คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : แก้ปัญหาปากท้อง หรือ สร้างหนทางทำกินอย่างเป็นธรรม อะไรสำคัญกว่ากัน

ประเด็นถกเถียงในสังคมออนไลน์ภายหลังคะแนนการเลือกตั้งระหว่างพรรคก้าวไกลกับพรรคเพื่อไทยที่ไม่ได้ทิ้งห่างกันมาก แต่ด้วยการโหวตของสมาชิกวุฒิสภาที่แต่งตั้งโดยคณะคสช.มีมติเอกฉันท์ให้พรรคก้าวไกลและนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ไม่ได้เป็นผู้นำจัดตั้งรัฐบาล ทำให้พรรคเพื่อไทยที่ได้คะแนนรองลงมา นำโดยนายเศรษฐา ทวีสิน จัดตั้งรัฐบาลและกลายเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศไทย

สิ่งที่น่าจับตามองคือประเด็นถกเถียงในสังคมนกฟ้า (Twitter) เกี่ยวกับปัญหาปากท้องต้องได้รับการแก้ไขก่อน และไม่ควรให้เกิดรัฐบาลสุญญากาศเพราะพี่น้องประชาชนกำลังเผชิญวิกฤตเศรษฐกิจที่กำลังเกิดขึ้น แต่อีกวิกฤตการณ์ที่ไม่ถูกพูดถึงในสังคมปัญญาชนคือ ชาวบ้านส่วนใหญ่กำลังถูกละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานในการแสดงความเห็นหรือมีส่วนร่วมถึงผลกระทบจากอุตสาหกรรม ผลประโยชน์ของผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ แม้ว่าจะส่งเสียงมากแค่ไหน แต่รัฐธรรมนูญปี 60ได้เขียนคำว่า “สิทธิ” ประชาชนกลายเป็น “หน้าที่รัฐ”

แปลว่าอะไร? แปลว่าถ้าอำนาจการพิจารณาขึ้นอยู่กับเจ้าหน้าที่รัฐคนใดคนหนึ่ง หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง ที่ไม่มีความเข้าใจปัญหามากพอ ไม่ทราบถึงผลกระทบในมิติต่างๆ และยังมีใต้โต๊ะหรือวาระแอบแฝงต่างๆ ซึ่งล้วนมาจากผลประโยชน์พวกพ้อง สมการนี้เลยไม่มีประชาชนเข้ามาเกี่ยวข้อง

สถานการณ์ปัจจุบัน ชาวบ้านกำลังเผชิญกับปัญหาพื้นที่ทำกินหายไป เพียง “เงิน”ก็ไม่สามารถเยียวยาได้ หากหนทางทำกินกำลังเป็นหมัน ตัวอย่างหนึ่งจากการสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าบริเวณแม่น้ำโขง ความร่วมมือจากทุนข้ามประเทศที่ไม่ได้มองมิติสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิต จึงทำให้ปลาและระบบนิเวศบริเวณนั้นกำลังตายจากไป พื้นที่ทางการเกษตรริมน้ำที่นอกจากจะปลูกยากในหน้าแล้งแล้ว ยังมีการจับจองพื้นที่จากกลุ่มทุนใหญ่และผู้มีอำนาจทำให้ชาวบ้านไม่สามารถหากินได้อย่างเป็นธรรม ทั้งที่จริงแล้วแม่น้ำเป็นของทุกชีวิต แม้มีภาคประชาสังคมและชาวบ้านบริเวณนั้นเข้าไปทักท้วงแล้ว แต่ก็มีการไล่ฟ้องปิดปากหรือการสนับสนุนเงินก้อนโตให้ชาวบ้านเพื่อหยุดการเรียกร้องเหล่านี้

ลองมาดูที่การต่อสู้อันยาวนานของชาวจะนะ จ.สงขลา กว่า 40 ปีที่พยายามกู้สถานการณ์และพื้นที่ทำกินจากนิคมอุตสาหกรรมที่กินพื้นที่ตำบลนาทับ ตำบลตลิ่งชัน และตำบลสะกอม เป็นจำนวน 20,000 ไร่ ซึ่งในทุกๆ สมัยมีการเสนอร่างเข้ารัฐสภาเพื่อต้องการเปลี่ยนพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่เศรษฐกิจขนาดใหญ่ แต่ถึงอย่างนั้น ประชาชนร่วมกับภาคประชาสังคมพยายามกดดันในทุกช่องทาง รวมตัวกันเสนอร่างเพื่อแก้ไขความเสียหายนี้ เพราะถ้านิคมเกิดขึ้นจริง นอกจากทรัพยากรและระบบนิเวศเสื่อมโทรมแล้วชาวบ้านจะสูญเสียพื้นที่ประมงและถูกละเมิดจากการจ้างงานที่ไม่เป็นธรรม รวมถึงปัญหาสุขภาพจากสารเคมี-มลพิษที่กำลังตามมาในอนาคต

ทั้ง 2 กรณียังคงอยู่บนเรื่องปากท้องอยู่ไหม? ทั้งที่จริงๆ แล้วประชาชนควรได้เข้ามามีส่วนร่วมในนโยบายหรือการเสนอแก้ปัญหาที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม และมันคงจะถูกแก้ไขโดยด่วนเมื่อรัฐธรรมนูญ 60 ดันไม่ไปลดคำว่า “สิทธิ” ต่างๆ ของประชาชนให้กลายเป็น “หน้าที่ของรัฐ” ซึ่งตีความครอบคลุมดุลยพินิจและอำนาจการตัดสินใจแก้ปัญหาโดยเจ้าหน้าที่เอง

จริงๆ แล้ว ชาวบ้านก็แค่ต้องการพื้นที่ทำกินและหนทางหาเงินอย่างเป็นธรรม การมีนโยบายเพื่อสนับสนุนกลไกเศรษฐกิจของประเทศ อาจจะเป็นแค่หนทางหนึ่งที่ทำให้ผลผลิตของชาวบ้านหรือผู้ประกอบการรายย่อยได้ประโยชน์จากนโยบายอยู่บ้าง แต่ในระยะยาวแล้ว ก็ไม่ได้แก้ไขกลไกความยุติธรรม คืนสู่อำนาจแก่ประชาชนอย่างแท้จริง ดังนั้น ปัญหาปากท้องก็ยังคงเกิดขึ้นต่อเนื่อง มีทางแก้ไขแต่กลับไม่ตรงจุดเท่าที่ควร

คณะรัฐบาลนำโดยคุณเศรษฐาและพรรคเพื่อไทย ได้ชูโรงนโยบายแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจไทยเป็นพระเอกในการหาเสียงที่ผ่านมา แต่สำหรับนโยบายแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ได้มีรายละเอียดชัดมากนัก ระบุเพียงว่า “จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนโดยคงรูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข” ซึ่งในเนื้อหาก็ไม่ทราบได้ว่าจะคืนอำนาจให้ประชาชนหรือไม่ หรือยังคงเป็นดุลยพินิจและของรัฐเช่นเดิม

ชาวนกฟ้าบางกลุ่มเห็นว่าปัญหาเศรษฐกิจควรเร่งแก้ไขเพราะเข้าใจว่าชาวบ้านตาดำๆ กำลังเข้าวิกฤต แต่ภายใต้ปมปัญหาขนาดใหญ่ “พื้นที่ทำกินและวิธีการทำกิน” ต่างหากที่ทำให้ชาวบ้านถูกบีบรัดการทำมาหากินแบบสุจริตยากขึ้น แทนที่ชาวบ้านจะสามารถใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีให้เห็นตั้งแต่เกิดและก้าวออกจากวิกฤตทางอาหาร ก็ดันติดกับดักทางนิติธรรมอีก ตาสียายสาก็ยังต้องใช้ชีวิตที่ไม่ได้เป็นของตัวเอง ยังต้องเช่าพื้นที่ทำกิน เผชิญกับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ไม่ได้ก่อขึ้น ทั้งปัญหาความมั่นคงทางอาหารและคุณภาพชีวิตที่แต่ก่อนไม่ต้องวิตกกังวลเท่าวันนี้ กลายเป็นต้องหันกลับไปพึ่งพาระบบทุนในตลาดแรงงานเช่นเดิม

เรื่องปัญหาปากท้องเป็นเรื่องสำคัญจริง แต่ “เงิน”ก็ไม่สามารถเยียวยาได้เท่ากับ “ความเป็นธรรม”หากกฎหมายยังลดทอนสิทธิอันพึงมีของประชาชน การแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นฉบับประชาชนเพื่อคืนสิทธิและอำนาจการตรวจสอบ-ตัดสินใจ จึงเป็นเรื่องที่ควรเกิดขึ้นก่อนด้วยซ้ำไป หรืออย่างน้อยควบคู่ไปด้วยกันก็ยังดี

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2566
ผู้แต่ง

วรรณภณ หอมจันทร์

หน่วยงานสนับสนุน

หัวข้อ
Related Content

แนวหน้าต่อต้านคอร์รัปชัน : เวทีต้านโกงระดับโลก เขาพูดคุยอะไรกัน

4 ประเด็นน่าสนใจจาก “Summit for Democracy 2023” การประชุมระดับโลกเมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา ผศ. ดร.ต่อภัสสร์ ยมนาค ผู้ร่วมก่อตั้งและที่ปรึกษา HAND Social Enterprise HANDSocialEnterprise ได้รับเชิญจากรัฐบาลเกาหลีใต้ให้ไปร่วมเสวนาในงาน Summit for Democracy 2023 หัวข้อหลักงานปีนี้คือ “การต่อต้านคอร์รัปชัน” เชื่อมโยงคำอธิบายว่า การคอร์รัปชันบ่อนทำลายประชาธิปไตย ในทางกลับกันประเทศที่ประชาธิปไตยไม่เข้มแข็งจะทำให้คอร์รัปชันสูงขึ้น

แนวหน้าต่อต้านคอร์รัปชัน : เปิดตัว KRAC ศูนย์ความรู้ต้านโกง

คอร์รัปชันเป็นปัญหาที่มีความซับซ้อนอย่างมาก ถ้าไม่แก้ไขทุกมิติอย่างครอบคลุมผลที่ตามมาอาจกลายเป็นเพิ่มปัญหาให้สังคมได้ จึงต้องใช้วิธีที่มีประสิทธิภาพ หนึ่งในนั้นคือการใช้ความรู้ทางวิชาการ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติจึงได้ร่วมมือกับคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ จัดตั้ง “ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค” (Knowledge hub for Regional Anti-corruption and good governance Collaboration: KRAC) ขึ้น เมื่อ 24 เมษายนที่ผ่านมา

แนวหน้าต่อต้านคอร์รัปชัน : สื่อสารต้านโกงอย่างไร ถึงได้ผล

ในหลายๆ ครั้งที่ผมได้มีโอกาสไปบรรยายเรื่องการต่อต้านคอร์รัปชันให้กับผู้ฟังซึ่งเป็นทั้งเจ้าหน้าที่รัฐ นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ข้อแนะนำหนึ่งที่มักจะได้มาคือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรสื่อสาร นำเสนอเรื่องราวของผลกระทบจากการคอร์รัปชันที่รุนแรง เพื่อให้สังคมหวาดกลัวการคอร์รัปชันและรังเกียจคนคอร์รัปชัน เป็นการใช้พลังสังคมเพื่อกดดันให้ “คนโกงไม่มีที่ยืนในสังคม”

You might also like...

บทความวิจัย : ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสริมสร้างความร่วมมือและการควบคุมคอร์รัปชันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี

เมื่อการกระจายอำนาจกลับกลายเป็นการกระจายการทุจริตสู่ท้องถิ่น เพื่อยับยั้งปัญหาคอร์รัปชันในท้องถิ่น จึงต้องส่งเสริมการปกครองตามหลักธรรมาภิบาล (กรณีศึกษา จังหวัดเพชรบุรี)

KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I UNODC จับมือไนจีเรียจัดทำรายงานการทุจริตในไนจีเรีย ชี้ “การติดสินบนได้รับการยอมรับน้อยลง”

รายงานฉบับนี้มีชื่อว่า “การทุจริตในไนจีเรีย: รูปแบบและทิศทาง (Corruption in Nigeria: Patterns and Trends)” เป็นการสำรวจเกี่ยวกับการรับรู้การทุจริตของประชาชนในประเทศไนจีเรียจากประสบการณ์ของประชาชน นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์แนวโน้มการทุจริต ประสิทธิภาพของกลยุทธ์ และแนวทางการต่อต้านการทุจริตอีกด้วย

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : โกง (เรื่อง) กิน ฉ่ำๆ หม่ำๆ แบดกาย แบดกายหม่ำๆ

เมื่อวันแม่ที่ผ่านมาหลายๆ ท่านคงพาคุณแม่ไปทานข้าว หรืออาจกลับบ้านไปทานข้าวกับคุณแม่และครอบครัว เพราะสำหรับคนไทยแล้ว “อาหารเป็นเรื่องสำคัญ” ดังนั้นในวันสำคัญการนัดรวมตัวกันกินข้าวจึงเป็นเรื่องจำเป็น