บทบาทของสภามหาวิทยาลัยในการกำกับธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยของรัฐ และมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐในประเทศไทย

ศึกษาแนวทางการกำกับธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษาจากต่างประเทศ เเละนำมาเปรียบเทียบกับบทบาทของสภามหาวิทยาลัยในการกำกับธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษารัฐของไทย

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางในการกำกับธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษาจากต่างประเทศ เเละนำมาศึกษาเปรียบเทียบกับบทบาทของสภามหาวิทยาลัยในการกำกับธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ เพื่อเสนอแนะแนวทางในการเสริมความเข้มแข็งในการทำหน้าที่ตามบทบาทของสภามหาวิทยาลัย ในการกำกับธรรมาภิบาลของสถาบันอุดมศึกษา

โดยคณะผู้วิจัย ได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ 2 ประเภท ได้แก่ มหาวิทยาลัยในสังกัดของรัฐ และมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐในประเทศไทย รวมถึงแนวทางปฏิบัติในต่างประเทศ โดยใช้กรอบแนวคิดหลักธรรมาภิบาลในการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา ที่มีเป้าหมายสำคัญเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหาร เพิ่มผลลัพธ์ของการจัดการศึกษาที่ดี และ การดำเนินงานที่มีความโปร่งใสและตรวจสอบได้ในทุกกระบวนการ เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาสามารถตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สรุปประเด็นจากงานวิจัย

  • จากการศึกษากรณีตัวอย่างในต่างประเทศ พบว่าบทบาทของสภามหาวิทยาลัย ได้มีส่วนสำคัญต่อความสำเร็จของมหาวิทยาลัย ในการดำเนินบทบาทตามอำนาจ และหน้าที่ที่กำหนดไว้ในกฎหมาย ดังนั้น สภามหาวิทยาลัย จึงควรกำหนดทิศทาง นโยบาย และการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยผ่านกลไกการประเมินผลและอื่น ๆ เพื่อให้มหาวิทยาลัยสามารถตอบสนองต่อความคาดหวังของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้
  • จากการศึกษากรณีตัวอย่างทั้งในประเทศ และต่างประเทศ พบว่าด้านโครงสร้าง และองค์ประกอบของสภาเกี่ยวกับประเด็นความขัดแย้งของผลประโยชน์ (Conflict of interests) ไม่ได้ให้น้ำหนักกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีความขัดแย้งทางผลประโยขน์โดยตรงจากการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย เช่น กลุ่มนักศึกษา กลุ่มบุคลากรสายสนับสนุน แต่เพิ่มการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผ่านการให้เข้าร่วมประชุมในฐานะผู้สังเกตการณ์ (Observers) ซึ่งเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล 
  • จากการศึกษากรณีตัวอย่างทั้งในประเทศ และต่างประเทศ พบว่าด้านการได้มาของสภามหาวิทยาลัย (กระบวนการสรรหาฯ) ต้องเน้นการปฏิบัติตามกฎหมาย สร้างความโปร่งใสและตรวจสอบได้  รวมถึงสร้างกลไกให้เกิดการมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม นอกจากนี้ หน่วยงานรัฐที่ทำหน้าที่กำกับดูแลมหาวิทยาลัย อาจพิจารณากำหนดรูปแบบของกระบวนการสรรหาที่มีรูปแบบเป็นมาตรฐานกำหนดไว้อย่างชัดเจน และต้องคำนึงถึงการลดความขัดแย้งของผลประโยชน์ (Conflict of interests) ในกระบวนการสรรหา โดยประเด็นความขัดแย้งของผลประโยชน์ที่ควรคำนึงถึง ได้เเก่ การให้น้ำหนัก กับ กรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก ในสัดส่วนที่มากกว่ากรรมการจากภายใน และการกำหนดวาระในการดำรงตำแหน่งกรรมการสภามหาวิทยาลัย เป็นต้น
  • จากการศึกษากรณีตัวอย่างทั้งในประเทศ และต่างประเทศ พบว่าด้านบทบาทของสภามหาวิทยาลัยในการตอบสนองความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ต้องเริ่มจากการกำหนดทิศทางการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย ผ่านการวางแผนเชิงกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการ รวมถึงแผนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยกลไกในการกำกับและตรวจสอบการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยที่สำคัญ เช่น กรรมการตรวจสอบ กรรมการกฎหมาย กรรมการบริหารการเงินและทรัพย์สิน กรรมการด้านวิชาการ และกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ อีกทั้ง กลไกในการกำกับและประเมินการดำเนินงานของสภามหาวิทยาลัย ต้องให้มีหน่วยงานภายนอกเข้ามาช่วยในการประเมินผลการดำเนินงานของสภามหาวิทยาลัยด้วย เพื่อไม่ทำให้เกิดการเลือกปฏิบัติ โดยพิจารณาผูกโยงผลการปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัยกับการประเมินคุณภาพจากภายนอก (External Quality Assurance) และการจัดสรรงบประมาณ (Budget allocation) เป็นต้น
เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

ณดา จันทร์สม, ทองใหญ่ อัยยะวรากูล, ทัศนีย์ สติมานนท์ และศรัณย์ ศานติศาสตร์. (2563). บทบาทของสภามหาวิทยาลัยในการกำกับธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยของรัฐ และมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐในประเทศไทย. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.).

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2563
ผู้แต่ง
  • ณดา จันทร์สม
  • ทองใหญ่ อัยยะวรากูล
  • ทัศนีย์ สติมานนท์
  • ศรัณย์ ศานติศาสตร์
หน่วยงาน

หัวข้อ
Related Content

โครงการศึกษาพรมแดนและช่องว่างความรู้เรื่องคอร์รัปชันและธรรมาภิบาล เพื่อสนับสนุนการจัดทำแผนบูรณาการด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปี พ.ศ. 2566-2570

ศึกษาพัฒนาการของงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชันและธรรมาภิบาลในประเทศไทย เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะต่อแนวทางการสนับสนุนการพัฒนางานวิจัยในประเด็นคอร์รัปชัน และธรรมาภิบาลในอนาคต

โครงการวิจัยการสังเคราะห์รูปแบบ กลไกและแนวทางการปลูกฝังเจตคติและวัฒนธรรมสุจริตเพื่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

ศึกษาพัฒนาการของรูปแบบ กลไก และแนวทางการปลูกฝังเจตคติ และวัฒนธรรมสุจริตที่มีผลต่อการป้องกันการทุจริตของไทย และศึกษากรณีของต่างประเทศ เพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอแนะต่อไป

โครงการวิจัยการศึกษาแนวทางความร่วมมือกับภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชนในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

นำเสนอแนวคิดและกิจกรรมที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพการดำเนินงานของ ป.ป.ช. ในการแก้ไขปัญหาการทุจริต และเสนอแนวทางการพัฒนาระบบการเชื่อมโยงข้อมูลร่วมกันผ่านกระบวนการประสานข้อมูลระหว่างหน่วยงานเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

โครงการประสิทธิภาพและธรรมาภิบาลของนโยบายสาธารณะไทย การวิจัยเพื่อเสริมสร้างนักนโยบายสาธารณะที่ดี

เพื่อทำการวิเคราะห์ผลทางนโยบายสาธารณะในด้านต่าง ๆ จากมุมมองของประชาชน โดยใช้หลักธรรมาภิบาลด้านประสิทธิภาพ การมีส่วนร่วม และการตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน

You might also like...

บทความวิจัย : ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสริมสร้างความร่วมมือและการควบคุมคอร์รัปชันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี

เมื่อการกระจายอำนาจกลับกลายเป็นการกระจายการทุจริตสู่ท้องถิ่น เพื่อยับยั้งปัญหาคอร์รัปชันในท้องถิ่น จึงต้องส่งเสริมการปกครองตามหลักธรรมาภิบาล (กรณีศึกษา จังหวัดเพชรบุรี)

KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I UNODC จับมือไนจีเรียจัดทำรายงานการทุจริตในไนจีเรีย ชี้ “การติดสินบนได้รับการยอมรับน้อยลง”

รายงานฉบับนี้มีชื่อว่า “การทุจริตในไนจีเรีย: รูปแบบและทิศทาง (Corruption in Nigeria: Patterns and Trends)” เป็นการสำรวจเกี่ยวกับการรับรู้การทุจริตของประชาชนในประเทศไนจีเรียจากประสบการณ์ของประชาชน นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์แนวโน้มการทุจริต ประสิทธิภาพของกลยุทธ์ และแนวทางการต่อต้านการทุจริตอีกด้วย

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : โกง (เรื่อง) กิน ฉ่ำๆ หม่ำๆ แบดกาย แบดกายหม่ำๆ

เมื่อวันแม่ที่ผ่านมาหลายๆ ท่านคงพาคุณแม่ไปทานข้าว หรืออาจกลับบ้านไปทานข้าวกับคุณแม่และครอบครัว เพราะสำหรับคนไทยแล้ว “อาหารเป็นเรื่องสำคัญ” ดังนั้นในวันสำคัญการนัดรวมตัวกันกินข้าวจึงเป็นเรื่องจำเป็น