บทความวิจัย | บทบาทและปัญหาของคณะกรรมการการเลือกตั้งในการทุจริตเลือกตั้งท้องถิ่นจังหวัดเพชรบุรี

แนวทางในการแก้ไขปัญหาการทุจริตเลือกตั้งท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี คือการดำเนินการแก้ไขกฎหมายเพื่อให้อำนาจและบทบาทแก่คณะกรรมการเลือกตั้งประจำจังหวัดมากขึ้น และกกต. ควรสร้างการตระหนักรู้ต่อผลเสียของการทุจริตเลือกตั้งกับประชาชนอย่างจริงจัง 

 

จากปัญหาการทุจริตเลือกตั้งของนักการเมืองท้องถิ่น และปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของกกต.ประจำจังหวัดเพชรบุรี บทความนี้ต้องการศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงาน รวมทั้งเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาเพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริตเลือกตั้ง 

 

โดยใช้วิธีการศึกษาด้วยวิธีการทบทวนวรรณกรรมและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตเลือกตั้ง และปัญหาในการควบคุมการทุจริตเลือกตั้งคณะกรรมการเลือกตั้งประจำจังหวัด รวมถึงกระบวนการ ระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

 

ผลการวิจัย พบว่า การทุจริตเลือกตั้งท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี สามารถจำแนกได้ 2 รูปแบบ คือ การทุจริตเลือกตั้งทางตรงและการทุจริตเลือกตั้งทางอ้อม โดยมีวิธีการและเครือข่ายในการทุจริตเลือกตั้งหลายรูปแบบ อาทิ เครือข่ายความเป็นญาติพี่น้อง ความเป็นเพื่อนนักการเมืองท้องถิ่นด้วยกันที่ช่วยเหลือกัน เครือข่ายความสัมพันธ์กับนักการเมืองระดับชาติในจังหวัดและนอกจังหวัด เป็นต้น 

 

ดังนั้น แนวทางในการป้องกันและการแก้ไขปัญหาการทุจริตเลือกตั้งท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี คือ การแก้ไข ปรับปรุง กฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยให้อำนาจและบทบาทแก่คณะกรรมการเลือกตั้งประจำจังหวัดเพิ่มมากขึ้น และ กกต. ควรสร้างความรู้ความเข้าใจและปลูกจิตสำนึกแก่ประชาชนในเรื่องผลเสียของการทุจริตเลือกตั้งอย่างจริงจังให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง 

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

ัชชานุช พิชิตธนารัตน์. (2562). บทบาทและปัญหาของคณะกรรมการการเลือกตั้งในการทุจริตเลือกตั้งท้องถิ่นจังหวัดเพชรบุรี. วารสารเศรษฐศาสตร์การเมืองบูรพา, 5(1), 68-89.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2562
ผู้แต่ง
  • ัชชานุช พิชิตธนารัตน์
วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

โครงการเฝ้าระวังและป้องกันการทุจริตจากนโยบายและโครงการของรัฐ

งานวิจัยนี้ จะพาไปทำความเข้าใจรูปแบบ คุณลักษณะ และวิธีการดำเนินนโยบาย มาตรการ หรือโครงการของรัฐเพื่อหาวิธีการเฝ้าระวังและป้องกันการทุจริตที่เกิดขึ้น

โครงการศึกษาเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยใช้อำนาจรัฐ

ศึกษาการตรวจสอบดุลพินิจของฝ่ายปกครองในการออกใบอนุญาต และศึกษากฎหมายต่างประเทศเพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ

โครงการศึกษามาตรการแทรกแซงตลาดข้าวเพื่อป้องกันการทุจริต: การแสวงหาค่าตอบแทนส่วนเกินและเศรษฐศาสตร์การเมืองของโครงการรับจำนำข้าวเปลือก

เพื่อประมาณการต้นทุน รายรับ การขาดทุน ต้นทุนสวัสดิการสังคมของโครงการรับจํานําข้าวเปลือก และประมาณการผลตอบแทนส่วนเกินที่ตกแก่กลุ่มบุคคลต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์การแสวงหาค่าเช่า และศึกษาการทุจริตของผู้ที่เกี่ยวข้อง

You might also like...

KRAC Insight | สู่สังคมโปร่งใส ตรวจสอบได้ เกาหลีใต้ทำอย่างไรให้การคอร์รัปชันลดลง

KRAC ชวนดูบทเรียนว่าเกาหลีใต้ทำอย่างไรให้โปร่งใส ตรวจสอบได้ กับ คุณเสกสรร อานันทศิริเกียรติ สมาคมไทยคดีศึกษาแห่งสาธารณรัฐเกาหลี (KATS) ที่มาอธิบายสถานการณ์ทางการเมืองของเกาหลีใต้ในช่วง 2- 3 เดือนที่ผ่านมา รวมถึงพาไปย้อนชมประวัติศาสตร์วัฒนธรรมเกาหลีใต้ที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนผ่านในครั้งนี้

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | เปลี่ยนนโยบายคลัง ป้องกันคอร์รัปชันด้วยแนวทางเพิ่มความโปร่งใส

KRAC คัดสรรชวนทุกคนมาร่วมศึกษาความโปร่งใสของงบประมาณการคลังของไทย พร้อม 5 แนวทางเพิ่มความโปร่งใสจากงานวิจัย

KRAC Insight | SEA-ACN, Regional Workshop on Public Procurement Best Practices and Reforms

KRAC สรุปประเด็นจากการประชุมเชิงปฏิบัติการระดับภูมิภาคเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่ดีและการปฏิรูปการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ของทีม Public Procurement ในเครือข่าย SEA-AC