การศึกษาเครือข่ายกลุ่มอิทธิพลซึ่งนำไปสู่การทุจริตคอร์รัปชันอย่างเป็นระบบของภาคการศึกษา กรณีศึกษาโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมเขตที่ 24, 25, 26 (กาฬสินธุ์ ขอนแก่น มหาสารคาม)

ทำความเข้าใจรูปแบบการทุจริตคอร์รัปชันอย่างเป็นระบบในภาคการศึกษา ระหว่างเครือข่ายกลุ่มอิทธิพลกับเจ้าหน้าที่รัฐที่เป็นข้าราชการและนักการเมือง เพื่อเสนอแนะมาตรการป้องกันความร่วมมือระหว่างเครือข่าย

การศึกษาเรื่องนี้ เป็นการศึกษาเชิงลึกเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบความร่วมมือการทุจริตคอร์รัปชันอย่างเป็นระบบในภาคการศึกษา ระหว่างเครือข่ายกลุ่มอิทธิพล กับ เจ้าหน้าที่รัฐที่เป็นข้าราชการและนักการเมือง เพื่อเสนอแนะมาตรการที่เหมาะสม อันจะนำไปสู่การป้องกันความร่วมมือระหว่างเครือข่ายกลุ่มอิทธิพล ซึ่งนำไปสู่การทุจริตคอร์รัปชันอย่างเป็นระบบในภาคการศึกษา

แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย ข้อมูลคดีจากคำพิพากษาของศาล และคดีที่หน่วยงานรัฐ ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบการทุจริตคอร์รัปชันชี้มูลความผิด และข้อมูลการสัมภาษณ์เจาะลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ และการประชุมกลุ่มย่อยจากกลุ่มบุคลากรทางการศึกษา ประกอบด้วย กลุ่มผู้บริหารสถานศึกษา ครู และเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินและพัสดุ ในโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ ขนาดใหญ่ และขนาดกลาง ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมเขตที่ 24, 25 และ 26 (กาฬสินธุ์ ขอนแก่น มหาสารคาม) และกลุ่มองค์กรภาคประชาสังคม

สรุปประเด็นจากงานวิจัย

  • ผลจาการศึกษา พบว่ารูปแบบและลักษณะสำคัญของการทุจริตในภาคการศึกษา มีดังนี้
    1. การทุจริตจากการจัดซื้อจัดจ้าง – การก่อสร้างและครุภัณฑ์ ได้แก่ การทุจริตจากการก่อสร้างและการทุจริตจากการจัดซื้อหนังสือ ตำรา และครุภัณฑ์ทางการศึกษา
    2. การทุจริตจากระบบบริหารงานบุคคล ได้แก่ การทุจริตจากระบบการสรรหาคัดเลือก อนุกรรมการข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) เขตพื้นที่การศึกษา การทุจริตจากกระบวนการสอบ และบรรจุแต่งตั้งข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา การทุจริตเกณฑ์การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการในสังกัด การทุจริตจากการโอนย้ายตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา การทุจริตจากการโอนย้ายครูและบุคลากรทางการศึกษา และการทุจริตจากการขอเลื่อนขั้นตำแหน่งในระดับสูงขึ้นโดยเฉพาะกรณีการเลื่อนวิทยฐานะครู
    3. การทุจริตจากการรับนักเรียนเข้าสถานศึกษา ได้เเก่ การเรียกค่าแป๊ะเจี๊ย การรับนักเรียนประเภทเงื่อนไขแบบพิเศษ และการรับฝากเด็กเข้าเรียนโดยกลุ่มอิทธิพล 
  • ผลจาการศึกษา พบว่าความร่วมมือในการทุจริตในภาคการศึกษา ระหว่างเครือข่ายกลุ่มอิทธิพล กับ เจ้าหน้าที่รัฐที่เป็นข้าราชการและนักการเมือง พบได้ในสองกรณี คือ กรณีการทุจริตจากระบบบริหารสหกรณ์ออมทรัพย์ครู และกรณีการทุจริตจากการสร้างสนามฟุตซอล
  • ผลจาการศึกษา พบว่าเครือข่ายกลุ่มอิทธิพล ซึ่งนำไปสู่การทุจริตคอร์รัปชันอย่างเป็นระบบของภาคการศึกษา มีกระบวนการทุจริตตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ กล่าวคือ ต้นน้ำ เป็นเรื่องของการกำหนดนโยบายของพรรคการเมือง ข้าราชการระดับสูงในกระทรวง/กรม ลงมาสู่ปลายน้ำ คือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (ส.พ.ม.) ผู้บริหารสถานศึกษา นักธุรกิจและพ่อค้าผู้รับเหมาในพื้นที่ที่ร่วมมือกันทุจริตคอร์รัปชันอย่างเป็นขบวนการและเป็นเครือข่าย เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ในทางที่มิชอบด้วยกฎหมายให้กับตนเองและพรรคพวก
  • คณะผู้วิจัยได้เสนอแนะมาตรการที่เหมาะสม เพื่อป้องกันความร่วมมือระหว่างเครือข่ายกลุ่มอิทธิพล ซึ่งนำไปสู่การทุจริตอย่างเป็นระบบที่เกิดขึ้นในภาคการศึกษา ด้วยการสร้างเครือข่ายภาคประชาสังคม การสร้างกลไกการแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับการทุจริตของบุคลากรทางการศึกษา และมาตรการป้องกันด้านกฎหมายเพื่อป้องกันเครือข่ายความร่วมมือของกลุ่มอิทธิพล
เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

มนตรี เจนวิทย์การ, ทวิสันต์ โลณานุรักษ์, พรอัมรินทร์ พรหมเกิด, ภูมิภักดิ์ พิทักษ์เขื่อนขันธ์, กีรติพร จูตะวิริยะ, ธีรภัทร์ ลอยวิรัตน์ และวรัญญา ศรีริน. (2561). การศึกษาเครือข่ายกลุ่มอิทธิพลซึ่งนำไปสู่การทุจริตคอร์รัปชันอย่างเป็นระบบของภาคการศึกษา กรณีศึกษาโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมเขตที่ 24, 25, 26 (กาฬสินธุ์ ขอนแก่น มหาสารคาม). สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2561
ผู้แต่ง
  • มนตรี เจนวิทย์การ
  • ทวิสันต์ โลณานุรักษ์
  • พรอัมรินทร์ พรหมเกิด
  • ภูมิภักดิ์ พิทักษ์เขื่อนขันธ์
  • กีรติพร จูตะวิริยะ
  • ธีรภัทร์ ลอยวิรัตน์
  • วรัญญา ศรีริน
หน่วยงาน

หัวข้อ
Related Content

โครงการเฝ้าระวังและป้องกันการทุจริตจากนโยบายและโครงการของรัฐ

งานวิจัยนี้ จะพาไปทำความเข้าใจรูปแบบ คุณลักษณะ และวิธีการดำเนินนโยบาย มาตรการ หรือโครงการของรัฐเพื่อหาวิธีการเฝ้าระวังและป้องกันการทุจริตที่เกิดขึ้น

โครงการศึกษาเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยใช้อำนาจรัฐ

ศึกษาการตรวจสอบดุลพินิจของฝ่ายปกครองในการออกใบอนุญาต และศึกษากฎหมายต่างประเทศเพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ

โครงการศึกษามาตรการแทรกแซงตลาดข้าวเพื่อป้องกันการทุจริต: การแสวงหาค่าตอบแทนส่วนเกินและเศรษฐศาสตร์การเมืองของโครงการรับจำนำข้าวเปลือก

เพื่อประมาณการต้นทุน รายรับ การขาดทุน ต้นทุนสวัสดิการสังคมของโครงการรับจํานําข้าวเปลือก และประมาณการผลตอบแทนส่วนเกินที่ตกแก่กลุ่มบุคคลต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์การแสวงหาค่าเช่า และศึกษาการทุจริตของผู้ที่เกี่ยวข้อง

โครงการพัฒนากฎหมายป้องกันและปราบปรามการทุจริต

เพื่อศึกษาเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 244 มาตรา 245 ประกอบมาตรา 221 เกี่ยวกับการวางระบบการร่วมมือกันทำงานขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เพื่อกำหนดมาตรการ และวิธีการทำงานร่วมมือกันของ
องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตเชิงนโยบายอย่างมีประสิทธิภาพ
ประสิทธิผล

You might also like...

KRAC Hot News I อุบัติเหตุการก่อสร้างตามแนวถนนพระราม 2: ภาพสะท้อนปัญหาธรรมาภิบาลโครงการก่อสร้างภาครัฐไทย

อุบัติเหตุซ้ำซากบนถนนพระราม 2 ถึงเวลาปฏิรูป! ระบบจัดซื้อจัดจ้างต้องโปร่งใส ประชาชนต้องเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย และต้องมีมาตรการป้องกันและลงโทษที่จริงจังกันเสียที

KRAC Hot News I ผู้หญิงไม่เพียงแต่ถูกเรียกสินบน… แต่ยังถูกขอเรื่องเซ็กส์ด้วย

งานวิจัยจาก Transparency International เผยว่า “เพศ” ส่งผลต่อรูปแบบการเผชิญกับคอร์รัปชัน! เพราะผู้หญิงอาจถูกบังคับให้จ่ายสินบนทางเพศ หรือถูกละเมิดโดยเจ้าหน้าที่ที่ใช้อำนาจในทางมิชอบ

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ปิดช่องโหว่ดุลพินิจ ปิดช่องทางทุจริตในไทย

“ดุลพินิจ” อำนาจรัฐ หรือช่องว่างที่ทำให้เกิดการทุจริต ? KRAC ชวนถอดบทเรียนการแก้ปัญหาโกงจากการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐจากกงานวิจัยเรื่อง การแสวงหาผลประโยชน์ จากการอนุญาตโดยใช้อำนาจรัฐ (2560)