คอร์รัปชันในระบบราชการไทย การสำรวจทัศนคติ ประสบการณ์ของหัวหน้าครัวเรือน

สำรวจประสบการณ์ของหัวหน้าครัวเรือน เรื่องการเรียกสินบน การเลือกตั้ง ความสุจริตของนักการเมือง ข้าราชการ สื่อ และศาล และประสิทธิภาพในการต่อต้านคอร์รัปชันขององค์กรต่าง ๆ รวมถึงทัศนคติเรื่องการต่อต้านคอร์รัปชัน

งานวิจัยเรื่องนี้ มุ่งเน้นการสำรวจครอบคลุมประสบการณ์และทัศนคติของครัวเรือนเกี่ยวกับการเรียกสินบน เงินพิเศษ รวมถึงทัศนคติเรื่องการต่อต้านคอร์รัปชัน และประสิทธิภาพในการต่อต้านคอร์รัปชันขององค์กรต่าง ๆ

โดยเป็นการศึกษาเปรียบเทียบผลของการสำรวจภาคสนามว่าด้วยทัศนคติ และประสบการณ์เกี่ยวกับคอร์รัปชันภาครัฐที่ครัวเรือนประสบในชีวิตประจำวัน จากผลของการสำรวจภาคสนามระดับชาติเมื่อปี 2542 และปี 2557 โดยการสำรวจทั้งสองครั้งนี้ ใช้แบบสอบถามชุดเดียวกัน และวิธีการสำรวจแบบเดียวกัน

ขอบเขตเนื้อหาการสำรวจครอบคลุมประสบการณ์ และทัศนคติของครัวเรือนเกี่ยวกับการเรียกสินบน เงินพิเศษในโรงเรียนรัฐบาล ในระบบศาลยุติธรรม ในการเลือกตั้งทั่วไป และการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น รวมถึงทัศนคติเรื่องการต่อต้านคอร์รัปชัน เรื่องความสุจริตของนักการเมือง ข้าราชการ สื่อ ศาลยุติธรรม และประสิทธิภาพในการต่อต้านคอร์รัปชันขององค์กรต่าง ๆ  

สรุปประเด็นจากงานวิจัย

  • ข้อสรุปของงานวิจัยเรื่องนี้ พบว่าจากการสำรวจในปี 2557 มีการลดลงของมูลค่าคอร์รัปชันอย่างมาก ซึ่งนับเป็นเรื่องที่ดี และต้องชื่นชมความพยายามของหลายหน่วยงานที่มีความตั้งใจจริงในการดำเนินการเพื่อความโปร่งใสอย่างเต็มที่ แต่การคอร์รัปชันก็ยังเป็นเรื่องร้ายแรงกับสังคมไทย และคงต้องช่วยกันผลักดันระบบและระเบียบต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความโปร่งใสที่ดียิ่งขึ้นต่อไปในอนาคตต่อไป
  • การสำรวจในปี 2557 มีครัวเรือนที่ทำการสำรวจ จำนวน 6,048 รายทั่วประเทศ โดยใช้แผนการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นอย่างมีชั้นภูมิ (Stratified Multi-stage Cluster Sampling) ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อทำการประมาณการค่าประชากรครัวเรือนทั่วประเทศ โดยพบว่าหัวหน้าครัวเรือน ให้ความสำคัญกับปัญหาคอร์รัปชันมากกว่าที่เคยสำรวจไว้ในปี 2542 แต่ทัศนคติที่มีต่อความร้ายแรงของปัญหาคอร์รัปชัน ก็ยังน้อยกว่าปัญหาเศรษฐกิจไม่ดี และค่าครองชีพสูง ซึ่งถูกให้ความสำคัญเป็นอันดับที่หนึ่งและสองอยู่หลายเท่าตัว 
  • เมื่อสอบถามกลุ่มตัวอย่างในปี 2557 ถึงความเต็มใจที่จะเสียสละรายได้บางส่วน เพื่อขจัดปัญหาคอร์รัปชัน จากในกลุ่มผู้ที่ตอบว่าปัญหาคอร์รัปชันในวงราชการเป็นปัญหาร้ายแรงที่สุด พบว่า ในปี 2542 มีประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ตอบที่ยินดีจ่ายเงินร้อยละ 5 ของรายได้ของครัวเรือนต่อปี ขณะที่ในปี 2557 จำนวนครัวเรือนลดลง เหลือเพียงหนึ่งในสามเท่านั้นที่ยอมสละเงิน เพื่อลดปัญหาคอร์รัปชัน แต่กลับยอมจ่ายในสัดส่วนของรายได้ที่เพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 13 ซึ่งแม้ว่ามูลค่าของเงินที่หัวหน้าครัวเรือนยอมสละ เพื่อแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันเมื่อคิดเป็นสัดส่วนกับรายได้จะยังคงเพิ่มสูงขึ้นถึงประมาณ 3 เท่าในปี 2557 แต่การที่สัดส่วนของครัวเรือนที่ยินดีจ่ายลดลงจากครึ่งหนึ่ง เหลือเพียงหนึ่งในสาม ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำนวนของหัวหน้าครัวเรือนที่ต้องการมีส่วนร่วม เพื่อขจัดปัญหาคอร์รัปชันนั้นลดลง และทำให้ภาระดังกล่าว ตกหนักอยู่กับคนที่ยินดีร่วมมือ ซึ่งมีจำนวนน้อยลง
  • ในส่วนของข้อมูลสถาบันราชการที่มีการคอร์รัปชันสูงที่สุด และต่ำที่สุดนั้น ในปี 2542 หัวหน้าครัวเรือนเห็นว่าตำรวจ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กระทรวงมหาดไทย และกรมศุลกากร มีความซื่อสัตย์สุจริตน้อยที่สุด ขณะที่ในปี 2557 ก็ยังคงเป็นสองหน่วยงานดังกล่าว ได้แก่ ตำรวจ และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มีความซื่อสัตย์สุจริตน้อยที่สุด ในขณะที่หน่วยงานอย่างกระทรวงมหาดไทย และกรมศุลกากร มีอันดับความซื่อสัตย์ที่ดีขึ้นมากจาก 15 ปีที่ผ่านมา
  • สำหรับข้อมูลของหน่วยงานราชการที่ผู้ไปติดต่อ ถูกเรียกสินบนบ่อยที่สุด ทั้งในปี 2542 และปี 2557 ได้แก่ สำนักงานที่ดิน อย่างไรก็ดี จำนวนดังกล่าว ลดลงจากร้อยละ 12 ของผู้ที่ไปติดต่อสำนักงานที่ดินในปีก่อนหน้านั้น ถูกเรียกให้จ่ายเงินสินบนอย่างน้อย 1 ครั้งในปี 2542 เหลือเพียงร้อยละ 7 ในปี 2557 สำหรับหน่วยงานอื่นที่มีการเรียกเงินสินบนบ่อยครั้งรองลงมาในปี 2557 ได้แก่ สถานีตำรวจ ด้วยเหตุนี้ สำนักงานที่ดิน จึงเป็นหน่วยงานที่มีความถี่ในการเรียกรับเงินบ่อยครั้งที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนครั้งที่มีการติดต่อ นอกจากนี้ ยังเป็นหน่วยงานที่มีการเรียกรับเงินสินบนที่เป็นเงินก้อนมูลค่ามากกว่า 100,00 บาทต่อครั้งด้วยสัดส่วนที่สูงที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับการเรียกรับด้วยมูลค่าอื่น ๆ และยังเป็นหน่วยงานเดียวที่มูลค่าเงินก้อนที่มีการเรียกรับสินบน ไม่ลดลงจาก 15 ปีที่ผ่านมา
  • สำหรับข้อมูลการเรียกเงินสินบนที่โรงเรียนของรัฐบาล มีมูลค่าเฉลี่ยเกือบ 12,000 บาท สูงที่สุดเทียบกับหน่วยราชการอื่น ๆ ในขณะที่ปี 2542 การเรียกเงินสินบนที่สถานีตำรวจมีมูลค่ามากที่สุด เฉลี่ยเท่ากับ 9,588 บาท ส่วนมูลค่าเฉลี่ยของเงินสินบนที่ถูกเรียกที่ศุลกากรยังอยู่ในอันดับสองทั้งปี 2542 และ 2557 โดยเพิ่มขึ้นจาก 8,428 บาทเป็น 10,538 บาท นั่นหมายความว่าหากพิจารณาจากมูลค่าของการจ่ายต่อครัวเรือนแล้ว คอร์รัปชันทางด้านการศึกษาดูเหมือนจะมีความร้ายแรงที่สุดในปัจจุบัน
  • สำหรับข้อมูลเรื่องทัศนคติของหัวหน้าครัวเรือน มีความเห็นว่าคอร์รัปชันเป็นปัญหาเรื้อรังที่แก้ไม่ได้ เนื่องจากการกระทำของนักการเมือง ไม่ใช่ประชาชนคนธรรมดา ซึ่งผลที่ว่านี้ แทบไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลย เมื่อเปรียบเทียบระหว่างปี 2542 และปี 2557 อย่างไรก็ดี ทัศนคติที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากปี 2542 คือ จากเดิมที่หัวหน้าครัวเรือนเห็นว่าข้าราชการไว้ใจไม่ได้ แต่ก็ยังไม่ร้ายแรงเท่านักการเมือง และสื่อมวลชน แต่ในปี 2557 หัวหน้าครัวเรือนกลับมองว่าข้าราชการไว้ใจไม่ได้อย่างร้ายแรงพอ ๆ กับนักการเมือง และสื่อมวลชนเองก็ไว้ใจไม่ได้ด้วยเช่นกัน
  • สำหรับข้อมูลเรื่องการต่อต้านคอร์รัปชัน ผลการสำรวจทั้งในปี 2542 และปี 2557 พบว่าครัวเรือนต่างมีความเห็นเป็นเอกฉันท์ว่าข้าราชการที่ทุจริตคอร์รัปชัน ควรถูกลงโทษสถานหนักกว่าประชาชนคนธรรมดา และรัฐบาลควรให้ความสำคัญกับการปราบปรามคอร์รัปชันเป็นลำดับต้น ๆ 
  • คณะผู้วิจัย มีข้อเสนอให้หน่วยงานและองค์กร หรือบุคคลสาธารณะที่ครัวเรือนระบุว่ายังมีปัญหาใส่ใจกับการปฏิรูปอย่างเร่งด่วน และเสนอให้มีการสำรวจแบบเดียวกันนี้ ในระดับชาติ ทุก 5 ปี หรือ 10 ปี เพื่อสร้างระบบข้อมูล อันเป็นมาตรการหนึ่งในการตรวจสอบและป้องปรามการคอร์รัปชันในภาคราชการ
  • สำหรับข้อเสนอในการวิจัยครั้งต่อไป เสนอให้มีการศึกษาต่อยอดกรณีที่ประสบความสำเร็จมาก เปรียบเทียบกับ กรณีที่ยังเป็นปัญหาให้ลุ่มลึกถึงสาเหตุ และวิธีการคอร์รัปชัน เพื่อสรุปเป็นบทเรียนการสร้างความโปร่งใส และลดการทุจริตในภาคราชการให้ได้ผลยิ่งขึ้น
เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

ผาสุก พงษ์ไพจิตร, ธานี ชัยวัฒน์ และยงยุทธ ไชยพงศ์. (2557). คอรัปชันในระบบราชการไทย การสำรวจทัศนคติ ประสบการณ์ของหัวหน้าครัวเรือน. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.).

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2557
ผู้แต่ง
  • ผาสุก พงษ์ไพจิตร
  • ธานี ชัยวัฒน์
  • ยงยุทธ ไชยพงศ์
หน่วยงาน
หัวข้อ
Related Content

บทความวิจัย : นโยบายต่อต้านคอร์รัปชันและการให้สินบน

การศึกษาสาเหตุของปัญหาคอร์รัปชันและการให้สินบน พร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหา คือ การปรับทัศนคติของสังคม และโครงสร้างทางอำนาจของรัฐ

บทความวิจัย : มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการ

แนวทางการดำเนินคดีสำหรับผู้ทุจริตการสอบคัดเลือกเข้ารับราชการ และเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาด้านการพัฒนากฎหมายการทุจริตการสอบคัดเลือกเข้ารับราชการ

การศึกษากลุ่มอิทธิพลซึ่งนำไปสู่การทุจริตคอร์รัปชันอย่างเป็นระบบ (Organized Corruption) จำแนกตามภาคเศรษฐกิจ: กรณีศึกษาการทุจริตภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีศุลกากรในประเทศไทย

ศึกษารูปแบบของกลุ่มอิทธิพลซึ่งนำไปสู่การทุจริตคอร์รัปชันอย่างเป็นระบบ และศึกษาลักษณะความสัมพันธ์และความร่วมมือของกลุ่มอิทธิพล ผ่านกรณีศึกษาการทุจริตภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีศุลกากรในประเทศไทย

โครงการสำรวจการรับรู้และความเข้าใจด้านการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ของเจ้าหน้าที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประเทศไทย

ศึกษาและสํารวจข้อมูลระดับการรับรู้ของเจ้าหนาที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีต่อความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) เพื่อลดพฤติกรรมความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ในอนาคต

You might also like...

KRAC Hot News I ไฟฟ้าไทยแพง เพราะภาคพลังงานยังโปร่งใสไม่พอ

เพราะไฟฟ้าได้กลายเป็นปัจจัยที่ 5 ไปแล้ว แต่ที่น่ากังวล คือไฟฟ้ายังคงเป็นปัจจัยเดียวที่ราคาไม่ได้เป็นไปตามกลไกตลาด ที่สำคัญยังเหมือนจะแพงขึ้นเรื่อย ๆ ด้วย…ทำไมค่าไฟฟ้าของไทยยังแพง และมีบทเรียนจากต่างประเทศอะไรบ้าง

บทความวิจัย : ปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติประจำจังหวัด ในการรวบรวมพยานหลักฐานในความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ในองค์การบริหารส่วนตำบล

ความล่าช้าในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด มีปัญหาหลักมาจากการขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย และการดำเนินการ

บทความวิจัย : รูปแบบการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนตามแนววิถีพุทธในงานต่อต้านการทุจริต และการสร้างเครือข่ายต่อต้านการทุจริตอย่างยั่งยืน

การพัฒนากิจกรรมสำหรับต่อต้านการทุจริตควรมีการประยุกต์หลักพุทธธรรมและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกับการส่งเสริมการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ