บทความวิจัย | การสร้างความเข้มแข็งภาคประชาสังคมกับปัญหาการทุจริตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดภูเก็ต

การสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายประชาชนในจังหวัดภูเก็ต เพื่อให้สามารถติดตาม ปกป้อง ตรวจสอบการทุจริตได้นั้นต้องอาศัยการทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อให้เกิดความรู้สึกร่วมในการต่อต้านการทุจริต 

 

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของประเทศไทยถูกมองว่าเป็นองค์กรมีการทุจริตคอร์รัปชันสูง การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสาเหตุการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2) เพื่อศึกษาผลกระทบที่เกิดจากสาเหตุการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ 3) การศึกษาแนวทางการสร้างความเข้มแข็งของภาคประชาสังคมเพื่อแก้ไขปัญหาการทุจริตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดภูเก็ต 

 

โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบไม่มีโครงสร้างจากประชาชนดั้งเดิม ผู้นำชุมชน ผู้ประกอบอาชีพอิสระ ข้าราชการ และเจ้าของธุรกิจภาคเอกชน จำนวน 45 คน 

 

ผลการวิจัย พบว่า สาเหตุหลักของการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมาจากช่องว่างของกฎหมายที่ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ทำให้ไม่สามารถลงโทษผู้กระทำผิดได้ และยังเปิดโอกาสให้เกิดการทุจริตได้ ส่วนผลกระทบที่เกิดจากปัญหาการทุจริต พบว่า ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาท้องถิ่นในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ซึ่งมีผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน เช่น การทุจริตส่งผลให้ท้องถิ่นขาดงบประมาณในการพัฒนาและขาดความเจริญ สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหา คือ การสร้างเครือข่ายภาคประชาสังคมที่เข้มแข็ง เพื่อให้ประชาชนสามารถร่วมกันติดตามและตรวจสอบการทุจริตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

ประสงค์ โตนด. (2566). การสร้างความเข้มแข็งภาคประชาสังคมกับปัญหาการทุจริตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดภูเก็ต. วารสารการเมืองการปกครอง, 13(1), 8094

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2566
ผู้แต่ง

ประสงค์ โตนด

วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

โครงการสำรวจการรับรู้และความเข้าใจด้านการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ของเจ้าหน้าที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประเทศไทย

ศึกษาและสํารวจข้อมูลระดับการรับรู้ของเจ้าหนาที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีต่อความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) เพื่อลดพฤติกรรมความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ในอนาคต

โครงการวิจัยและประสานงานเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน

เพื่อออกแบบงานวิจัยสำหรับแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันบนฐานการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ รวมถึงพัฒนาระบบและเครื่องมือใหม่ในการป้องกันและลดคอร์รัปชันในระดับพื้นที่

โครงการวิจัยเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน ระยะที่ 2

จัดทำข้อเสนอการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อต่อต้านการคอร์รัปชัน โดยเน้นแนวทางการวิจัยเพื่อทำความเข้าใจปัญหาคอร์รัปชันจากมุมมองของประชาชน ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (PAR) และกระบวนการ Design Thinking เต็มรูปแบบ

You might also like...

KRAC Insight | การเพิ่มขีดความสามารถภาครัฐ และลดคอร์รัปชัน ในฐานะ “นโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรม”

KRAC ชวนทุกท่านร่วมเจาะลึกนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมที่มุ่งเน้นการทำงานเชิงรุกของภาครัฐ เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ให้แข่งขันได้มากยิ่งขึ้น และเป็นแนวทางในการเพิ่มขีดความสามารถให้กับประเทศเพื่อการแข่งขันในตลาดโลก

KRAC Insight x C4 Centre | ความเสี่ยงต่อการเกิดคอร์รัปชันที่แฝงอยู่ในรูปแบบของการจัดซื้อจัดจ้างที่หลากหลาย

รู้หรือไม่? การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐมีหลายรูปแบบ และในแต่ละรูปแบบก็ซ่อน “ความเสี่ยงคอร์รัปชัน” ไว้ต่างกัน! KRAC ร่วมกับ C4 Centre มาเลเซีย เปิดเผยประเด็นร้อนจากเวทีประชุมระดับภูมิภาค SEA-ACN ว่าความเสี่ยงคอร์รัปชันซ่อนอยู่ใน PPP, PFI, G2G, Strategic Partnership รวมถึงการจัดซื้อในสถานการณ์ฉุกเฉินอีกด้วย

KRAC Extract | คอร์รัปชันหลังเเผ่นดินไหว: โอกาสแห่งการฟื้นตัวหรือประตูสู่การทุจริต

คอร์รัปชันหลังแผ่นดินไหว…เมื่อเงินฟื้นฟูหลั่งไหล แต่ความโปร่งใสกลับหายไป! กรณีศึกษาจากตุรกี ที่เผยให้เห็นว่าภัยพิบัติอาจเปิดช่องให้การทุจริตแทรกซึมได้ทุกขั้นตอนของกระบวนการจัดการหลังภัยพิบัติ บทเรียนนี้ไม่ใช่แค่ของต่างประเทศ แต่คือสัญญาณเตือนที่ไทยก็ต้องระวังเช่นกัน!