บทความวิจัย | กระบวนการทุจริตในวงการพระพุทธศาสนา

การศึกษาสาเหตุและกระบวนการของการเกิดการทุจริตในวงการพระพุทธศาสนา และเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหา

 

การวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาสาเหตุการทุจริตเกิดขึ้นในวงการพระพุทธศาสนา และกระบวนการขั้นตอนดำเนินการทุจริตในวงการพระพุทธศาสนา เนื่องจากปัญหาในเรื่องวิกฤตศรัทธาของพระภิกษุสงฆ์ที่เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง การใช้งบไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง กลายเป็นกรณีพิพาทระหว่างรัฐกับศาสนา กลายเป็นประเด็นถกเถียงและยังหาบทสรุปร่วมกันไม่ได้ จนเป็นปัญหาไปทั่วประเทศต่อการบริหารเงินวัด เงินพระศาสนา รวมไปถึงเงินผลประโยชน์ประเภทต่าง ๆ  

การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกเป็นรายบุคคล โดยมีผู้ให้ข้อมูลดังนี้ 

1) ภาครัฐ ได้แก่ ผู้บริหารสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ผู้บริหารกองธรรมสนามหลวง ผู้บริหารกองบาลีสนามหลวง ผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนธรรมบาลี ในเขตกรุงเทพมหานคร ผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษากลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 10 จำนวน 30 คน

 2) ภาคประชาชนและภาคเอกชน ได้แก่ ผู้สื่อข่าว ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน และประชาชนที่เกี่ยวข้องภายในกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษากลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 10 จำนวน 15 คน  

3) นักวิชาการ คณาจารย์/ผู้บริหารมหาวิทยาลัยสงฆ์ จำนวน 5 คน ใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกเป็นรายบุคคล 

ผลการวิจัย พบว่า การทุจริตเกิดขึ้นในวงการพระพุทธศาสนาเป็นการทุจริตแบบระบบอุปถัมภ์ และความสมประโยชน์ โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดแรงจูงใจในการทุจริต คือ ความต้องการทางเศรษฐกิจ ตำแหน่งหน้าที่เอื้ออำนวย และมีช่องโอกาส และจากการศึกษากระบวนการขั้นตอนดำเนินการทุจริตในวงการพระพุทธศาสนา พบว่า เกิดจากความบกพร่องในทางปฏิบัติของระเบียบที่เกี่ยวข้องของระบบควบคุมงาน ความบกพร่องของการจัดทำบัญชีและทะเบียนต่าง ๆ ความบกพร่องของการตรวจสอบเงิน และวัดโดยส่วนมากยังไม่มีโครงสร้างในการบริหารการเงินของวัดไว้อย่างเป็นระบบ

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ควรกำหนดให้วัดได้มีการจัดทำรายทางการเงินเป็นประจำทุกปี และนำส่งให้สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเป็นผู้รวบรวม โดยกำหนดให้มีการตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเป็นประจำ

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

แสงเฉวก อ., โพธิวรรณ์ ป., & ผลเจริญ ว. (2020). THE PROCESS OF CORRUPTION IN BUDDHIST CIRCLES. Journal of MCU Nakhondhat, 6(10), 5989–6000.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2563
ผู้แต่ง
  • อาทิตย์ แสงเฉวก 
  • ปิยลักษณ์ โพธิวรรณ์ 
  • วินัย ผลเจริญ
วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

ระบบการตรวจสอบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบต่าง ๆ ของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน ลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน

ศึกษาระบบการตรวจสอบการเงิน การคลัง บัญชี ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบต่าง ๆ โดยมีกรณีศึกษา คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดเชียงราย พะเยา แพร่ น่าน ลำปาง ลําพูน เชียงใหม่ และเเม่ฮ่องสอน

บทความวิจัย | แบบบัญชีรายรับรายจ่ายของโครงการ (บช.1): หลักการ ปัญหา การปรับตัว

การศึกษาหลักการ ปัญหา และการปรับตัวของการจัดทำแบบบัญชีรายรับรายจ่ายของโครงการ (บช.1) มีส่วนสำคัญในการตรวจสอบเส้นทางการเงิน ซึ่งช่วยให้สามารถตรวจสอบและดำเนินคดีทุจริตได้

บทความวิจัย | ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดนครสวรรค์

การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่า อุปสรรคในการบริหารงบประมาณ คือ พนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขาดความซื่อสัตย์และจริยธรรมในการปฏิบัติงาน

You might also like...

KRAC Hot News I อุบัติเหตุการก่อสร้างตามแนวถนนพระราม 2: ภาพสะท้อนปัญหาธรรมาภิบาลโครงการก่อสร้างภาครัฐไทย

อุบัติเหตุซ้ำซากบนถนนพระราม 2 ถึงเวลาปฏิรูป! ระบบจัดซื้อจัดจ้างต้องโปร่งใส ประชาชนต้องเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย และต้องมีมาตรการป้องกันและลงโทษที่จริงจังกันเสียที

KRAC Hot News I ผู้หญิงไม่เพียงแต่ถูกเรียกสินบน… แต่ยังถูกขอเรื่องเซ็กส์ด้วย

งานวิจัยจาก Transparency International เผยว่า “เพศ” ส่งผลต่อรูปแบบการเผชิญกับคอร์รัปชัน! เพราะผู้หญิงอาจถูกบังคับให้จ่ายสินบนทางเพศ หรือถูกละเมิดโดยเจ้าหน้าที่ที่ใช้อำนาจในทางมิชอบ

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ปิดช่องโหว่ดุลพินิจ ปิดช่องทางทุจริตในไทย

“ดุลพินิจ” อำนาจรัฐ หรือช่องว่างที่ทำให้เกิดการทุจริต ? KRAC ชวนถอดบทเรียนการแก้ปัญหาโกงจากการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐจากกงานวิจัยเรื่อง การแสวงหาผลประโยชน์ จากการอนุญาตโดยใช้อำนาจรัฐ (2560)