คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : เพราะความรักไม่ใช่ความลับ ถ้าอยากจะรักทำไมต้องปิด

เพราะโลกนี้มีเรื่องต้องห้ามอยู่มากมาย มีกฎเกณฑ์ กฎหมายที่ใช้ในการอยู่ร่วมกันในสังคม แต่มันไม่ใช่แค่เรื่องของการสร้างกฎเพื่อจัดระเบียบ เพื่อความสงบสุขของสังคมอย่างเดียวแต่มันกลับมีบางอย่างที่ในหลายๆ สังคมก็มองว่าไม่ถูกไม่ควร ยังมีข้อห้ามที่เราอาจจะรู้สึกแปลกๆ และรู้สึกว่ามันร้ายแรงมากเกินไป เช่น ในประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มีกฎหมายห้ามแสดงความรักกันในที่สาธารณะไม่ว่าจะเป็นการกอด จับมือหรือจูบ อิตาลีมีกฎหมายห้ามคู่รักจูบกันบนรถ และในบางประเทศการรักเพศเดียวกันเป็นเรื่องผิดกฎหมายมีโทษตั้งแต่จำคุกและโทษหนักไปจนถึงประหารชีวิต

คำพูดมากมายที่เราได้ยินกันอยู่บ่อยๆ ทั้งในละคร ภาพยนตร์ ซีรี่ส์หรือบทเพลงอย่างประโยคที่ว่า รักก็คือรัก ความรักชนะทุกอย่าง ช่างดูสวยงามโรแมนติกเสมอ แต่เมื่อมาดูที่สังคมปัจจุบันทำให้เราเห็นแล้วว่าต่อให้รักก็คือรักแต่ความรักยังไม่สามารถชนะได้ทุกอย่าง เพราะจากที่ลองหาดูข้อมูลเกี่ยวกับการแสดงความรักในประเทศต่างๆก็พบกฎหมายที่น่าสนใจและน่าตั้งข้อสงสัยชวนกันมาถกถามอยู่มากเช่นกัน หากคุณเป็นคู่รักชายหญิงก็อาจจะไม่ได้มีข้อห้ามหรือกฎหมายที่ร้ายแรงอะไรนอกจากการแสดงความรักต่อกันในที่สาธารณะของในบางประเทศ แต่หากคุณมีหวานใจหรือคนรักเพศเดียวกันการจะแสดงความรักในที่สาธารณะแค่จะจับมือหรือกอดกัน คุณอาจจะโดนทำร้ายร่างกายได้ทันทีโดยผู้ที่กระทำไม่มีความผิด คุณอาจจะต้องติดคุก หรือร้ายแรงที่สุดของโทษที่คุณจะได้รับคือการถูกประหารชีวิต ! แค่ได้รับรู้ว่าการรักกันของมนุษย์ที่เป็นเพศเดียวกันต้องมีกฎ ข้อห้ามและมีโทษที่ร้ายแรงมากถึงขนาดต้องทำร้ายร่างกายและเอาชีวิตกันไปมันก็ทำให้รู้สึกเศร้าในหัวใจมากเหลือเกิน

ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกต่างเรียนรู้และร่วมสนับสนุนความเท่าเทียมทางเพศไม่ใช่แค่ของชายหรือหญิงแต่เป็นทุกๆ เพศที่มีอยู่ (แล้วแต่ว่าเขาอยากเรียกตัวเองว่าอะไร) ทั้งเรื่องกฎหมายการสมรสเท่าเทียม รัฐสวัสดิการ การไม่เลือกปฏิบัติหรือสิ่งสำคัญอีกหนึ่งอย่างคือศักดิ์ศรีในการเป็นมนุษย์ที่เราทุกคนนั้นมีเหมือนกัน แต่ก็ยังมีอีกหลายประเทศเช่นกันที่มองว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องผิดบาป ผิดหลักศาสนา เป็นสิ่งที่ต้องจัดการให้เด็ดขาดอย่างประเทศในกลุ่มอาหรับและแอฟริกา เช่น แอลจีเรีย, คูเวต, เลบานอน, กาตาร์ ฯลฯ การมีพฤติกรรมรักร่วมเพศมีโทษจำคุกสูงสุดอาจเป็นเวลา 10 ปี และในประเทศอิหร่าน, ซาอุดีอาระเบีย, ซูดาน, เยเมน, มอริเตเนีย มีโทษสูงสุดคือการประหารชีวิต

ไม่ใช่เราไม่เห็นการพยายามเรียกร้องจากกลุ่มคนในประเทศเหล่านี้เพื่อให้เกิดความเสมอภาคกันทางเพศแต่ด้วยตัวบริบททางสังคม วัฒนธรรม ความเชื่อหรือแม้แต่ศาสนาก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ไม่สามารถก้าวข้ามและยอมรับความหลากหลายที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ทุกคนได้ ดังนั้น ความรักของเพศที่หลากหลายที่ถูกมองว่าผิดแปลกไปจากความรักของคู่ชายหญิง การอยู่ในสังคมและประเทศที่กล่าวมาเบื้องต้นก็อาจจะทำได้แค่เก็บมันเอาไว้ให้เป็นความลับ เพื่อรอวันที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงและเข้าใจในความหลากหลายเพื่อความรักที่ไม่ใช่ความรักจะได้เบ่งบานอย่างที่มนุษย์คนหนึ่งพึงได้รับมัน

เมื่อไม่นานมานี้ประเทศไทยเราได้รับข่าวดีเรื่องของกฎหมายสมรสเท่าเทียมที่ผ่านร่างกฎหมายครั้งที่ 1 จากสภาและกำลังร่วมลุ้นกันต่อให้ผ่านในด่านที่ 2 กันในเร็วๆ นี้ กว่า 22 ปีที่ไทยที่เราต่อสู้เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันของคนทุกเพศ ลดปัญหาความเหลื่อมล้ำผลักดันความเสมอภาคในสังคม หากครั้งนี้เราสามารถรับรองกฎหมายสมรสเท่าเทียมได้ไทยจะเป็นประเทศแรกในอาเซียน เป็นประเทศที่ 2 ในเอเชียและประเทศที่ 37 ของโลกที่จะมีกฎหมายสมรสเท่าเทียม ได้แต่หวังว่าครั้งนี้ความรักจะชนะอุปสรรคทางเพศสภาพได้จริงๆ อย่างที่เคยได้ยินกันมาเสียที และความรักก็คงไม่ต้องเป็นความลับอีกต่อไป

มอบแด่ทุกความรักที่กำลังจะเบ่งบาน มอบแด่ทุกความต้องการที่อยากเปลี่ยนแปลง ขอให้ทั่วทุกมุมโลกมี Pride is every month ไม่ใช่แค่เดือนของ Pride มั้ง? อีกต่อไปค่ะ

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2567
ผู้แต่ง

กาญจนา มะลิงาม

หน่วยงานสนับสนุน

หัวข้อ
Related Content

แนวหน้าต่อต้านคอร์รัปชัน : อัปเดตประชุมวิชาการโลกเรื่องคอร์รัปชัน

เมื่อช่วงต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา ผศ. ดร.ต่อภัสสร์ ยมนาค Co-Founder บริษัท HAND Social Enterprise ได้รับเชิญไปบรรยายในงานประชุมทางวิชาการ Cambridge Economic Crime ที่จัดขึ้นเป็นปีที่ 40 แล้ว ซึ่งงานนี้ถือได้ว่าเป็นงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติที่เกี่ยวข้องกับเรื่องคอร์รัปชันที่ใหญ่ที่สุดงานหนึ่ง โดยผศ. ดร.ต่อภัสสร์ ยมนาค ได้เข้าร่วมบรรยายเกี่ยวกับผลงานวิจัยเรื่องประสิทธิภาพที่แท้จริงของความโปร่งใสในการต่อต้านคอร์รัปชัน ผ่านการศึกษาผลกระทบจากโครงการความโปร่งใสในการก่อสร้างภาครัฐ (Infrastructure Transparency: CoST)

แนวหน้าต่อต้านคอร์รัปชัน : อยากแก้ปัญหาปากท้องก่อน แต่ถ้าไม่ปฏิรูปตำรวจ ก็แก้ยาก !

ซับซ้อน ซ่อนเงื่อน มืดเทา อาจเป็นคำนิยามวงการตำรวจไทยในปัจจุบัน ? หากเราพูดถึงวงการตำรวจ หลาย ๆ คนคงจะนึกถึงเรื่องที่ตำรวจดันไปเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมกับการทุจริต ไม่ว่าจะเป็นกรณีหมูเถื่อน กำนันนก ทุนจีนสีเทา หรือข่าวอาชญากรรมต่าง ๆ แทนที่จะมองว่า ตำรวจคือผู้ที่รักษาความสงบให้บ้านเมือง และคุ้มครองประชาชนให้รู้สึกปลอดภัย

แนวหน้าต่อต้านคอร์รัปชัน : สติ๊กเกอร์ส่วย…แก้ได้ ?

จะแก้ปัญหาอย่างไรให้ชีวิตปลอดภัยจากผลกระทบของสินบน ? ประเด็นร้อนทุจริตเร็ว ๆ นี้คงหนีไม่พ้นเรื่อง “ส่วยสติกเกอร์” หลังว่าที่ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกลวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ออกมาแฉตั้งแต่กลไกไปจนถึงราคาอย่างที่หลายคนคงได้ยินมาบ้างแล้ว แต่ที่สำคัญกว่านั้น รู้หรือไม่ว่าเรื่องของส่วยรถบรรทุกที่ดูเหมือนเป็นเรื่องไกลตัว จริง ๆ แล้วใกล้ตัวกว่าที่เราคิด

You might also like...

บทความวิจัย : ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสริมสร้างความร่วมมือและการควบคุมคอร์รัปชันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี

เมื่อการกระจายอำนาจกลับกลายเป็นการกระจายการทุจริตสู่ท้องถิ่น เพื่อยับยั้งปัญหาคอร์รัปชันในท้องถิ่น จึงต้องส่งเสริมการปกครองตามหลักธรรมาภิบาล (กรณีศึกษา จังหวัดเพชรบุรี)

KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I UNODC จับมือไนจีเรียจัดทำรายงานการทุจริตในไนจีเรีย ชี้ “การติดสินบนได้รับการยอมรับน้อยลง”

รายงานฉบับนี้มีชื่อว่า “การทุจริตในไนจีเรีย: รูปแบบและทิศทาง (Corruption in Nigeria: Patterns and Trends)” เป็นการสำรวจเกี่ยวกับการรับรู้การทุจริตของประชาชนในประเทศไนจีเรียจากประสบการณ์ของประชาชน นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์แนวโน้มการทุจริต ประสิทธิภาพของกลยุทธ์ และแนวทางการต่อต้านการทุจริตอีกด้วย

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : โกง (เรื่อง) กิน ฉ่ำๆ หม่ำๆ แบดกาย แบดกายหม่ำๆ

เมื่อวันแม่ที่ผ่านมาหลายๆ ท่านคงพาคุณแม่ไปทานข้าว หรืออาจกลับบ้านไปทานข้าวกับคุณแม่และครอบครัว เพราะสำหรับคนไทยแล้ว “อาหารเป็นเรื่องสำคัญ” ดังนั้นในวันสำคัญการนัดรวมตัวกันกินข้าวจึงเป็นเรื่องจำเป็น