คัดสรรงานวิจัยไทยต่อต้านคอร์รัปชัน ที่คุณอาจไม่รู้ (จัก) มาก่อน : ชวนอ่านสรุปงานวิจัยไทย 24 ชิ้น เพื่อทำความเข้าใจการต่อต้านคอร์รัปชัน

ชวนอ่านสรุปงานวิจัยไทยที่ KRAC คัดสรรมาให้คุณ เพื่อจะทำให้คุณเข้าใจปัญหาการคอร์รัปชัน และวิธีการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันภายใต้บริบทของประเทศไทย

ทางออกหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหาคอร์รัปชันได้อย่างยั่งยืน คือการที่คนในสังคมมีความรู้ความเข้าใจที่เท่าทันการคอร์รัปชัน จนเกิดการตระหนักรู้ถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น และเข้ามามีส่วนร่วมในการต่อต้านคอร์รัปชันอย่างเเข็งขัน อย่างไรก็ดี การคอร์รัปชันในปัจจุบัน มีความซับซ้อนของวิธีการโกงที่แนบเนียนมากขึ้น เพื่อให้คนนอกไล่จับไม่ทัน กลายเป็นอุปสรรคของคนในสังคมที่จะเข้ามามีส่วนร่วมต่อต้านคอร์รัปชัน

ดังน้ัน การทำความเข้าใจเกี่ยวกับการคอร์รัปชัน และการต่อต้านคอร์รัปชันอย่างเป็นวิชาการผ่านงานวิจัยที่ได้ศึกษาเเละทดลองปฏิบัติภายใต้บริบทของเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการเมืองของประเทศไทย จะช่วยให้ผู้ที่สนใจศึกษาเรื่องคอร์รัปชันในเชิงลึก เข้าใจคอร์รัปชัน และ ลงมือต่อต้านคอร์รัปชัน ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น

จึงเป็นที่มาของคอลัมน์ “KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย” บทความเล่างานวิจัยไทยด้านการต่อต้านคอร์รัปชัน ที่หยิบยกหนึ่งในประเด็นของงานวิจัยในมุมมองของผู้นำไปปฎิบัติ เพื่อปูพื้นฐานความรู้และความเข้าใจเรื่องการคอร์รัปชัน และการต่อต้านคอร์รัปชันในมิติต่าง ๆ ภายใต้บริบทของประเทศไทย 

คอลัมน์ “KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย” ประกอบด้วยชุดบทความ (Series) จำนวน 4 ชุด ซึ่งจะช่วยปูพื้นฐานความรู้และความเข้าใจเรื่องการคอร์รัปชันผ่านงานวิจัยของไทย ประกอบด้วยงานศึกษาวิจัยที่ครอบคลุมแนวคิดทางวิชาการของศาสตร์ต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ ทั้งงานวิจัยเชิงวิชาการ และเชิงปฏิบัติการที่ศึกษาด้านการคอร์รัปชัน และการต่อต้านคอร์รัปชันในมิติต่าง ๆ เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงการอธิบายแนวคิดเกี่ยวกับการคอร์รัปชันและสถานการณ์คอร์รัปชันที่มีความครอบคลุมในประเด็นเชิงลึกของประเทศไทย รวมถึงนำเสนอตัวอย่างแนวทางในการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันที่มีประสิทธิภาพ อันจะนำไปสู่การส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องการต่อต้านคอร์รัปชันของประชาชน โดยมีรายละเอียดของชุดบทความต่าง ๆ ที่น่าสนใจ ดังนี้

Series 1 : เข้าใจบริบทการคอร์รัปชันในประเทศไทย ผ่านงานวิจัย 6 ชิ้น

ชุดบทความรวบรวมงานวิจัยที่ศึกษาการคอร์รัปชันในบริบทของประเทศไทย ผ่านมุมมองที่บูรณาการโดยศาสตร์ต่าง ๆ เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงสภาพปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองที่เอื้อให้เกิดการคอร์รัปชัน และช่วยปูพื้นฐานให้กับผู้ที่มีความสนใจและต้องการที่จะเริ่มต้นเรียนรู้เกี่ยวกับการคอร์รัปชันได้เข้าใจประเภท สาเหตุ และผลกระทบของการคอร์รัปชัน เพื่อให้รู้เท่าทันการคอร์รัปชันในรูปแบบต่าง ๆ และมีความเข้าใจถึงผลกระทบของการคอร์รัปชันที่มีต่อสังคม

ผู้ที่สนใจสามารถคลิกอ่านได้ที่ลิงก์ด้านล่าง

Series 2 : มองคอร์รัปชันจากมุมมองของคนใน (พื้นที่) ผ่านงานวิจัย 6 ชิ้น

ชุดบทความรวบรวมงานวิจัยที่ศึกษาการคอร์รัปชันในบริบทของประเทศไทย ผ่านมุมมองของคนในสังคม หรือองค์กร/หน่วยงาน เพื่อทำความเข้าใจรูปแบบของการคอร์รัปชันที่หลากหลายในสังคมไทย ผ่านบริบททางวัฒนธรรม ความเชื่อ และความสนใจในประเด็นการคอร์รัปชันของคนที่หลากหลายและมีความแตกต่างกัน อันจะนำไปสู่การค้นหาวิธีการจัดการปัญหาการคอร์รัปชันที่สอดรับกับบริบทของพื้นที่และผู้คน รวมถึงกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนและหน่วยงาน/องค์กร ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการคอร์รัปชันอย่างยั่งยืน

ผู้ที่สนใจสามารถคลิกอ่านได้ที่ลิงก์ด้านล่าง

Series 3 : ต่อต้านคอร์รัปชันอย่างไรให้ได้ผล ผ่านงานวิจัย 6 ชิ้น

ชุดบทความรวบรวมงานวิจัยที่ศึกษาวิธีการต่อต้านคอร์รัปชันในบริบทของประเทศไทย ผ่านมุมมองของคนในพื้นที่ หรือองค์กร/หน่วยงาน เพื่อให้เข้าใจถึงวิธีการแก้ไขปัญหาการคอร์รัปชันที่มีประสิทธิผลด้วยกลไกของคนในพื้นที่ หรือองค์กร/หน่วยงานอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งจะช่วยสะท้อนให้เห็นถึงข้อจำกัดในการแก้ไขปัญหาการคอร์รัปชันของประเทศไทย อันจะนำไปสู่การเพิ่มโอกาสการในการสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม เเละภาคประชาชนไนการต่อต้านคอร์รัปชันด้วยวิธีการเเละมุมมองใหม่ ๆ เพิ่มมากขึ้น

ผู้ที่สนใจสามารถคลิกอ่านได้ที่ลิงก์ด้านล่าง

Series 4 : ถอดบทเรียนเชิงป้องกันการคอร์รัปชัน

ชุดบทความรวบรวมงานวิจัยที่ศึกษาวิธีการต่อต้านคอร์รัปชันในบริบทของประเทศไทย ผ่านกระบวนการป้องกัน ปลูกฝัง และเปิดโปง ด้วยกลไกและเครื่องมือที่น่าสนใจ เช่น การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีตรวจจับการคอร์รัปชัน การพัฒนากฎหมายคุ้มครองผู้เเจ้งเบาะเเส รวมถึงการนำเสนอตัวอย่างที่ดีในการปัองกันและติดตามการคอร์รัปชันในรูปแบบต่าง ๆ ที่สามารถนำไปปฏิบัติใช้จริง ภายใต้กรณีศึกษาจากพื้นที่ หรือองค์กร/หน่วยงานต่าง ๆ อันจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาการคอร์รัปชันประเภทต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น

ผู้ที่สนใจสามารถคลิกอ่านได้ที่ลิงก์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

ต่อภัสสร์ ยมนาค, สุภัจจา อังค์สุวรรณ, เจริญ สู้ทุกทิศ และเจษฎา จงสิริจตุพร. (2567). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชันและส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค. สำนักงานการวิจัยเเห่งชาติ.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2567
ผู้แต่ง
  • ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค

หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
หัวข้อ
Related Content

เปลี่ยน Trainees เป็น Rookies ตัวท็อปของวงการ : ชวนอ่าน Anti-Corruption 101 เพื่อปูพื้นฐานการต่อต้านคอร์รัปชัน

ชวนอ่าน Anti-Corruption 101 ที่จะช่วยปูพื้นฐานความรู้ในเรื่องการคอร์รัปชัน ผ่านแนวคิดทางวิชาการ และเรียนรู้แนวทางการต่อต้านคอร์รัปชันที่มีเนื้อหาเข้าใจง่ายสำหรับทุกคน

คัดสรรงานวิจัยไทยต่อต้านคอร์รัปชัน ที่คุณอาจไม่รู้ (จัก) มาก่อน : ชวนอ่านสรุปงานวิจัยไทย 24 ชิ้น เพื่อทำความเข้าใจการต่อต้านคอร์รัปชัน

ชวนอ่านสรุปงานวิจัยไทยที่ KRAC คัดสรรมาให้คุณ เพื่อจะทำให้คุณเข้าใจปัญหา และวิธีการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันภายใต้บริบทของประเทศไทย

You might also like...

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : ตุลาการธิปไตย (Juristocracy) : ตัวแทนแห่งความยุติทำ จะลงทัณฑ์แกเอง

“อย่าล้อเล่นกับระบบ” คำที่มาจากการหยอกล้อหรือใช้กันอย่างแพร่หลายในสังคมเริ่มกลายเป็นความจริงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ขึ้นมาท่ามกลางความวุ่นวายในปัจจุบันที่อาจดึงการเมืองของประเทศไทยให้ถอยหลังกลับสู่ความมืดมนและไร้เสถียรภาพ…

KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I iacc 2024 ชี้ การทุจริตและระบบเผด็จการ คือจุดร่วมของภัยคุกคาม ย้ำทำให้การต่อต้านคอร์รัปชันเป็นไปได้ยาก !

เมื่อช่วงวันที่ 18 – 21 มิถุนายน 2567 สภานานาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต (IACC Council) ได้จัดการประชุมนานาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต (International Anti-Corruption Conference: IACC) หรือ #IACC2024 ที่เมืองวิลนีอุส โดยมีประเทศลิทัวเนียเป็นเจ้าภาพ

บทความวิจัย : ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสริมสร้างความร่วมมือและการควบคุมคอร์รัปชันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี

เมื่อการกระจายอำนาจกลับกลายเป็นการกระจายการทุจริตสู่ท้องถิ่น เพื่อยับยั้งปัญหาคอร์รัปชันในท้องถิ่น จึงต้องส่งเสริมการปกครองตามหลักธรรมาภิบาล (กรณีศึกษา จังหวัดเพชรบุรี)