การทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560

การนำฐานข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างมาใช้ในการตรวจสอบดูแลและจำกัดการใช้ดุลยพินิจ รวมถึงการเปิดเผยข้อมูลเพื่อให้เกิดความโปร่งใสและให้ความรู้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้าง จะช่วยป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐเพื่อไม่ให้เกิดการเอื้อประโยชน์กับพวกพ้อง

ในปัจจุบันมีการบังคับใช้พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 เพื่อป้องกันปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบในการจัดซื้อจัดจ้าง แต่กลับพบว่าปัญหาการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างยังคงมีอยู่และจำเป็นที่ต้องได้รับการแก้ไข

จากสาเหตุดังกล่าว จึงเป็นที่มาของวัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้ คือ

  1. เพื่อศึกษากระบวนการและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และระเบียบที่เกี่ยวข้อง
  2. เพื่อศึกษาลักษณะของการทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างและปัจจัยที่เอื้อให้เกิดการทุจริตตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
  3. เพื่อเสนอข้อเสนอแนะหรือแนวทางการแก้ไขปัญหาการทุจริตการจัดซื้อจัดจ้าง

ผลการศึกษา พบว่า ในการจัดซื้อจัดจ้างตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ได้แบ่งกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างออกเป็น กระบวนการก่อนการจัดซื้อจัดจ้าง กระบวนการระหว่างการจัดซื้อจัดจ้าง และกระบวนการหลังการจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งพบการทุจริตอยู่ทั้ง 3 กระบวนการ และมีลักษณะการทุจริตที่แตกต่างกันไปตามพฤติกรรมของผู้รับจ้างและเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องกับการทุจริต

สรุปประเด็นสำคัญของงานวิจัย

  • ลักษณะการทุจริตที่พบในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ได้เเก่ 1) แบ่งซื้อแบ่งจ้างโดยมิชอบ 2) กำหนดรายละเอียดเพื่อกีดกันหรือเอื้อให้กับผู้รับจ้างบางราย 3) อ้างกรณีมีความจำเป็นที่เป็นเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการแข่งขันราคา 4) ผู้รับจ้างดำเนินงานก่อนมีการจัดซื้อจัดจ้าง 5) การฮั้วประมูล 6) การจัดซื้อที่ราคาสูงเกินจริง 7) เจ้าหน้าที่รัฐมีส่วนได้เสียในสัญญา 8) การไม่ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 9) เบิกจ่ายเงินล่าช้าเพื่อหวังเงินทอน 10) จัดทำเอกสารสัญญาเป็นเท็จ/แก้ไขสัญญาทำให้รัฐเสียเปรียบ และ 11) ควบคุมงานไม่ถูกต้อง/ตรวจรับงานเท็จ ไม่เป็นไปตามแบบ ไม่ได้มาตรฐาน
  • ปัจจัยที่เอื้อให้เกิดการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง ประกอบด้วย 10 ปัจจัย ได้เเก่ 1) จำนวนของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 2) กฎหมายเกี่ยวข้องเปิดช่องให้ใช้ดุลยพินิจ 3) การบังคับใช้กฎหมายในการตรวจสอบควบคุม 4) ความโปร่งใส 5) การมีส่วนร่วมของประชาชน 6) ผลกระทบจากสังคมเศรษฐกิจ 7) ระบบอุปถัมภ์ 8) ระดับความรู้กฎหมาย/ระเบียบที่เกี่ยวข้อง 9) จำนวนของผู้ประกอบการ และ 10) มูลค่าวงเงินราคากลาง

สรุปข้อเสนอแนะจากงานวิจัย

  • ควรดำเนินการให้มีการกำหนดรายละเอียดคุณสมบัติของเกณฑ์เพิ่มเติมเพื่อไม่ให้เกิดการตีความแล้วนำไปใช้เอื้อประโยชน์ให้กับตนเองหรือพวกพ้อง
  • ควรมีการใช้ฐานข้อมูลที่ได้จากการจัดซื้อจัดจ้างให้เกิดประโยชน์ในการตรวจสอบ ควบคุม การลดหรือการจำกัดอำนาจในการใช้ดุลยพินิจ
  • ควรเพิ่มความโปร่งใสด้วยการเปิดเผยข้อมูลในขั้นตอนที่ประชาชนยังไม่สามารถรับรู้ได้ รวมถึงการส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

ศักรินทร์ นิลรัตน์, ศิรินันท์ วัฒนศิริธรรม, สยาม ธีระบุตร และ ศิรินทิพย์  แสงมิ่ง. (2566). ารทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2566
ผู้แต่ง
  • ยศักรินทร์ นิลรัตน์ 
  • ศิรินันท์ วัฒนศิริธรรม 
  • สยาม ธีระบุตร 
  • ศิรินทิพย์  แสงมิ่ง
หน่วยงาน

หัวข้อ
Related Content

โครงการสำรวจการรับรู้และความเข้าใจด้านการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ของเจ้าหน้าที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประเทศไทย

ศึกษาและสํารวจข้อมูลระดับการรับรู้ของเจ้าหนาที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีต่อความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) เพื่อลดพฤติกรรมความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ในอนาคต

โครงการศึกษาเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยใช้อำนาจรัฐ

ศึกษาการตรวจสอบดุลพินิจของฝ่ายปกครองในการออกใบอนุญาต และศึกษากฎหมายต่างประเทศเพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ

โครงการศึกษาฐานข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐเพื่อออกแบบยุทธศาสตร์ในการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชันในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

วิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงการทุจริตคอร์รัปชันในโครงการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ โดยใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์จากกรมบัญชีกลาง จำนวน 40,000 โครงการ และนำมาจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อป้องกันปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

You might also like...

ยุุทธศาสตร์การป้องกันและปราบปรามการทุจริตในโครงการพัฒนาของรัฐระดับชุมชน

จากการวิเคราะห์ TOWS Matrix 4 ของโครงการต่าง ๆ ของรัฐ สามารถพัฒนาเป็นโมเดลยุทธศาสตร์ เพื่อช่วยลดปัญหาคอร์รัปชันในโครงการพัฒนาของรัฐระดับชุมชนได้

แนวหน้าต่อต้านคอร์รัปชัน : เมื่อ ‘งบก่อสร้าง’ ไม่ได้สร้างแค่ถนน แต่สร้างรายได้พิเศษให้บางคนด้วย

จากที่ผมได้รับเกียรติให้เข้าร่วมเป็นกรรมาธิการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 ในนามนักวิชาการอิสระที่ไม่สังกัดพรรคการเมืองใด ผมถือว่าหน้าที่นี้คือโอกาสสำคัญที่จะได้ตรวจสอบการใช้งบประมาณแผ่นดินให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ และทรัพยากรของประเทศมีอยู่อย่างจำกัด

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | การต่อต้านการทุจริต อาจต้องเริ่มที่ความเข้าใจของประชาชน

ผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสิทธิการรับรู้ข่าวสารของสำนักงาน ป.ป.ช. จำนวน 1,041 คน ในปี 2562 ชี้คนไทยครึ่งประเทศไม่รู้ว่า ตัวเองมีสิทธิเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของสำนักงาน ป.ป.ช.