจสอบทางการเมืองโดยรัฐสภาไม่ได้ผล และที่สําคัญ คือ ไม่มีกฎหมายที่กําหนดข้อห้ามไว้
- ผลจากการศึกษา จึงนำมาสู่ข้อเสนอเเนะให้มีการวางกฎเกณฑ์การดําเนินงานโครงการตามนโยบายของรัฐบาล เเละตราเป็นพระราชบัญญัติการปรับปรุงข้อห้ามในการใช้นโยบายหาเสียงของพรรคการเมืองที่ต้องห้าม ให้มีความชัดเจนมากขึ้น โดยมุ่งไปที่ลักษณะของโครงการ 3 ประการที่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของกฎหมาย ได้แก่
- โครงการที่เป็นนโยบายระดับชาติ ซึ่งริเริ่มจากฝ่ายการเมืองระดับชาติ
- โครงการที่จะเกิดขึ้น มีการดําเนินการในวงกว้างที่ก่อผลกระทบต่อประชาชนจํานวนมาก
- มีมูลค่าการใช้จ่ายตามโครงการ หรือการลงทุนที่ค่อนข้างสูง และอาจมีผลกระทบต่อสถานะทางการเงินการคลังของประเทศ ซึ่งต้องมีการใช้เงิน หรือกู้ยืมเงินมากกว่า 1,000 ล้านบาท
อุดม รัฐอมฤต, วีรวัฒน์ จันทโชติ, ปกป้อง ศรีสนิท, วีรศักดิ์ แสงสารพันธ์, กรรภิรมย์ โกมลารชุน และกิตติพงศ์ กมลธรรมวงศ์. (2559). การทุจริตเชิงนโยบาย: มาตรการในทางกฎหมายเพื่อควบคุมและป้องกันปัญหาการทุจริตเชิงนโยบายในประเทศ. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.).
- อุดม รัฐอมฤต
- วีรวัฒน์ จันทโชติ
- ปกป้อง ศรีสนิท
- วีรศักดิ์ แสงสารพันธ์
- กรรภิรมย์ โกมลารชุน
- กิตติพงศ์ กมลธรรมวงศ์
โครงการเฝ้าระวังกฎระเบียบของรัฐ (Regulatory Watch)
เฝ้าระวังการออกกฎหมายที่เป็นพระราชบัญญัติ ซึ่งมีผลกระทบต่อสวัสดิภาพของประชาชนที่เกี่ยวข้องในวงกว้าง
โครงการศึกษาเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาต โดยใช้อำนาจรัฐ
ศึกษาการตรวจสอบดุลพินิจของฝ่ายปกครองในการออกใบอนุญาต และศึกษากฎหมายต่างประเทศเพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ
โครงการศึกษามาตรการแทรกแซงตลาดข้าวเพื่อป้องกันการทุจริต: การแสวงหาค่าตอบแทนส่วนเกินและเศรษฐศาสตร์การเมืองของโครงการรับจำนำข้าวเปลือก
เพื่อประมาณการต้นทุน รายรับ การขาดทุน ต้นทุนสวัสดิการสังคมของโครงการรับจํานําข้าวเปลือก และประมาณการผลตอบแทนส่วนเกินที่ตกแก่กลุ่มบุคคลต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์การแสวงหาค่าเช่า และศึกษาการทุจริตของผู้ที่เกี่ยวข้อง
โครงการพัฒนากฎหมายป้องกันและปราบปรามการทุจริต
เพื่อศึกษาเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 244 มาตรา 245 ประกอบมาตรา 221 เกี่ยวกับการวางระบบการร่วมมือกันทำงานขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เพื่อกำหนดมาตรการ และวิธีการทำงานร่วมมือกันของ
องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตเชิงนโยบายอย่างมีประสิทธิภาพ
ประสิทธิผล