การศึกษาข้อเสนอจากผู้ปฏิบัติสู่การปฏิรูปเพื่อแก้ปัญหาคอร์รัปชันในสังคมไทย โดยถอดบทเรียนการปฏิบัติงานต้านคอร์รัปชันของภาคประชาชน

ศึกษาการต่อต้านคอร์รัปชันของภาคประชาชนที่เป็นผู้ลงมือขับเคลื่อนงาน เพื่อให้สังคมไทยได้เรียนรู้บทเรียนดังกล่าว ซึ่งจะช่วยลดการคอร์รัปชันในสังคมให้อยู่ในวงจำกัด และไม่ทำให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงต่อไป

งานวิจัยเรื่องนี้ มุ่งเน้นการถอดบทเรียนการปฏิบัติงานต่อต้านคอร์รัปชันของภาคประชาชนที่เป็นผู้ลงมือปฏิบัติงในกรณีการคอร์รัปชันต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมไทย เพื่อให้สังคมไทยได้เรียนรู้และตระหนักรู้ถึงบทบาทพลเมืองในการป้องกันและปราบปรามการคอร์รัปชัน อันจะเกิดประโยชน์ในการช่วยกันทำให้การทุจริตคอร์รัปชันในสังคมไทยลดลงจนอยู่ในวงจำกัด ไม่ทำให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงต่อสังคมไทยดังเช่นในปัจจุบัน

โดยมีประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่อาสาสมัครเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันทั่วประเทศ จากการสำรวจ พ.ศ. 2551 จำนวนทั้งสิ้น 2,612 คน โดยทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง 3 ขั้นตอน เพื่อได้กลุ่มตัวอย่างที่มีคุณลักษณะคล้ายคลึงกัน ภาคละ 40 คน รวมทั้งสิ้น  160 คน โดยดำเนินการถอดบทเรียนการปฏิบัติงาน วิธีการ และกระบวนการในการป้องกันและปราบปรามการคอร์รัปชันของพลเมือง 4 เวที (4 ภาค) และจัดทำเป็นข้อเสนอจากผู้ปฏิบัติสู่การปฏิรูปเพื่อแก้ปัญหาคอร์รัปชันในสังคมไทยต่อไป

สรุปประเด็นจากงานวิจัย

  • ผลการศึกษา พบว่าวิธีการดำเนินการต่อกรณีคอร์รัปชันจากประสบการณ์การทำงานป้องกันและปราบปรามการคอร์รัปชันของประชาชนที่มีประสบการณ์มาอย่างน้อย 8 ปี มีประเด็นสำคัญ ดังนี้ (1) แสวงหาความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับโครงการ (2) แสวงหาพันธมิตรในพื้นที่ และนอกพื้นที่ หรือการสร้างเครือข่ายเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรอง และช่วยหาข้อมูลในเชิงลึก (3) เรียนรู้ประสบการณ์จากชุมชน/กลุ่มอื่น ๆ ซึ่งเป็นวิธีทางลัดในการดำเนินการเเก้ไขปัญหา (4) วิเคราะห์และเชื่อมโยงข้อมูล ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในการนำไปสู่กระบวนการตรวจสอบ และการลงโทษผู้กระทำผิด (5) ร้องเรียนไปยังหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย เพื่อให้ดำเนินการตรวจสอบเจ้าหน้าที่ของรัฐในกรณีการคอร์รัปชัน (6) ถอดถอนผู้ดำรงตำเเหน่งทางการเมือง (7) เปิดข้อมูลให้เป็นประเด็นสาธารณะ เพื่อขยายความร่วมมือระหว่างเครือข่าย (8) การประท้วง ซึ่งเป็นทางเลือกสุดท้ายที่จะดำเนินการ เพื่อกดดันการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ปฏิบัติตามกฎหมายด้วยความถูกต้อง รวดเร็ว และโปร่งใส

  • ผลการวิเคราะห์ด้วย SWOT Analysis ของภาคประชาชน จำนวน 160 คน ที่มีประสบการณ์ในการป้องกันและปราบปรามการคอร์รัปชันอย่างน้อย 8 ปี พบประเด็นที่น่าสนใจหลายประการ เช่น จุดแข็ง (Strengths) คือ การที่ประชาชนมีความมุ่งมั่นตั้งใจจริงในการทำงานเพราะอยากลดปัญหาการคอร์รัปชันในประเทศไทยให้มากที่สุด จุดอ่อน (Weakness) คือ ประชาชนที่เข้ามาช่วยภาครัฐป้องกันและปราบปรามการคอร์รัปชัน ไม่มีหลักประกันในเรื่องการคุ้มครองและดูแลความปลอดภัยในการทำงาน โอกาส (Opportunities) คือ การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและปราบปรามการคอร์รัปชันมีความสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และกฎระเบียบของหน่วยงานราชการหลายหน่วยงาน เช่น สำนักงาน ป.ป.ช. สำนักงาน ป.ป.ท. และ อุปสรรค (Threats) คือ ไม่มีกฎหมายใดรองรับการดำเนินงานของภาคประชาชนในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐอย่างชัดเจน รวมถึงไม่มีมาตรการคุ้มครองภาคประชาชนที่เข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบ ทั้งที่มี พ.ร.บ. คุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. 2546 แต่ก็ยังไม่มีประสิทธิภาพมากพอที่จะดำนินการได้ เป็นต้น
  • ข้อเสนอจากผู้ปฏิบัติสู่การปฏิรูป เพื่อแก้ปัญหาคอร์รัปชันในสังคมไทย ได้เเก่
    1. ข้อเสนอในการปฏิรูปกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันปราบปรามคอร์รัปชัน เช่น คดีคอร์รัปชันต้องไม่มีอายุความ ทั้งการฟ้องคดีเมื่อตรวจพบ และการติดตามยึดทรัพย์สินกลับมาเป็นของแผ่นดิน
    2. ข้อเสนอการปฏิรูปหน่วยงานที่ทำหน้าที่ป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน เช่น หน่วยงานดังกล่าว ต้องมีรูปแบบการทำงานที่เป็นอิสระจากการแทรกแซงจากอำนาจรัฐ แต่มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้จากสังคม
    3. ข้อเสนอการมีส่วนร่วมของพลเมืองในการป้องกันและปราบปรามการคอร์รัปชันจากภัยคุกคาม เช่น รัฐต้องตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันแห่งชาติ โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และกรรมการมากกว่ากึ่งหนึ่งต้องมาจากภาคประชาชนที่ทำงานช่วยภาครัฐต่อต้านคอร์รัปชัน
    4. ข้อเสนอการปฏิรูปเพื่อส่งเสริมให้เกิดจิตสำนึกค่านิยมที่ดีงาม และวัฒนธรรมทางสังคมในการแก้ปัญหาคอร์รัปชัน เช่น  ส่งเสริมมาตรการลงโทษทางสังคม (Social sanction) จนเกิดเป็นวัฒนธรรมทางสังคม ด้วยการคว่ำบาตรผู้ที่ถูกตัดสินว่ากระทำการทุจริต
    5. ข้อเสนอต่อองค์กรภาคประชาชนที่เข้ามาช่วยตรวจสอบคอร์รัปชัน เช่น ภาคประชาชน ควรมีการเสริมสร้างองค์ความรู้ ถ่ายทอดประสบการณ์การทำงานระหว่างกัน รวมถึงการประเมินผลการทำงานของตนเอง เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในกลุ่ม
    6. ข้อเสนออื่น ๆ เช่น นักวิชาชีพคนใดที่มีส่วนเกี่ยวพันกับการคอร์รัปชัน ให้สภาวิชาชีพนั้น ๆ ถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ และขึ้นบัญชีดำไว้อย่างน้อย 5 ปี 
เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

วีระ สมความคิด. (2557). การศึกษาข้อเสนอจากผู้ปฏิบัติสู่การปฏิรูปเพื่อแก้ปัญหาคอร์รัปชันในสังคมไทย โดยถอดบทเรียนการปฏิบัติงานต้านคอร์รัปชันของภาคประชาชน. สถาบันพระปกเกล้า.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2558
ผู้แต่ง

วีระ สมความคิด

หน่วยงาน

หัวข้อ
Related Content

โครงการวิจัยและประสานงานเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน

เพื่อออกแบบงานวิจัยสำหรับแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันบนฐานการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ รวมถึงพัฒนาระบบและเครื่องมือใหม่ในการป้องกันและลดคอร์รัปชันในระดับพื้นที่

โครงการวิจัยเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน ระยะที่ 2

จัดทำข้อเสนอการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อต่อต้านการคอร์รัปชัน โดยเน้นแนวทางการวิจัยเพื่อทำความเข้าใจปัญหาคอร์รัปชันจากมุมมองของประชาชน ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (PAR) และกระบวนการ Design Thinking เต็มรูปแบบ

โครงการวิจัยการสังเคราะห์รูปแบบ กลไกและแนวทางการปลูกฝังเจตคติและวัฒนธรรมสุจริตเพื่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

ศึกษาพัฒนาการของรูปแบบ กลไก และแนวทางการปลูกฝังเจตคติ และวัฒนธรรมสุจริตที่มีผลต่อการป้องกันการทุจริตของไทย และศึกษากรณีของต่างประเทศ เพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอแนะต่อไป

โครงการวิจัยการศึกษาแนวทางความร่วมมือกับภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชนในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

นำเสนอแนวคิดและกิจกรรมที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพการดำเนินงานของ ป.ป.ช. ในการแก้ไขปัญหาการทุจริต และเสนอแนวทางการพัฒนาระบบการเชื่อมโยงข้อมูลร่วมกันผ่านกระบวนการประสานข้อมูลระหว่างหน่วยงานเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

You might also like...

KRAC Hot News I ไฟฟ้าไทยแพง เพราะภาคพลังงานยังโปร่งใสไม่พอ

เพราะไฟฟ้าได้กลายเป็นปัจจัยที่ 5 ไปแล้ว แต่ที่น่ากังวล คือไฟฟ้ายังคงเป็นปัจจัยเดียวที่ราคาไม่ได้เป็นไปตามกลไกตลาด ที่สำคัญยังเหมือนจะแพงขึ้นเรื่อย ๆ ด้วย…ทำไมค่าไฟฟ้าของไทยยังแพง และมีบทเรียนจากต่างประเทศอะไรบ้าง

บทความวิจัย : ปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติประจำจังหวัด ในการรวบรวมพยานหลักฐานในความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ในองค์การบริหารส่วนตำบล

ความล่าช้าในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด มีปัญหาหลักมาจากการขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย และการดำเนินการ

บทความวิจัย : รูปแบบการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนตามแนววิถีพุทธในงานต่อต้านการทุจริต และการสร้างเครือข่ายต่อต้านการทุจริตอย่างยั่งยืน

การพัฒนากิจกรรมสำหรับต่อต้านการทุจริตควรมีการประยุกต์หลักพุทธธรรมและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกับการส่งเสริมการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ