การศึกษาเปรียบเทียบเงินสนับสนุนพรรคการเมืองในประเทศไทย และอินโดนิเซีย นำไปสู่การพัฒนาพรรคการเมือง หรือการคอร์รัปชัน

ศึกษาเปรียบเทียบโครงสร้างของกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมืองในประเทศไทย และอินโดนีเซีย ว่าส่งผลต่อการพัฒนาพรรคการเมืองใน 2 ประเทศ มากน้อยแค่ไหนอย่างไร

หลังจากการปฏิรูปทางการเมืองในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2540 และการเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบประชาธิปไตยในประเทศอินโดนีเซีย พ.ศ. 2541 ทั้ง 2 ประเทศ ได้ประกาศให้มีการจัดสรรงบประมาณเพื่อการสนับสนุนพรรคการเมือง โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้เป็นแหล่งเงินทุนในการพัฒนาพรรคการเมืองให้เข้มแข็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาเลือกตั้ง

อย่างไรก็ตาม ผลจากการให้งบประมาณเพื่อการสนับสนุนพรรคการเมืองของทั้ง 2 ประเทศ ไม่ได้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้ แต่กลับส่งผลให้เกิดการคอร์รัปชันในงบประมาณเพื่อการสนับสนุนพรรคการเมือง อีกทั้ง ไม่ได้นำเงินที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐไปใช้ เพื่อการพัฒนาองค์กรของตนเองอย่างแท้จริง งานวิจัยนี้ จึงมุ่งศึกษาเปรียบเทียบโครงสร้างของกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมืองในประเทศไทยและอินโดนีเซีย ว่าส่งผลต่อการพัฒนาพรรคการเมืองใน 2 ประเทศ มากน้อยแค่ไหนอย่างไร

สรุปประเด็นจากงานวิจัย

  • ผลจากการศึกษา พบว่าเงินกองทุนสนับสนุนพรรคการเมืองของประเทศไทย และอินโดนีเซีย ไม่ได้นำมาซึ่งการพัฒนาพรรคการเมืองสู่องค์กรที่เข้มแข็งอย่างแท้จริง หากแต่นำมาสู่ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันของพรรคการเมืองในลักษณะที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการการเลือกตั้งของทั้ง 2 ประเทศ ต่างพยายามปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบ และกฎเกณฑ์ในการจัดสรรงบประมาณ และบทลงโทษต่อพรรคการเมืองที่กระทำผิด และพยายามแสวงหาผลกำไรจากงบประมาณเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง เพื่อให้งบประมาณถูกนำไปใช้อย่างโปร่งใส และมีประสิทธิภาพในการพัฒนาพรรคการเมืองและการเมืองโดยภาพรวมของประเทศต่อไป
  • ผลจากการศึกษา ได้ให้ข้อเสนอแนะต่อพรรคการเมืองในการบริหารจัดการเงินจัดสรรจากกองทุนพัฒนาพรรคการเมือง โดยระบุว่าพรรคการเมืองของทั้ง 2 ประเทศ ควรจัดกิจกรรมทางการเมืองโดยให้ความสำคัญกับการสร้างความสัมพันธ์ที่แนบแน่นกับสมาชิกพรรค เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในพรรคการเมืองที่ตนเองสังกัด นอกจากนี้ ยังควรนำงบประมาณที่ได้ไปใช้ในการขยายฐานเสียงของพรรคในพื้นที่ต่าง ๆ อย่างเหมาะสมและเท่าเทียม เพื่อไม่ให้พื้นที่สาขาพรรคต้องหันไปพึ่งพานักการเมือง หรือสมาชิกผู้แทนราษฎรของพื้นที่แทน รวมถึงพรรคการเมืองควรจัดทำรายงานการเงิน และรายงานประจำปีในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ให้กับคณะกรรมการการเลือกตั้งให้ตรงเวลา และมีความถูกต้อง ครบถ้วน
  • ผลจากการศึกษา ได้ให้ข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยระบุว่าควรจัดสรรงบประมาณให้แก่พรรคการเมืองที่ได้รับการเลือกตั้ง และส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างแรงจูงใจให้พรรคการเมืองที่ไม่ได้รับเงินจัดสรร พยายามพัฒนาองค์กรให้พรรคได้รับการเลือกตั้งต่อไปในอนาคต และควรมีกระบวนการตรวจสอบการจัดกิจกรรมทางการเมืองตามโครงการที่พรรคการเมืองเสนอขอรับงบประมาณจากกองทุน  รวมถึงควรมีการจัดอบรมให้พรรคการเมืองขนาดเล็กมีความรู้ในทางกฎหมายมากขึ้น เพื่อส่งเสริมการระดมทุนของพรรค อันจะมีส่วนสนับสนุนให้พรรคการเมืองสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับประชาชนในพื้นที่ได้
เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

พรรณชฎา ศิริวรรณบุศย์ และประณต นันทิยะกุล. (2557). การศึกษาเปรียบเทียบเงินสนับสนุนพรรคการเมืองในประเทศไทย และอินโดนิเซีย นำไปสู่การพัฒนาพรรคการเมือง หรือการคอร์รัปชัน. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.).

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2557
ผู้แต่ง
  • พรรณชฎา ศิริวรรณบุศย์
  • ประณต นันทิยะกุล
หน่วยงาน
หัวข้อ
Related Content

โครงการศึกษาเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาต โดยใช้อำนาจรัฐ

ศึกษาการตรวจสอบดุลพินิจของฝ่ายปกครองในการออกใบอนุญาต และศึกษากฎหมายต่างประเทศเพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ

โครงการศึกษามาตรการแทรกแซงตลาดข้าวเพื่อป้องกันการทุจริต: การแสวงหาค่าตอบแทนส่วนเกินและเศรษฐศาสตร์การเมืองของโครงการรับจำนำข้าวเปลือก

เพื่อประมาณการต้นทุน รายรับ การขาดทุน ต้นทุนสวัสดิการสังคมของโครงการรับจํานําข้าวเปลือก และประมาณการผลตอบแทนส่วนเกินที่ตกแก่กลุ่มบุคคลต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์การแสวงหาค่าเช่า และศึกษาการทุจริตของผู้ที่เกี่ยวข้อง

โครงการพัฒนากฎหมายป้องกันและปราบปรามการทุจริต

เพื่อศึกษาเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 244 มาตรา 245 ประกอบมาตรา 221 เกี่ยวกับการวางระบบการร่วมมือกันทำงานขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เพื่อกำหนดมาตรการ และวิธีการทำงานร่วมมือกันของ
องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตเชิงนโยบายอย่างมีประสิทธิภาพ
ประสิทธิผล

โครงการประเมินองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญว่าด้วยการต่อต้านคอร์รัปชัน

ประเมินผลการทำงานขององค์กรอิสระที่มีหน้าที่ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน ทั้งสำนักงาน ป.ป.ช. คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และผู้ตรวจการแผ่นดิน ว่าทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่

You might also like...

บทความวิจัย : ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสริมสร้างความร่วมมือและการควบคุมคอร์รัปชันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี

เมื่อการกระจายอำนาจกลับกลายเป็นการกระจายการทุจริตสู่ท้องถิ่น เพื่อยับยั้งปัญหาคอร์รัปชันในท้องถิ่น จึงต้องส่งเสริมการปกครองตามหลักธรรมาภิบาล (กรณีศึกษา จังหวัดเพชรบุรี)

KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I UNODC จับมือไนจีเรียจัดทำรายงานการทุจริตในไนจีเรีย ชี้ “การติดสินบนได้รับการยอมรับน้อยลง”

รายงานฉบับนี้มีชื่อว่า “การทุจริตในไนจีเรีย: รูปแบบและทิศทาง (Corruption in Nigeria: Patterns and Trends)” เป็นการสำรวจเกี่ยวกับการรับรู้การทุจริตของประชาชนในประเทศไนจีเรียจากประสบการณ์ของประชาชน นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์แนวโน้มการทุจริต ประสิทธิภาพของกลยุทธ์ และแนวทางการต่อต้านการทุจริตอีกด้วย

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : โกง (เรื่อง) กิน ฉ่ำๆ หม่ำๆ แบดกาย แบดกายหม่ำๆ

เมื่อวันแม่ที่ผ่านมาหลายๆ ท่านคงพาคุณแม่ไปทานข้าว หรืออาจกลับบ้านไปทานข้าวกับคุณแม่และครอบครัว เพราะสำหรับคนไทยแล้ว “อาหารเป็นเรื่องสำคัญ” ดังนั้นในวันสำคัญการนัดรวมตัวกันกินข้าวจึงเป็นเรื่องจำเป็น