ธรรมาภิบาลในการสรรหาแต่งตั้งกรรมการและผู้บริหารระดับสูง และการกำกับธรรมาภิบาลของสถาบันอุดมศึกษา: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล

วิเคราะห์และถอดบทเรียนโครงสร้างธรรมภิบาลของมหาวิทยาลัยราชภัฏ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะให้เกิดธรรมาภิบาลในการแต่งตั้งกรรมการและผู้บริหารระดับสูง

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและนำเสนอข้อเสนอแนะให้เกิดธรรมาภิบาลในการสรรหาแต่งตั้งกรรมการ และผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยราชภัฏ จำนวน 4 แห่ง และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จำนวน 2 แห่ง

โดยศึกษากฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำการเปรียบเทียบกระบวนการสรรหาแต่งตั้งกรรมการและผู้บริหารระดับสูง และการกำกับธรรมาภิบาล กับ แนวคิดธรรมาภิบาลในระดับสากล และเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งสถิติและข่าว เพื่อทำการวิเคราะห์ และทำการสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยราชภัฏ จำนวน 4 แห่ง และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จำนวน 2 แห่งมาเป็นกรณีศึกษา 

สรุปประเด็นจากงานวิจัย

  • ผลจากการศึกษากระบวนการสรรหาแต่งตั้งกรรมการ และผู้บริหารระดับสูงในระดับสากลในประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และญี่ปุ่น พบว่าทุกมหาวิทยาลัย มีหน่วยงานที่ดูแลและกำกับความน่าเชื่อถือ รวมทั้งมีการกำหนดแนวปฏิบัติด้านธรรมาภิบาล และแนวปฏิบัติของมหาวิทยาลัยในการดำเนินการที่ชัดเจน และสามารถตรวจสอบได้ ตั้งเเต่การแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาผู้สมควรดำรงตำแหน่งอธิการบดี ประกอบด้วยผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยในด้านต่าง ๆ การกำหนดคุณสมบัติของผู้สมควรดำรงตำแหน่งจากความเห็น และการมีส่วนร่วมของประชาคมและศิษย์เก่า ซึ่งนับว่าเป็นจุดเด่นในกระบวนการสรรหาในระดับสากล
  • ผลจากการศึกษากระบวนการสรรหาแต่งตั้ง กรรมการและผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยราชภัฏ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พบว่ามีการดำเนินการตามหลักการของพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้กำหนดโครงสร้างและตำแหน่งของกรรมการและผู้บริหารระดับสูงไว้ แต่ในกระบวนการสรรหาแต่งตั้งนั้น มีการเปิดโอกาสให้เป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย ซึ่งมหาวิทยาลัยแต่ละแห่งสามารถกำหนดขึ้นเองได้ ด้วยเหตุนี้ แต่ละมหาวิทยาลัย จึงมีการออกเกณฑ์ข้อบังคับที่เเตกต่างกัน ทั้งองค์ประกอบและจำนวนในการสรรหานายกสภามหาวิทยาลัย อธิการบดี และตำแหน่งอื่น ๆ  
  • ผลจากการศึกษาประเด็นสำคัญขององค์ประกอบในการสรรหาผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยราชภัฏ และมหาวิทยาลัยราชมงคลในภาพรวม พบว่าส่วนใหญ่มาจากการกำหนดสัดส่วนคณะกรรมการสรรหาจากผู้บริหาร หรือตำแหน่งที่ผู้บริหารเป็นคนเเต่งตั้งมากกว่า ซึ่งเท่ากับว่าเป็นการเปิดโอกาสให้เกิดประเด็นกังขาได้ว่าผู้ที่ถูกสรรหา มีสายสัมพันธ์ หรือความสัมพันธ์ กับ ผู้บริหาร ขณะที่เมื่อพิจารณาจากคณะกรรมการสภาฯ ที่มาจากภายในมหาวิทยาลัยเองนั้น พบว่าในส่วนนี้สัดส่วนของตัวแทนของคณาจารย์ หรือสภาคณาจารย์ ซึ่งเป็นตัวแทนของเสียงส่วนใหญ่ในบางมหาวิทยาลัย กลับมีสัดส่วนต่ำกว่ากลุ่มคณะกรรมการสภาฯ ที่มาจากผู้บริหารมหาวิทยาลัย
  • ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส (ITA) กับ ปัจจัยต่าง ๆ พบว่ามหาวิทยาลัยที่ได้งบประมาณน้อยกว่า หรือมีขนาดเล็ก มีแนวโน้มจะมีผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส (ITA) ที่สูงกว่า ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะมหาวิทยาลัยที่มีขนาดเล็กกว่า สามารถสร้างระบบที่เกิดการมีส่วนร่วม หรือความโปร่งใสได้ง่ายกว่า นอกจากนี้ การศึกษาผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส (ITA) พบความสัมพันธ์ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการสรรหากรรมการสภามหาวิทยาลัย เช่น หากมหาวิทยาลัยมีสัดส่วนของกรรมการสรรหานายกสภามหาวิทยาลัย และอธิการบดีภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัยลดลง จะทำให้ค่าคะแนนการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส (ITA) สูงขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับหลักการธรรมาภิบาลสากลในด้านความโปร่งใส อีกทั้ง ยังพบว่าหากมหาวิทยาลัย มีจำนวนกรรมการสรรหาฯ ภายนอกมหาวิทยาลัยมากขึ้น ก็จะมีค่าคะแนนการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส (ITA) ที่สูงขึ้นเช่นกัน
  • ข้อเสนอแนะในการสร้างธรรมาภิบาลในการสรรหาแต่งตั้งกรรมการ และผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยราชภัฏ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จึงควรมุ่งเน้นการปฏิบัติตามแนวทางของธรรมาภิบาลอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะหลักความมีส่วนร่วม ความโปร่งใส เเละความรับผิดชอบ รวมทั้งควรลดบทบาทการใช้อำนาจในการแต่งตั้งตำแหน่งต่าง ๆ ของผู้บริหาร เเละเพิ่มบทบาทของคณาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ และบุคคลภายนอกในกระบวนการดังกล่าวให้มากขึ้น
เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

จูน เจริญเสียง, ธานี ชัยวัฒน์, ศิริมา บุนนาค, ศุภฤกษ์ รักชาติ และปกรณ์สิทธิ ฐานา. (2563). ธรรมาภิบาลในการสรรหาแต่งตั้งกรรมการและผู้บริหารระดับสูง และการกำกับธรรมาภิบาลของสถาบันอุดมศึกษา: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.).

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2563
ผู้แต่ง
  • จูน เจริญเสียง
  • ธานี ชัยวัฒน์
  • ศิริมา บุนนาค
  • ศุภฤกษ์ รักชาติ
  • ปกรณ์สิทธิ ฐานา
หน่วยงาน

หัวข้อ
Related Content

โครงการศึกษาพรมแดนและช่องว่างความรู้เรื่องคอร์รัปชันและธรรมาภิบาล เพื่อสนับสนุนการจัดทำแผนบูรณาการด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปี พ.ศ. 2566-2570

ศึกษาพัฒนาการของงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชันและธรรมาภิบาลในประเทศไทย เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะต่อแนวทางการสนับสนุนการพัฒนางานวิจัยในประเด็นคอร์รัปชัน และธรรมาภิบาลในอนาคต

โครงการวิจัยการสังเคราะห์รูปแบบ กลไกและแนวทางการปลูกฝังเจตคติและวัฒนธรรมสุจริตเพื่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

ศึกษาพัฒนาการของรูปแบบ กลไก และแนวทางการปลูกฝังเจตคติ และวัฒนธรรมสุจริตที่มีผลต่อการป้องกันการทุจริตของไทย และศึกษากรณีของต่างประเทศ เพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอแนะต่อไป

โครงการวิจัยการศึกษาแนวทางความร่วมมือกับภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชนในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

นำเสนอแนวคิดและกิจกรรมที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพการดำเนินงานของ ป.ป.ช. ในการแก้ไขปัญหาการทุจริต และเสนอแนวทางการพัฒนาระบบการเชื่อมโยงข้อมูลร่วมกันผ่านกระบวนการประสานข้อมูลระหว่างหน่วยงานเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

โครงการประสิทธิภาพและธรรมาภิบาลของนโยบายสาธารณะไทย การวิจัยเพื่อเสริมสร้างนักนโยบายสาธารณะที่ดี

เพื่อทำการวิเคราะห์ผลทางนโยบายสาธารณะในด้านต่าง ๆ จากมุมมองของประชาชน โดยใช้หลักธรรมาภิบาลด้านประสิทธิภาพ การมีส่วนร่วม และการตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน

You might also like...

KRAC Hot News I ไฟฟ้าไทยแพง เพราะภาคพลังงานยังโปร่งใสไม่พอ

เพราะไฟฟ้าได้กลายเป็นปัจจัยที่ 5 ไปแล้ว แต่ที่น่ากังวล คือไฟฟ้ายังคงเป็นปัจจัยเดียวที่ราคาไม่ได้เป็นไปตามกลไกตลาด ที่สำคัญยังเหมือนจะแพงขึ้นเรื่อย ๆ ด้วย…ทำไมค่าไฟฟ้าของไทยยังแพง และมีบทเรียนจากต่างประเทศอะไรบ้าง

บทความวิจัย : ปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติประจำจังหวัด ในการรวบรวมพยานหลักฐานในความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ในองค์การบริหารส่วนตำบล

ความล่าช้าในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด มีปัญหาหลักมาจากการขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย และการดำเนินการ

บทความวิจัย : รูปแบบการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนตามแนววิถีพุทธในงานต่อต้านการทุจริต และการสร้างเครือข่ายต่อต้านการทุจริตอย่างยั่งยืน

การพัฒนากิจกรรมสำหรับต่อต้านการทุจริตควรมีการประยุกต์หลักพุทธธรรมและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกับการส่งเสริมการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ