การสำรวจข้อมูลธรรมภิบาลในประเทศไทย : Good Governance Mapping

สํารวจข้อมูลธรรมาภิบาลขององค์กรภาครัฐ ท้องถิ่น และเอกชนในไทย และวิเคราะห์ปัจจัยความสําเร็จในการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล รวมถึงวิเคราะห์รางวัลธรรมาภิบาลขององค์กร

โครงการวิจัยนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อสํารวจข้อมูลธรรมาภิบาลขององค์กรภาครัฐ ภาคท้องถิ่น และภาคเอกชนในประเทศไทย ตลอดจนวิเคราะห์ปัจจัยสําเร็จขององค์กรภาครัฐ ภาคท้องถิ่น และภาคเอกชนในการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล และวิเคราะห์รางวัลธรรมาภิบาลขององค์กรภาครัฐ ภาคท้องถิ่น และภาคเอกชนในประเทศไทย

การศึกษานี้ ยึดกรอบแนวคิดเรื่องธรรมาภิบาลตามการนิยามของสถาบันพระปกเกล้า เเละนำแนวคิดจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) นักวิจัย นักวิชาการ และประเด็นกฎหมายที่เกี่ยวข้อง มาวิเคราะห์องค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาล ทําให้ได้หลักธรรมาภิบาลในการศึกษาทั้งหมด 6 หลัก ได้เเก่ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิด และหลักความคุ้มค่า

โดยดำเนินการสํารวจข้อมูลธรรมาภิบาลขององค์กรภาครัฐ ภาคท้องถิ่น และภาคเอกชน จากหน่วยงานที่ให้รางวัล จํานวน 13 หน่วยงาน ได้แก่ (1) สถาบันพระปกเกล้า (2) กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ (3) สถาบันป๋วย อึ้งภากรณ์ ร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และสมาคมธนาคารไทย (4) คณะกรรมการการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (5) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (6) สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (7) สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ร่วมกับคณะกรรมการธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม หอการค้าไทย และมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (8) สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ร่วมกับสมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทย (9) การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (10) สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย (11) สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) (12) สหประชาชาติ และ (13) เดอะรีซอรส์อัลลิอันซ์

สรุปประเด็นจากงานวิจัย

  • ผลจากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล ในช่วงระยะเวลา พ.ศ. 2551-2561 จำนวนทั้งสิ้น 19 ผลงาน พบว่าปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล มีตัวแปร 10 ปัจจัย ได้แก่ (1) ปัจจัยด้านผู้นำ (2) ปัจจัยด้านนโยบาย (3) ปัจจัยด้านการศึกษา (4) ปัจจัยด้านทรัพยากรบริหาร (5) ปัจจัยด้านเครือข่ายความร่วมมือ (6) ปัจจัยด้านกระบวนการบริหาร (7) ปัจจัยการมีส่วนร่วม (8) ปัจจัยด้านคน (9) ปัจจัยด้านวัฒนธรรมค่านิยม และ (10) ปัจจัยด้านผู้ปฏิบัติงาน

  • ผลจากการศึกษาเรื่องสภาพปัญหา และอุปสรรคในการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์กรในประเทศไทย เเบ่งตามมิติของหลักธรรมาภิบาล เช่น หลักนิติธรรม พบว่ามีการเลือกปฏิบัติในการบังคับใช้กฎหมายไม่เท่าเทียมกัน ด้านหลักคุณธรรม เช่น ขาดการส่งเสริมคนดีมีความรู้ความสามารถ ให้มีบทบาทในการพัฒนาองค์กร หรือชุมชน ด้านหลักความโปร่งใส เช่น ไม่มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่ทำให้ประชาชนพึงพอใจ และสามารถตรวจสอบได้ ด้านหลักการมีส่วนร่วม เช่น ประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการอำนาจ ด้านหลักความรับผิด เช่น ประชาชนในท้องถิ่นละเลยความรับผิดชอบในตัวเอง และด้านความคุ้มค่า เช่น การใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือยโดยไม่คำนึงถึงความคุ้มค่า

  • ผลจากการวิเคราะห์รางวัลธรรมาภิบาลขององค์กรภาครัฐภาคท้องถิ่น และภาคเอกชนในไทย พบว่ารางวัลธรรมาภิบาลในประเทศไทย จำแนกตามประเภทองค์กรที่มอบรางวัลธรรมาภิบาล และผู้รับรางวัลธรรมาภิบาลในประเทศไทย ระหว่างปีพ.ศ. 2551 – 2560 ประกอบด้วย องค์กรจำนวน 4 ประเภท รวมทั้งสิ้น 13 องค์กร โดยประเภทองค์กรที่มีจำนวนมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ องค์กรภาครัฐประเภทส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จำนวน 6 องค์กร องค์กรรูปแบบผสม จำนวน 4 องค์กร และองค์กรระหว่างประเทศ จำนวน 2 องค์กร

  • ผลจากการศึกษาทิศทางของเกณฑ์และตัวชี้วัดการมอบรางวัลธรรมาภิบาลในอนาคต ระบุว่าเกณฑ์การมอบรางวัล ควรสอดคล้องกับภารกิจของหน่วยงานที่มอบรางวัล เช่น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) มีหน้าที่ประเมินหน่วยงานภาครัฐ ควรกำหนดตัวชี้วัดด้านบริการเป็นหลัก ส่วนการกำหนดรางวัล ควรมี 2 มิติ กล่าวคือ ประเภทรางวัลที่ได้รับ และระดับรางวัลที่ได้รับ เช่น รางวัลบูรณาการการบริการ เพื่อก่อให้เกิดแรงจูงใจในการพัฒนาบริการ และการจัดบริการสาธารณะอย่างต่อเนื่อง อันจะนำไปสู่การสร้างความท้าทายให้กับหน่วยงานที่ต้องการได้รับรางวัลเร่งพัฒนาหน่วยงาน/องค์กรของตนให้มีความก้าวหน้าด้วย

  • สำหรับหน่วยงานที่ยังไม่ได้กำหนดเกณฑ์ และระดับรางวัล เช่น หน่วยงานเอกชน ผลการศึกษา ระบุว่าควรกำหนดระดับการให้รางวัลที่มีความท้าทายเช่นกัน และควรกำหนดขั้นตอนการประเมินรางวัลที่ประกอบด้วย การประเมินตนเอง การประเมินเอกสาร และการประเมินโดยการเยี่ยมเยียน โดยใช้การประเมินในรูปแบบคณะกรรมการ เพื่อให้รางวัลที่มอบให้เเก่หน่วยงาน/องค์กรต่าง ๆ มีความน่าเชื่อถือ อันจะส่งผลให้เกิดความยั่งยืนในการให้รางวัลของหน่วยงานที่มอบ และเกิดแรงกระตุ้นในการบริหารจัดการหน่วยงานผู้รับรางวัลอีกด้วย

เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

ปิยากร หวังมหาพร. (2563). การสำรวจข้อมูลธรรมภิบาลในประเทศไทย : Good Governance Mapping. สถาบันพระปกเกล้า.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2563
ผู้แต่ง
  • ปิยากร หวังมหาพร
หน่วยงาน

หัวข้อ
Related Content

โครงการศึกษาพรมแดนและช่องว่างความรู้เรื่องคอร์รัปชันและธรรมาภิบาล เพื่อสนับสนุนการจัดทำแผนบูรณาการด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปี พ.ศ. 2566-2570

ศึกษาพัฒนาการของงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชันและธรรมาภิบาลในประเทศไทย เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะต่อแนวทางการสนับสนุนการพัฒนางานวิจัยในประเด็นคอร์รัปชัน และธรรมาภิบาลในอนาคต

โครงการวิจัยการสังเคราะห์รูปแบบ กลไกและแนวทางการปลูกฝังเจตคติและวัฒนธรรมสุจริตเพื่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

ศึกษาพัฒนาการของรูปแบบ กลไก และแนวทางการปลูกฝังเจตคติ และวัฒนธรรมสุจริตที่มีผลต่อการป้องกันการทุจริตของไทย และศึกษากรณีของต่างประเทศ เพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอแนะต่อไป

โครงการวิจัยการศึกษาแนวทางความร่วมมือกับภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชนในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

นำเสนอแนวคิดและกิจกรรมที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพการดำเนินงานของ ป.ป.ช. ในการแก้ไขปัญหาการทุจริต และเสนอแนวทางการพัฒนาระบบการเชื่อมโยงข้อมูลร่วมกันผ่านกระบวนการประสานข้อมูลระหว่างหน่วยงานเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

โครงการประสิทธิภาพและธรรมาภิบาลของนโยบายสาธารณะไทย การวิจัยเพื่อเสริมสร้างนักนโยบายสาธารณะที่ดี

เพื่อทำการวิเคราะห์ผลทางนโยบายสาธารณะในด้านต่าง ๆ จากมุมมองของประชาชน โดยใช้หลักธรรมาภิบาลด้านประสิทธิภาพ การมีส่วนร่วม และการตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน

You might also like...

บทความวิจัย : ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสริมสร้างความร่วมมือและการควบคุมคอร์รัปชันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี

เมื่อการกระจายอำนาจกลับกลายเป็นการกระจายการทุจริตสู่ท้องถิ่น เพื่อยับยั้งปัญหาคอร์รัปชันในท้องถิ่น จึงต้องส่งเสริมการปกครองตามหลักธรรมาภิบาล (กรณีศึกษา จังหวัดเพชรบุรี)

KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I UNODC จับมือไนจีเรียจัดทำรายงานการทุจริตในไนจีเรีย ชี้ “การติดสินบนได้รับการยอมรับน้อยลง”

รายงานฉบับนี้มีชื่อว่า “การทุจริตในไนจีเรีย: รูปแบบและทิศทาง (Corruption in Nigeria: Patterns and Trends)” เป็นการสำรวจเกี่ยวกับการรับรู้การทุจริตของประชาชนในประเทศไนจีเรียจากประสบการณ์ของประชาชน นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์แนวโน้มการทุจริต ประสิทธิภาพของกลยุทธ์ และแนวทางการต่อต้านการทุจริตอีกด้วย

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : โกง (เรื่อง) กิน ฉ่ำๆ หม่ำๆ แบดกาย แบดกายหม่ำๆ

เมื่อวันแม่ที่ผ่านมาหลายๆ ท่านคงพาคุณแม่ไปทานข้าว หรืออาจกลับบ้านไปทานข้าวกับคุณแม่และครอบครัว เพราะสำหรับคนไทยแล้ว “อาหารเป็นเรื่องสำคัญ” ดังนั้นในวันสำคัญการนัดรวมตัวกันกินข้าวจึงเป็นเรื่องจำเป็น