จัดการคอร์รัปชันแบบรอบด้าน “ธรรมาภิบาล” คือคำตอบ

แนวคิดเรื่องธรรมาภิบาล เป็นหนึ่งในกระบวนทัศน์ที่ถูกพูดถึงและให้ความสำคัญเป็นอย่างมากในปัจจุบัน โดยในหลายประเทศได้มีการสร้างมาตรฐานและข้อกำหนดบนพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาลที่สำคัญ 6 ประการ ได้แก่ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า ซึ่งการริเริ่มและส่งเสริมหลักธรรมมาภิบาลในข้อใดข้อหนึ่งก่อน จะนำไปสู่การส่งเสริมหลักธรรมาภิบาลในข้ออื่น ๆ ตามมา จะทำให้เกิดความพร้อมในการนำหลักการไปปฎิบัติใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น

แนวคิดเรื่องธรรมาภิบาล เป็นกระบวนทัศน์ที่เริ่มได้รับความสนใจในช่วงทศวรรษที่ 1990 โดยเกิดขึ้นจากแผนงานด้านการพัฒนาขององค์กรระหว่างประเทศที่สำคัญอย่างธนาคารโลก (World Bank) ที่เริ่มต้นผลักดันประเด็นเรื่องธรรมาภิบาลกับการพัฒนา ผ่านการให้ทุนสนับสนุนในรายงานการพัฒนาในระยะยาวของกลุ่มประเทศแอฟริกาใต้สะฮารา (Sub-Saharan Africa) ในปี ค.ศ. 1989 ซึ่งกล่าวถึงปัญหาที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศว่าคือ “วิกฤตการณ์ด้านการกำกับดูแล” (A Crisis of Governance) ที่ทำให้เงินทุนสนับสนุนเพื่อการพัฒนาไม่ถูกนำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพโดยแท้จริง และทำให้มุมมองทฤษฎีของการพัฒนาเกิดการเปลี่ยนผ่านจากการให้ความสำคัญในเรื่องของการเติบโตทางเศรษฐกิจ ไปยังการมุ่งเน้นในเรื่องของการมีส่วนร่วม และการเพิ่มขีดความสามารถของประชาชนเป็นสำคัญ

ซึ่งเป็นที่มาของการกำหนดให้เรื่องของ “ธรรมาภิบาล” เป็นประเด็นในระดับโลกที่ถูกพูดถึงและให้ความสำคัญอย่างยิ่งจนถึงปัจจุบัน โดยมีการสร้างมาตรฐานและข้อกำหนดบนพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาลที่สำคัญ ตลอดจนถึงการขยายเงื่อนไขให้ครอบคลุมในส่วนของการพัฒนาระบบบริหารงานที่มีความโปร่งใส การคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยธรรม และการจัดสรรทรัพยากรที่เป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะ

สำหรับประเทศไทย หลักธรรมาภิบาลได้ถูกพูดถึงและให้ความสำคัญเพิ่มมากขึ้นจากภาคส่วนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ภายหลังจากเหตุการณ์วิกฤตเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2540 และในทางกฎหมายได้มีการบัญญัติเรื่องของหลักธรรมาภิบาลไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 จนถึงปัจจุบัน โดยประกอบด้วย 6 หลักการสำคัญ ได้แก่ (1) หลักนิติธรรม (Rule of Law) หมายถึง การตรากฎหมายหรือกฎระเบียบที่บังคับใช้บนมาตรฐานเดียวกัน โดยคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนและความยุติธรรมของประชาชนเป็นหลัก (2) หลักคุณธรรม (Ethics) หมายถึง การยึดมั่นต่อหลักความถูกต้อง ซื่อสัตย์ ขยัน อดทน มีระเบียบวินัย และสุจริต (3) หลักความโปร่งใส (Transparency) หมายถึง การสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกัน โดยสนับสนุนการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่สำคัญ และจำเป็นต่อสาธารณชน (4) หลักการมีส่วนร่วม (Participation) หมายถึง การเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการสาธารณะด้วยวิธีการต่าง ๆ (5) หลักความรับผิดชอบ (Accountability) หมายถึง การรู้จักรับผิดชอบและมีความตระหนักต่อปัญหาสาธารณะ รวมถึงยอมรับและเคารพความแตกต่างในทางความคิด และ (6) หลักความคุ้มค่า (Utility) หมายถึง การจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดและยั่งยืน

อย่างไรก็ตาม จะเห็นได้ว่าในหลักธรรมาภิบาลทั้ง 6 ประการในข้างต้นนั้น จะมีความเชื่อมโยงกันในส่วนของคำนิยามและการอธิบายในแต่ละประเด็น โดยหากมีการเริ่มต้นส่งเสริมหลักธรรมาภิบาลเพียงข้อใดข้อหนึ่ง ก็จะนำไปสู่การพัฒนาหลักธรรมาภิบาลในข้ออื่น ๆ ได้ด้วยเช่นกัน เช่น แนวทางที่ส่งเสริมหลักความโปร่งใสผ่านการจัดทำข้อมูลเปิด นอกจากเป็นแนวทางที่สร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติงาน การจัดทำข้อมูลเปิดยังสามารถส่งเสริมให้เกิดหลักการมีส่วนร่วมของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามาตรวจสอบการปฏิบัติงาน อันจะนำไปสู่การส่งเสริมความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ด้วยเช่นกัน ดังนั้น การริเริ่มส่งเสริมหลักธรรมมาภิบาลเพียงบางประการ จะนำไปสู่การส่งเสริมหลักธรรมาภิบาลที่สมบูรณ์มากขึ้น และจะทำให้การทำงานต่อต้านคอร์รัปชันสามารถเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความครอบคลุม โดยอาศัยแนวคิดเรื่องของธรรมาภิบาลเป็นสำคัญ

เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

ต่อภัสสร์ ยมนาค และสุภัจจา อังค์สุวรรณ. (2566). (ต่อต้าน) คอร์รัปชัน 101 ((Anti) Corruption 101). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
มีนาคม 2567
ผู้แต่ง
  • ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค

หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
หัวข้อ
Related Content

เริ่มสร้างธรรมาภิบาลองค์กร เพื่อต่อกรปัญหาคอร์รัปชัน

การพัฒนาธรรมาภิบาล (Good Governance) ภายในองค์กร เป็นหนึ่งในวิธีการสำคัญในการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันในระดับองค์กร โดยอาศัยการออกแบบกระบวนการจัดการภายในองค์กรที่มีการวางแนวทางการทำงานให้มีเป้าหมายบนหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี …

ลงมือต่อต้านคอร์รัปชัน ผ่านกระบวนการ 4 ธรรม

กระบวนการปลูกฝังจริยธรรม ศีลธรรม คุณธรรม และวัฒนธรรม ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะนำไปสู่การปลูกฝังจิตสำนึกของผู้คนในสังคมให้เกิดการตระหนักรู้ที่จะไม่เข้าไปมีส่วนร่วมกับการคอร์รัปชันที่เกิดขึ้นในสังคม …

จัดการคอร์รัปชันแบบรอบด้าน “ธรรมาภิบาล” คือคำตอบ

แนวคิดเรื่องธรรมาภิบาล เป็นหนึ่งในกระบวนทัศน์ที่ถูกพูดถึงและให้ความสำคัญเป็นอย่างมากในปัจจุบัน โดยในหลายประเทศได้มีการสร้างมาตรฐานและข้อกำหนดบนพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาลที่สำคัญ 6 ประการ …

You might also like...

บทความวิจัย : ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสริมสร้างความร่วมมือและการควบคุมคอร์รัปชันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี

เมื่อการกระจายอำนาจกลับกลายเป็นการกระจายการทุจริตสู่ท้องถิ่น เพื่อยับยั้งปัญหาคอร์รัปชันในท้องถิ่น จึงต้องส่งเสริมการปกครองตามหลักธรรมาภิบาล (กรณีศึกษา จังหวัดเพชรบุรี)

KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I UNODC จับมือไนจีเรียจัดทำรายงานการทุจริตในไนจีเรีย ชี้ “การติดสินบนได้รับการยอมรับน้อยลง”

รายงานฉบับนี้มีชื่อว่า “การทุจริตในไนจีเรีย: รูปแบบและทิศทาง (Corruption in Nigeria: Patterns and Trends)” เป็นการสำรวจเกี่ยวกับการรับรู้การทุจริตของประชาชนในประเทศไนจีเรียจากประสบการณ์ของประชาชน นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์แนวโน้มการทุจริต ประสิทธิภาพของกลยุทธ์ และแนวทางการต่อต้านการทุจริตอีกด้วย

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : โกง (เรื่อง) กิน ฉ่ำๆ หม่ำๆ แบดกาย แบดกายหม่ำๆ

เมื่อวันแม่ที่ผ่านมาหลายๆ ท่านคงพาคุณแม่ไปทานข้าว หรืออาจกลับบ้านไปทานข้าวกับคุณแม่และครอบครัว เพราะสำหรับคนไทยแล้ว “อาหารเป็นเรื่องสำคัญ” ดังนั้นในวันสำคัญการนัดรวมตัวกันกินข้าวจึงเป็นเรื่องจำเป็น