การพัฒนาประเทศสิงคโปร์: กระบวนการ การเปลี่ยนผ่าน และความท้าทาย

ศึกษาข้อมูลการพัฒนาสิงคโปร์บนกรอบการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) และวิเคราะห์ประสบการณ์การพัฒนาในแต่ละมิติเพื่อจัดการต่อความท้าทายในแต่ละช่วงเวลาของการพัฒนาในอนาคต

งานวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลการพัฒนาสิงคโปร์ บนกรอบการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) ซึ่งครอบคลุม 4 มิติ ได้แก่ มิติการพัฒนาทางเศรษฐกิจ มิติการพัฒนาทางสังคม รวมถึงการเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมของสิงคโปร์ และมิติการพัฒนาทางกายภาพ สิ่งแวดล้อมและมิติธรรมาภิบาลในการพัฒนา และนำมาวิเคราะห์ประสบการณ์การพัฒนาในแต่ละมิติจากกระบวนการพัฒนา การเปลี่ยนผ่านสภาวการณ์ การจัดการต่อความท้าทายในแต่ละช่วงเวลาของการพัฒนา เพื่อเป็นฐานข้อมูลวิจัยประเทศสิงคโปร์เบื้องต้น และเป็นประโยชน์ต่อโครงการวิจัยต่อไปในอนาคต

ผลการศึกษาพัฒนาการของสิงคโปร์ พบว่าปัจจัยหลักส่งที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์ และการก้าวพ้นกับดักทางการพัฒนา คือ การที่ประเทศสิงคโปร์เผชิญกับความท้าทายและความเปราะบางอย่างมีระบบตลอดช่วงของการพัฒนาเศรษฐกิจ แรงผลักดังกล่าว ส่งผลให้รัฐบาลรวมทั้งภาคเอกชน และประชาชน มีการสร้างระบบความร่วมมือที่กว้างขวาง และลงลึกทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเมืองภาคประชาชน การศึกษา วัฒนธรรม และการพัฒนาเมือง

ในกระบวนการพัฒนาประเทศสิงคโปร์ พบว่าการเปลี่ยนผ่านแต่ละช่วงเวลา สิงคโปร์ ได้ใช้ความพยายามนำหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืนในบริบทที่มีข้อจำกัดด้านกายภาพมาประยุกต์ใช้ ดังนี้  

  1. ความยั่งยืนทางเศรษฐกิจด้วยการรักษาสภาพเศรษฐกิจที่เติบโตและมีอนาคตที่สดใส
  2. ความยั่งยืนทางสังคมด้วยการเตรียมคุณภาพชีวิตการอยู่อาศัยที่ดีและมีลักษณะที่มีสวัสดิภาพแต่ทุกคน
  3. ความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมด้วยการรับผิดชอบต่อสภาพแวดล้อม
  4. ความยั่งยืนทางแผ่นดินและทะเล ด้วยการใช้สอยพื้นที่ดิน และทะเลในระดับที่มีความเหมาะสม

โดยสังเกตได้ว่ารัฐบาลมีการวางแผน และมีการกำหนดกรอบเวลา ทั้งระยะยาว ระยะกลาง และระยะสั้น ที่สามารถปรับเปลี่ยนแผนได้ตลอดตามสถานการณ์ภายใน และปัจจัยภายนอก เพื่อให้บรรลุผลดังความมุ่งหมายที่ตั้งไว้ โดยออกแบบนโยบายที่แปลงถ่ายจากระดับแผนสู่ความเป็นรูปธรรมอย่างต่อเนื่อง และชัดเจนในระดับพื้นที่ รวมทั้งมีการคิดเชิงระบบ (Systematic Thinking) ที่ครอบคลุมเชื่อมต่อกับนโยบายในมิติต่าง ๆ อย่างรอบด้าน นอกจากการสร้างระบบ และระเบียบให้เรียบร้อยทางกายภาพแล้ว การสร้างระบบ และระเบียบเพื่อความสงบเรียบร้อยทางสังคม ก็เป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาเมือง เพื่อดำรงรักษาเสถียรภาพของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ

กล่าวโดยสรุป จากการศึกษา พบว่าสิงคโปร์ไม่เคยหยุดนิ่งที่จะพัฒนาตนเอง โดยนำบทเรียนจากประเทศที่อยู่รอบด้าน และประเทศที่มีมาตรฐานในการพัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ และพัฒนาเป็นนโยบายที่เหมาะกับบริบทในประเทศ ที่สำคัญสิงคโปร์ไม่นำข้อจำกัดของประเทศมาเป็นอุปสรรคของการพัฒนา แต่กลับนำข้อจำกัดมาเป็นแรงขับเคลื่อนในการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง

การศึกษาวิจัยสิงคโปร์ในครั้งนี้ จึงอาจเป็นก้าวแรกที่ประเทศไทยจะเริ่มทำความรู้จักประเทศสิงคโปร์อย่างลึกซึ้ง โดยไม่มองเพียงแต่ความสำเร็จของสิงคโปร์ แต่มองถึงกระบวนการในการนำมาสู่ความสำเร็จดังกล่าว ทั้งนี้ การเรียนรู้จากประเทศสิงคโปร์ สามารถเป็นการเรียนรู้ได้โดยไม่จำเป็นที่จะต้องลอกเลียนนโยบายการพัฒนาทุกอย่าง หากแต่เป็นการเรียนรู้เพื่อสร้างกรอบในการพัฒนาที่เหมาะสมกับประเทศไทยต่อไป

เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

สมชาย ธรรมสุทธิวัฒน์, อนันต์ เพชรใหม่, นนท์ น้าประทานสุข, นวลจันทร์ แจ้งจิตร และสว่าง มีแสง. (2561). การพัฒนาความร่วมมือและยกระดับการป้องกันการทุจริตในประเทศไทย: ศึกษาประสบการณ์ประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.).

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2560
ผู้แต่ง
  • เพชรลัดดา เพ็ชรภักดี
  • มณเฑียร สติมานนท์
  • นันทนุช อุดมละมุล
  • พศุตม์ ลาศุขะ
  • เวฬุรีย์ เมธาวีวินิจ
หน่วยงาน

หัวข้อ
Related Content

โครงการศึกษาพรมแดนและช่องว่างความรู้เรื่องคอร์รัปชันและธรรมาภิบาล เพื่อสนับสนุนการจัดทำแผนบูรณาการด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปี พ.ศ. 2566-2570

ศึกษาพัฒนาการของงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชันและธรรมาภิบาลในประเทศไทย เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะต่อแนวทางการสนับสนุนการพัฒนางานวิจัยในประเด็นคอร์รัปชัน และธรรมาภิบาลในอนาคต

โครงการวิจัยการสังเคราะห์รูปแบบ กลไกและแนวทางการปลูกฝังเจตคติและวัฒนธรรมสุจริตเพื่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

ศึกษาพัฒนาการของรูปแบบ กลไก และแนวทางการปลูกฝังเจตคติ และวัฒนธรรมสุจริตที่มีผลต่อการป้องกันการทุจริตของไทย และศึกษากรณีของต่างประเทศ เพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอแนะต่อไป

โครงการวิจัยการศึกษาแนวทางความร่วมมือกับภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชนในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

นำเสนอแนวคิดและกิจกรรมที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพการดำเนินงานของ ป.ป.ช. ในการแก้ไขปัญหาการทุจริต และเสนอแนวทางการพัฒนาระบบการเชื่อมโยงข้อมูลร่วมกันผ่านกระบวนการประสานข้อมูลระหว่างหน่วยงานเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

โครงการประสิทธิภาพและธรรมาภิบาลของนโยบายสาธารณะไทย การวิจัยเพื่อเสริมสร้างนักนโยบายสาธารณะที่ดี

เพื่อทำการวิเคราะห์ผลทางนโยบายสาธารณะในด้านต่าง ๆ จากมุมมองของประชาชน โดยใช้หลักธรรมาภิบาลด้านประสิทธิภาพ การมีส่วนร่วม และการตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน

You might also like...

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | “รังนก” ก็โกงได้ : ตรวจสอบช่องโหว่กลไกการให้สัมปทานรังนกไทย

ส่องกลไกสัมปทาน เมื่อการทุจริตรังนกอาจทำให้งบรั่วไหล หากไม่มีกลไกการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ แล้วเราจะป้องกันปัญหานี้ได้อย่างไร ? โดย KRAC สรุปมาให้เเล้วจากงานวิจัยเรื่อง “กระบวนการและการตรวจสอบการให้สัมปทานรังนกในภาคใต้ของประเทศไทย” (2562)

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | คอร์รัปชันในอุตสาหกรรมประมงไทย : ปัญหาที่กระทบเศรษฐกิจ สิทธิมนุษยชน และภาพลักษณ์ประเทศ

จะแก้อย่างไรถ้าอุตสาหกรรมประมงไทยคอร์รัปชัน ? ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมประมงระดับโลกของไทยอีกด้วย โดย KRAC สรุปมาให้เเล้วจากงานวิจัยเรื่อง “การศึกษาวิเคราะห์การทุจริตคอร์รัปชันขบวนการเครือข่ายนายหน้าแรงงานข้ามชาติเมียนมาในอุตสาหกรรมประมงต่อเนื่องของประเทศไทย” (2562)

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | เบื้องหลังการทุจริตภาษีศุลกากร: เมื่อบริษัทปลอมกลายเป็นเครื่องมือเลี่ยงภาษี

บริษัทปลอม vs ศุลกากร : หนีภาษีเขาทำกันอย่างไร ? วิธีป้องกันบริษัทปลอม แหล่งหนีภาษาศุลกากรหลักหมื่นล้าน !! กระบวนการเหล่านี้จะเป็นอย่างไร ? แต่ละตัวละครทำหน้าที่อะไร สรุปมาให้เเล้วจากงานวิจัยเรื่อง “การศึกษากลุ่มอิทธิพลซึ่งนำไปสู่การทุจริตคอร์รัปชันอย่างเป็นระบบ: กรณีศึกษาการทุจริตภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีศุลกากรในประเทศไทย” (2561)