ความเชื่อมโยงระหว่างเศรษฐศาสตร์กับกฎหมายในการต่อต้านการทุจริตในประเทศไทย

เพื่อประยุกต์หลักเศรษฐศาสตร์กับข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับการต่อต้านการทุจริตในประเทศไทย โดยยึดการทํางานของสำนักงาน ป.ป.ช. เป็นฐานในการวิเคราะห์ถึงการเปลี่ยนแปลงในข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

งานวิจัยเรื่องนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อประยุกต์หลักเศรษฐศาสตร์กับข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับการต่อต้านการทุจริตในประเทศไทย โดยยึดเอาการทํางานของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) ซึ่งเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญที่มรบทบาทมากที่สุดในการต่อต้านการทุจริตของไทยเป็นฐานในการวิเคราะห์

โดยมุ่งศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงในข้อกฎหมายที่สําคัญเกี่ยวกับการทํางานของคณะกรรมการ ป.ป.ช. และปัญหาที่เกี่ยวกับความล่าช้าในการทํางาน ซึ่งเป็นผลมาจากปัญหาทางด้านบุคลากร งบประมาณ ระเบียบปฏิบัติ และข้อจํากัดในการใช้กฎหมายต่าง ๆ จากนั้น คณะผู้วิจัยได้พิจารณาถึงประเด็นเฉพาะ 3 ประเด็น ได้แก่

  1. การวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์ของการใช้มาตรา 157 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งเป็นมาตราที่ใช้ในการชี้มูลและลงโทษการกระทําความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ของไทยมากที่สุด
  2. การทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) ซึ่งมีอุบัติการณ์ของการทุจริต วัดได้โดยจำนวนคดีที่มีการชี้มูลโดยคณะกรรมการ ป.ป.ช. มากที่สุด
  3. การวิเคราะห์เชิงประสิทธิภาพของระบบการตรวจสอบบัญชีทรัพย์สิน และหนี้สินของ ป.ป.ช. ทั้งนี้ ข้อค้นพบจากประเด็นทั้งสามนี้ช่วยให้นักวิจัยสามารถแนะนําการเปลี่ยนแปลงในการใช้มาตรา 157 การรับมือกับการทุจริตในองคกรปกครองส่วนท้องถิ่น และการยื่นและตรวจบัญชีทรัพย์สินของ ป.ป.ช. ได้ดีขึ้น

โดยงานวิจัยนี้ จะใช้หลักเศรษฐศาสตร์ เพื่อช่วยเน้นประสิทธิภาพ ผลประโยชน์และต้นทุน ของการเลือกแต่ละอย่างของมนุษย์ในข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับการต่อต้านการทุจริตของไทย อันจะส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ของการใช้กฎหมายดังกล่าวให้สูงขึ้น

เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

เมธี ครองแก้ว, พัชรวรรณ นุชประยูร, สุรัตนวดี บุญอยู่, สุทธิ สุนทรานุรักษ์, สิริลักษณา คอมันตร์, ศิริรัตน์ วสุวัต และสุจิตรา ชำนิวิกย์กรณ์. (2560). ความเชื่อมโยงระหว่างเศรษฐศาสตร์กับกฎหมายในการต่อต้านการทุจริตในประเทศไทย.สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.).

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2560
ผู้แต่ง
  • เมธี ครองแก้ว
  • พัชรวรรณ นุชประยูร
  • สุรัตนวดี บุญอยู่
  • สุทธิ สุนทรานุรักษ์
  • สิริลักษณา คอมันตร์
  • ศิริรัตน์ วสุวัต
  • สุจิตรา ชำนิวิกย์กรณ์
หน่วยงาน
หัวข้อ
Related Content

โครงการศึกษาเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาต โดยใช้อำนาจรัฐ

ศึกษาการตรวจสอบดุลพินิจของฝ่ายปกครองในการออกใบอนุญาต และศึกษากฎหมายต่างประเทศเพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ

โครงการพัฒนากฎหมายป้องกันและปราบปรามการทุจริต

เพื่อศึกษาเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 244 มาตรา 245 ประกอบมาตรา 221 เกี่ยวกับการวางระบบการร่วมมือกันทำงานขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เพื่อกำหนดมาตรการ และวิธีการทำงานร่วมมือกันของ
องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตเชิงนโยบายอย่างมีประสิทธิภาพ
ประสิทธิผล

โครงการประเมินองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญว่าด้วยการต่อต้านคอร์รัปชัน

ประเมินผลการทำงานขององค์กรอิสระที่มีหน้าที่ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน ทั้งสำนักงาน ป.ป.ช. คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และผู้ตรวจการแผ่นดิน ว่าทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่

You might also like...

บทความวิจัย : ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสริมสร้างความร่วมมือและการควบคุมคอร์รัปชันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี

เมื่อการกระจายอำนาจกลับกลายเป็นการกระจายการทุจริตสู่ท้องถิ่น เพื่อยับยั้งปัญหาคอร์รัปชันในท้องถิ่น จึงต้องส่งเสริมการปกครองตามหลักธรรมาภิบาล (กรณีศึกษา จังหวัดเพชรบุรี)

KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I UNODC จับมือไนจีเรียจัดทำรายงานการทุจริตในไนจีเรีย ชี้ “การติดสินบนได้รับการยอมรับน้อยลง”

รายงานฉบับนี้มีชื่อว่า “การทุจริตในไนจีเรีย: รูปแบบและทิศทาง (Corruption in Nigeria: Patterns and Trends)” เป็นการสำรวจเกี่ยวกับการรับรู้การทุจริตของประชาชนในประเทศไนจีเรียจากประสบการณ์ของประชาชน นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์แนวโน้มการทุจริต ประสิทธิภาพของกลยุทธ์ และแนวทางการต่อต้านการทุจริตอีกด้วย

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : โกง (เรื่อง) กิน ฉ่ำๆ หม่ำๆ แบดกาย แบดกายหม่ำๆ

เมื่อวันแม่ที่ผ่านมาหลายๆ ท่านคงพาคุณแม่ไปทานข้าว หรืออาจกลับบ้านไปทานข้าวกับคุณแม่และครอบครัว เพราะสำหรับคนไทยแล้ว “อาหารเป็นเรื่องสำคัญ” ดังนั้นในวันสำคัญการนัดรวมตัวกันกินข้าวจึงเป็นเรื่องจำเป็น