สวัสดีครับ ในช่วงสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 อย่างหนัก จนไม่รู้ระลอกที่เท่าไหร่แล้ว ท่านผู้อ่านได้จองหรือฉีดวัคซีนโควิด-19 กันหรือยังครับ ตัวผมเองได้จองให้กับคุณพ่อ-คุณแม่ที่ท่านมีอายุเกิน 60 ปี ผ่านไลน์ “หมอพร้อม” เรียบร้อยแล้วครับ คุณพ่อก็จะได้คิวฉีดในเดือนมิถุนายนและคุณแม่ก็จะได้คิวฉีดในเดือนกรกฎาคมตามลำดับ และจองให้กับตัวเองผ่านwww.ไทยร่วมใจ.com นัดหมายไว้ว่าจะได้ฉีดต้นเดือนกรกฎาคม
จองเสร็จก็ติดตามข่าวสารรายวัน ยอดผู้ติดเชื้อกับยอดผู้เสียชีวิตก็ดูจะไม่ลดลงเลย ข่าวของภาคส่วนต่างๆ ที่เคยช่วยเหลือกันด้วยนวัตกรรมทางสังคมอย่างเช่น ตู้ปันสุข เหมือนเมื่อปีที่แล้วก็ไม่ค่อยจะมี แสดงว่ารอบนี้หนักจริง เศรษฐกิจทรุดจริงๆ จนคนไม่รู้จะเอาสุขที่ไหนไปปันเสียแล้วและยังมีข่าวเรื่องวัคซีนเจ้ากรรมที่ผลิตในประเทศเราดูจะยังไม่พร้อมจำหน่ายจ่ายแจกให้ได้ทั่วประเทศ เหมือน “หมอพร้อม” และประชาชนที่วันนี้ส่วนใหญ่ก็พร้อมรับการฉีดวัคซีนแล้ว
สรุปคือประชาชนคนทั่วไปไม่มีใครทราบแผนการฉีดและกติกาที่แท้จริงทั้งหมด ต้องขอตั้งคำถามว่าการจัดสรรทรัพยากรในครั้งนี้เป็นไปอย่าง “โปร่งใส” หรือไม่? แต่ที่แน่ใจแล้วคือ “ตรวจสอบได้ยาก” ถ้ากติกาของสังคมนี้คือ คนที่รู้จักกับผู้มีอำนาจและพวกพ้องจะเป็นผู้ได้รับความปลอดภัยในชีวิตก่อน ผมจึงไม่แปลกใจที่ทุกวันนี้คนทั้งหลายในสังคมจะพยายามรู้จัก พยายามสร้างเครือข่าย หรือที่เรียกว่า คอนเนคชัน กับผู้มีอำนาจ เพราะเป็นการการันตีว่าหากวันใดวันหนึ่งชีวิตมีปัญหาก็จะได้รับการช่วยเหลือโดยมีสิทธิพิเศษมากกว่าชาวบ้านชาวช่องทั่วไป คำถามก็คือ เราจะอยู่กันไปแบบนี้ใช่หรือไม่?
อีกคำถามสำคัญก็คือ สัญญาต่างๆ ที่รัฐทำไม่ว่าจะเป็นการจัดหาวัคซีนมีการเปิดเผยเอาไว้ที่ไหนหรือไม่? เท่าที่ผมหาและทราบคือไม่มีการเปิดเผย นอกจากเป็นคำพูดที่ออกมาแถลง ซึ่งมีความกำกวมเป็นอย่างมาก เช่น กรณีการส่งมอบวัคซีน หากติดเรื่องข้อมูลเป็นเรื่องความลับทางการค้า ก็ควรเปิดข้อมูลในส่วนที่เปิดได้ ไม่ใช่ปิดทั้งฉบับแบบนี้
การเปิดเผยอย่างโปร่งใสนี้ไม่ได้มีไว้ให้การทำงานลำบากมากขึ้น หากแต่เป็นการทำให้พี่น้องได้รับรู้ข้อมูลและเกิดความเชื่อมั่น เข้าใจความยากในการบริหารงานภายใต้วิกฤตการณ์ได้ดียิ่งขึ้น และสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยรัฐรับมือกับวิกฤตการณ์ แน่นอนว่าจะต้องมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์การทำงาน รัฐควรรับฟังและเอาเสียงเหล่านั้นมาใช้ หรือจะให้สังคมเราอยู่กันแบบคลุมเครือและแบบเครือญาติไร้ซึ่งความโปร่งใสใดๆเป็นบรรทัดฐานต่อไป
3) การมีส่วนร่วม (Participation) วิกฤตการณ์นี้ทำให้เห็นการพยายามมีส่วนร่วมจำนวนมาก การบริหารการมี มีการทำเตียงที่มาจากกระดาษพับ การช่วยกันสร้างโรงพยาบาลสนามของคุณพิมรี่พาย คุณหมอเหรียญทอง และท่านอื่นๆ การเอื้อเฟื้อสถานที่ฉีดวัคซีนจากภาคเอกชน จากหน่วยงานต่างๆ ค่ายมือถือหลักทั้งสามค่ายที่เข้ามาช่วยในการลงทะเบียนนัดรับวัคซีน ไปจนถึงความพยายามที่จะช่วยรัฐในการจัดหาวัคซีนในทุกช่องทาง ดังที่เคยได้ยินตามเพลงว่า “คนไหนคนไทย จะรู้ได้ไง ถ้ามีน้ำใจละคนไทยแน่นอน” อันนี้เรื่องจริงและต้องขอชมเชยครับ แต่สิ่งที่ประชาชนคนธรรมดามีส่วนร่วมในการช่วยออกความเห็น ตั้งคำถาม ไปจนถึงวิพากษ์วิจารณ์ รัฐควรรับฟัง ตอบคำถามให้พวกเขาเข้าใจ ไม่ควรไปหาทางใช้กฎหมายให้เขาไม่พูดครับ และถ้าเป็นไปได้ควรบริหารการมีส่วนร่วมโดยการเปิดเผยข้อมูลสิ่งที่ขาดเพื่อให้เกิดการร่วมด้วยช่วยกันมากกว่ามากลัวเสียฟอร์มครับ
4) กลไกความรับผิดชอบ (Accountability) จากหลายข้อที่กล่าวมา รวมไปถึงเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับวัคซีน เช่น กรณีสนามมวย เรื่องบ่อนที่เงียบไปแล้ว เรื่องการปล่อยให้มีการลักลอบเข้าชายแดนทางช่องทางธรรมชาติ หากมีความคืบหน้าใดที่มีการดำเนินการแล้ว รัฐก็ช่วยแถลงผลและก็ขอวอนให้สำนักข่าวช่วยติดตามเรื่องราวและสรุปให้ประชาชนได้เห็นด้วยเถิดว่ากลไกความรับผิดชอบในสังคมนี้ยังมีอยู่ จะได้เกิดเป็นบรรทัดฐานของสังคมต่อไป ส่วนประเด็นเรื่องการบริหารจัดการวัคซีนช่วงต้น ความประมาทของผู้มีอำนาจฝ่ายรัฐบางท่าน การบริหาร การจัดสรรวัคซีนที่ล่าช้า จะไม่ต้องมีใครรับผิดชอบเลยหรือ? จะมีการเอาผู้ที่มีความสามารถเข้ามารับผิดชอบ ช่วยท่านนายกฯ บริหารจัดการหรือไม่? การแสดงความรับผิดชอบอาจกระทำโดยการออกมายอมรับในข้อผิดพลาด การขอโทษสังคม การกล้าลงโทษบุคคลที่ทำงานผิดพลาดแม้จะเป็นพวกพ้องหรือมีผลประโยชน์ร่วมกันเพียงใด ไปจนถึงการเปิดโอกาสให้บุคคลที่มีความสามารถมากกว่าเข้ามาทำงานแทน
สุดท้ายนี้ ต้องขอฝากไปให้กับผู้มีอำนาจว่าท่านอย่าเพิ่งโมโหโกรธาและมึนงงว่าจะต้องทำอย่างไรกับคำวิจารณ์หลากหลายจนไปดำเนินคดีกับผู้ที่ให้ความเห็นบ้าง ทำอะไรไม่ถูกเหมือนนักมวยเมาหมัดบ้าง ผมขอวิงวอนให้ท่านทั้งหลายบริหารจัดการวัคซีนและสถานการณ์โดยยึดเอาประชาชนเป็นสำคัญด้วยหลักธรรมาภิบาลให้ได้โดยเร็ว โดยอาจจะเริ่มจากการค่อยๆ ชี้แจง เปิดเผยอย่างโปร่งใส ขอความช่วยเหลือจากทางภาคส่วนต่างๆ เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วม และผมขอให้กำลังใจฮีโร่ด่านหน้าคือ บุคลากรทางการแพทย์รวมถึงผู้ที่ช่วยอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น เจ้าหน้าที่รับคิว ตรวจบัตร เจ้าหน้าที่ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ อาสาสมัคร หน่วยงานราชการและเอกชนที่ช่วยกันอย่างแข็งขัน แล้วก็ขอเป็นกำลังใจแก่สังคมไทยผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปได้อย่างดีที่สุด บาดแผลที่โควิด-19 ทิ้งไว้ทำให้ทั้งเศรษฐกิจและสังคมอ่อนแอลง แต่ในเรื่องธรรมาภิบาลในสังคม ไปจนถึงคุณธรรมประจำใจของทุกท่านที่เป็นค่านิยมที่หล่อหลอมสังคมก็ขออย่าให้ลดน้อยถอยกว่านี้เลยนะครับ
สุภอรรถ โบสุวรรณ
หัวข้อ
แนวหน้าต่อต้านคอร์รัปชัน : โอปป้า เพื่อระบบที่ดีสร้างสังคมยั่งยืน
โอปป้าจ๋าช่วยด้วยยยย ! ทำไมคอร์รัปชันยังไม่หมดไปสักที หลาย ๆ คนอาจจะสงสัยว่า ทำไมเราถึงอยากปฏิรูปการศึกษาก็ทำไม่ได้ อยากป้องกันทรัพยากรธรรมชาติก็ทำได้ยากเพราะมีคนแย่งหาผลประโยชน์กันเต็มไปหมด หรือแม้แต่การสร้างสวัสดิการที่ดีให้กับประชาชนก็ดันไม่ถึงมือประชาชนอีก ซึ่งส่วนหนึ่งอาจมาจากการคอร์รัปชันที่ยังไม่สามารถแก้ไขให้หมดไปได้นั่นเอง
แนวหน้าต่อต้านคอร์รัปชัน : เวทีต้านโกงระดับโลก เขาพูดคุยอะไรกัน
4 ประเด็นน่าสนใจจาก “Summit for Democracy 2023” การประชุมระดับโลกเมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา ผศ. ดร.ต่อภัสสร์ ยมนาค ผู้ร่วมก่อตั้งและที่ปรึกษา HAND Social Enterprise HANDSocialEnterprise ได้รับเชิญจากรัฐบาลเกาหลีใต้ให้ไปร่วมเสวนาในงาน Summit for Democracy 2023 หัวข้อหลักงานปีนี้คือ “การต่อต้านคอร์รัปชัน” เชื่อมโยงคำอธิบายว่า การคอร์รัปชันบ่อนทำลายประชาธิปไตย ในทางกลับกันประเทศที่ประชาธิปไตยไม่เข้มแข็งจะทำให้คอร์รัปชันสูงขึ้น
แนวหน้าต่อต้านคอร์รัปชัน : เรามีคนโกงเพิ่มขึ้น หรือ เราจับคนโกงได้มากขึ้น
แจ้งไม่เยอะแน่นะวิ ! ปี 65 พบการแจ้งเรื่องทุจริตเกือบ 10,000 เรื่องในไทย เคยสงสัยกันบ้างไหมว่าทั้งๆ ที่มีหน่วยงานปราบโกงที่มีอำนาจทางกฎหมายล้นเหลืออยู่หลายหน่วยงาน ทำไมระดับการคอร์รัปชันของไทยยังดูจะแย่ลงเรื่อยๆ